Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79632
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณฐิตากานต์ พยัคฆา-
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.authorกวินภพ ประเสริฐen_US
dc.date.accessioned2024-07-06T10:46:26Z-
dc.date.available2024-07-06T10:46:26Z-
dc.date.issued2024-04-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79632-
dc.description.abstractThe objectives of this research were 1) to study the personal, economic, and social characteristics of Arabica coffee growers in Nayaiam district, Chanthaburi province 2) to analyze the level of knowledge of farmers in decision to grow Arabica coffee in Na yai am district, Chanthaburi province 3) to analyze the attitude of farmers in decision to grow Arabica coffee in Nayaiam district, Chanthaburi province 4) to study the problems and obstacles in decision to grow Arabica coffee in Nayaiam district, Chanthaburi province. The sample were farmers who grow Arabica coffee in Nayaiam District, Chanthaburi Province with a total of 6 subdistricts with 256 people. Collect data from 156 samples. The questionnaire was created to collect data between April to July 2023. Data were analyzed by descriptive statistics included frequency, average, percentage, minimum, maximum, and standard deviation Hypotheses were tested using multiple regression analysis. Research showed that the majority of farmers were male, are over 51 years old, graduated from Primary school. There were 4-5 people in the household., Farmers had agricultural land of 1-5 rai and grow to Arabica coffee in an area of 1-5 rai. Most farmers own land and this area was located outside the irrigation area. Farmers had 2-3 workers who grow Arabica coffee. The average annual income of a household was 100,001–150,000 baht and average annual income from growing Arabica coffee was 30,001-60,000 baht. Farmers had their own sources of funding to grow Arabica coffee, and most of them do not have debt. In addition, Farmers had never grown other types of coffee. Farmers had one year of experience in growing Arabica coffee. The promoted variety is the Bourbon. There is a characteristic of growing Arabica coffee species together with fruit trees. Farmers received information about Arabica coffee from their neighbors. and persuasion from neighbors was the reason for the decision to grow Arabica coffee.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleทัศนคติของเกษตรกรในการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาในพื้นที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรีen_US
dc.title.alternativeAttitude of farmers in growing Arabica coffee in Na Yai Am District, Chanthaburi Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- นายายอาม (จันทบุรี)-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- ทัศนคติ-
thailis.controlvocab.thashกาแฟ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา ในพื้นที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์ระดับความรู้ของเกษตรกรในการตัดสินใจปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา ในพื้นที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของเกษตรกรในการตัดสินใจปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาในพื้นที่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการตัดสินใจปลูกกาแฟสายพันธุ์ อะราบิกา ในพื้นที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาในพื้นที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี จำนวน 254 คน ทำการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยปรับใช้สูตรของ Taro Yamane ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และยอมให้มีความคลาดเคลื่อนที่ระดับ 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 156 ราย และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากจากรายชื่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาในพื้นที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ.2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบ Enter method เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 51 ปีขึ้นไป จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน มีพื้นที่ทางการเกษตรจำนวน 1-5 ไร่ และใช้ในการปลูกกาแฟอะราบิกาจำนวน 1-5 ไร่ โดยการถือครองที่ดินของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งมี ที่ตั้งของพื้นที่ตั้งอยู่นอกเขตชลประทาน จำนวนแรงงานที่ใช้ในการปลูกกาแฟอะราบิกา 2-3 คน รายได้เฉลี่ยต่อปีของครัวเรือนตั้งแต่ 100,001-150,000 บาท ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อปีจากการปลูกกาแฟ อะราบิกาตั้งแต่ 30,001-60,000 บาท มีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน รวมถึงไม่เคยปลูกกาแฟสายพันธุ์อื่น เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา 1 ปี สายพันธุ์ที่ได้รับการส่งเสริม คือ พันธุ์เบอร์บอน โดยมีลักษณะการปลูกร่วมกับไม้ผล ส่วนใหญ่เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาจากเพื่อนบ้าน เหตุผลประกอบการตัดสินใจเลือกปลูกกาแฟ สายพันธุ์อะราบิกาจากเพื่อนบ้านชักชวน ทั้งนี้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเต็ม 46 คะแนน ได้คะแนนสูงสุด 21 คะแนน คะแนนต่ำสุด 9 คะแนนและมีคะแนนเฉลี่ย 17.1 คะแนน ทัศนคติของเกษตรกรในการตัดสินใจปลูกกาแฟสายพันธุ์ อะราบิกาในพื้นที่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ทั้งหมด 8 ด้าน ภาพรวมมีทัศนคติระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.05 เมื่อพิจารณาข้อย่อย พบว่า เกษตรกรมีทัศนคติในการตัดสินใจปลูกกาแฟด้านชีวภาพมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.38 รองลงมา คือ ด้านกายภาพ ค่าเฉลี่ย 3.48 ด้านการตลาด ค่าเฉลี่ย 3.09 ด้านสังคม ค่าเฉลี่ย 2.88 ด้านการส่งเสริมการเกษตร ค่าเฉลี่ย 2.86 ด้านเศรษฐกิจ ค่าเฉลี่ย 2.83 ด้านเทคนิค ค่าเฉลี่ย 2.82 และ ด้านสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ย 2.02 ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของเกษตรกรในการตัดสินใจปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีปัจจัย 3 ด้าน คือ รายได้ต่อปีของครัวเรือน และประสบการณ์ในการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา ตัวแปรมีผลบวกระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และตัวแปรที่มีผลลบ คือ ระดับการศึกษา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ จากการศึกษาปัญหาพบว่า เกษตรกรมีความต้องการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาลดลง เนื่องจากไม่มีความรู้และต้นทุนในการปลูกกาแฟอะราบิกา ปัญหาสภาพอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ อุปสรรคของเกษตรกร คือ ไม่มีความรู้ในด้านวิชาการ เช่น โรค แมลง การจัดสรรพื้นที่และการจัดสรรน้ำ ต้องการให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนเข้ามาสนับสนุน ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ หน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชนควรมี การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกาอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640831029 กวินภพ ประเสริฐ.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.