Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39823
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราวรรณ ฉายสุวรรณ-
dc.contributor.authorรัชดาวรรณ สังข์คำภาร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-12T14:21:05Z-
dc.date.available2016-12-12T14:21:05Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39823-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study is to study behavior of mothers towards buying early childhood products via online. The samples of this study were 200 mothers whose children aged between newborn to six years. The researcher used convenient sampling to collect data. The instruments of this research were questionnaires and data analyzed by the statistics tools which were frequency, percentage and mean. The research results showed that majority of the participants answering questionnaires were in between age of 31 to 40 years old with baby girls in early childhood, bachelor degree holder, private company employed and average income between 10,001 to 20,000 baht per month. According to mothers’ buying behavior towards online early childhood merchandises, the study revealed that mother generally bought products in category of clothing such as clothes, shoes, bags and accessories which the total purchase was under 1,000 bath each time. They paid for the products via ATM and received them at post offices, because it was more convenient than shopping in person. They made their own decision, when they formed the products they liked. The purchases were made once or twice a month during 9.01 p.m. to 12.00 a.m. Participants reviewed baby products information before making their online purchases via Facebook. After reviewing the products, they were highly satisfied and repurchased from the same websites because they trusted them and got correct information. On the other hand, they did not repurchase from the same website because they wanted to try from new websites. The findings about marketing mix factors affecting buying behavior of mothers towards online goods for early childhood revealed that the majority of respondents paid attention to marketing mix factors at high level on distribution, promotion, products, and price, consecutively. The three most affected sub-factors were; clear information and picture provided, communication system between buyers and sellers, and correct product information.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectมารดาen_US
dc.subjectการซื้อสินค้าen_US
dc.subjectเด็กปฐมวัยen_US
dc.subjectสื่อออนไลน์en_US
dc.titleพฤติกรรมของมารดาต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยผ่านสื่อออนไลน์en_US
dc.title.alternativeBehavior of mothers towards buying early childhood products via onlineen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc658.8342-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค-
thailis.controlvocab.thashพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์-
thailis.controlvocab.thashการตลาดอินเตอร์เน็ต-
thailis.manuscript.callnumberว 658.8342 ร112พ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของมารดาต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ โดยกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้คือ มารดาที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวน 200 ราย ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นมีช่วงอายุระหว่าง 31 – 40 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่ 10,001 – 20,000 บาท มีบุตรเพศหญิงที่อยู่ในช่วงปฐมวัย สำหรับพฤติกรรมของมารดาต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์พบว่า มารดาส่วนใหญ่ซื้อสินค้าหมวดเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับและกระเป๋า ซึ่งราคาของสินค้าเด็กปฐมวัยที่ซื้อทางออนไลน์ต่อครั้งโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 บาท มีการชำระเงินค่าสินค้าผ่าน ATM และรับสินค้าผ่านทางไปรษณีย์ โดยให้เหตุผลเพราะสะดวกกว่าไปซื้อด้วยตนเอง และมีการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละครั้งด้วยตนเอง และจะซื้อเมื่อพบสินค้าถูกใจ โดยมีความถี่ในการซื้อสินค้าเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ 1 – 2 ครั้งต่อเดือน จะใช้ช่วงเวลาตั้งแต่ 21.01 – 24.00 น.พร้อมทั้งมีการศึกษาข้อมูลสินค้าเด็กปฐมวัยก่อนการตัดสินใจซื้อ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งข้อมูลคือ Facebook มีความพึงพอใจระดับมากหลังจากได้รับสินค้าที่สั่งซื้อทางออนไลน์ และจะซื้อซ้ำจากเว็บไซต์เดิม เนื่องจากมีความเชื่อใจในการซื้อสินค้าและให้ข้อมูลที่เป็นความจริง ส่วนสาเหตุที่ไม่ซื้อซ้ำจากเว็บไซต์เดิม เนื่องจากต้องการทดลองซื้อจากแหล่งใหม่ ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์พบว่า มารดาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมาก ในปัจจัย ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ตามลำดับ โดยปัจจัยย่อยของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ แสดงข้อมูลและรูปถ่ายของสินค้าอย่างละเอียด ระบบการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และการสื่อสารการให้ข้อมูลของสินค้าอย่างถูกต้อง ตามลำดับen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT215.49 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX336.36 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1248.88 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2297.09 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3417.7 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4671.9 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5573.65 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT211.31 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER818.08 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfr199.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.