Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79782
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.advisorธารณ์ ทองงอก-
dc.contributor.authorคณิศร ไชยมงคลen_US
dc.date.accessioned2024-07-17T01:04:21Z-
dc.date.available2024-07-17T01:04:21Z-
dc.date.issued2567-05-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79782-
dc.description.abstractThis study has the objectives to 1) study the reality expected condition and the necessary need for raising the quality of learners by using the participation of stakeholders of the Educational Opportunity Expansion Schools, Doi Tao District, Chiang Mai Province 2) Studying the improvement of the quality of learners by using the participation of School stakeholders with good practices and 3) create and examine guidelines for improving learner quality using stakeholder participation for the School to Expand Educational Opportunities, Doi Tao District, Chiang Mai Province. The research is divided into 3 steps. The population and target groups include 1 educational administrator, 2 educational supervisors, 13 educational institution administrators, 85 teachers, and 3 experts, totaling 104 people. The tool used is a questionnaire. Structured interview Agenda, recording form, and inspection form Statistics used to analyze the data are frequency, percentage. Mean, standard deviation, sorting, and content analysis The results of the study found that 1. Overall actual condition is at a moderate level. Overall expected condition. At a high level the need for using stakeholder participation to raise the quality of students at the Educational Opportunity Expansion Schools, Doi Tao District, Chiang Mai Province Consider each aspect in order. Necessary index value from highest to lowest, it was found that the first order was joint implementation of the plan, the second order was joint monitoring and evaluation, and the third order was joint operational planning. And the last step is to jointly improve and correct. 2. Improving the quality of students by using the participation of school stakeholders with good practices. It was found that schools together with stakeholders created a 5-year educational quality development plan and an annual action plan. Let's jointly determine new strategies to raise the quality of students. Select projects with consistent objectives to integrate them for joint action. Follow up and evaluate with participation The evaluation results are used to improve, correct and develop for the better every time. Summarize and report results to all involved parties immediately. 3. Guidelines for improving student quality using stakeholder participation for the Educational Opportunity Expansion Schools, Doi Tao District, Chiang Mai Province The developed system has 4 parts: 1) principles and reasons, 2) objectives, 3) procedures, and 4) conditions for success. The PDCA+A process consists of 1) preparation, 2) operation, 3) evaluation, 4) improvement, and 5) informing relevant parties. There are results of checking accuracy. Overall suitability and feasibility are at the highest level and pass the criteria that have been set in every aspect.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for enhancing quality of learners by using participation of stakeholders for educational opportunity expansion schools, Doi Tao district, Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม -- ดอยเต่า (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียน -- ดอยเต่า (เชียงใหม่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาการยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยการใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี และ 3) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 13 คน คณะครู จำนวน 85 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 104 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วาระการประชุม แบบบันทึก และแบบตรวจสอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เรียงลำดับ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1. สภาพความเป็นจริงโดยรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง สภาพที่คาดหวังโดยรวม อยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ พิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าดัชนีความต้องการจำเป็น จากมากไปหาน้อย พบว่า ลำดับแรก คือ การร่วมปฏิบัติตามแผน ลำดับที่ 2 การร่วมติดตามและประเมินผล ลำดับที่ 3 การร่วมวางแผนดำเนินงาน และลำดับสุดท้าย คือ การร่วมปรับปรุงแก้ไข 2. การยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี พบว่า โรงเรียนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปี ร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการยกระดับคุณภาพผู้เรียน คัดเลือกโครงการที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องมาบูรณาการเพื่อดำเนินการร่วมกัน ติดตามประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม มีการนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาให้ดีขึ้นทุกครั้ง สรุปและรายงานผลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบทันที 3. แนวทางการยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมี 4 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยในวิธีดำเนินการใช้กระบวนการ PDCA+A ประกอบด้วย 1) การเตรียมการ 2) การดำเนินการ 3) การประเมิน 4) การปรับปรุง และ 5) การแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีผลการตรวจสอบ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ระดับ มากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ทุกด้านen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232057-คณิศร ไชยมงคล.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.