Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39725
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธรรณพ เหล่ากุลดิลก-
dc.contributor.authorญาณิศา รัตนธานันท์en_US
dc.date.accessioned2016-12-09T08:01:51Z-
dc.date.available2016-12-09T08:01:51Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39725-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study the lipase inhibition in two varieties of rice bran (a nomal rice; RD 6 and a black rice; Kum Doi Saket) using protease enzymes, and to develop the high anthocyanin beverage using the stabilized black rice bran as an ingradient. Five protease enzymes (bromelain, papain, trypsin, chymotrypsin and Flavourzyme®) were compared for their inhibition efficiency at 2 concentations (4.0 and 8.0 mg/ml). Degree of hydrolysis, protein solubility and lipase activity were monitored every 15 min of hydrolysis time (120 min). The results showed that the hydrolysis rate of protease enzymes at 8.0 mg/ml concentration was higher than of 4.0 mg/ml concentration. Among 5 protease enzymes, trypsin, chymotrypsin and papain showed a higher rate of hydrolysis and protein solubility than those of bromelain and Flavourzyme®. Besides, trypsin, chymotrypsin and papain also showed the high of lipase inactivation. For the economic reason, papain at 4.0 mg/ml was selected to produce the enzymatic stabilized rice bran (ESB). ESB contained the higher concentration of γ-oryzanol, vitamin E and total phenolic than raw rice bran (RB) and thermal stabilized rice bran (TSB). ESB, RB and TSB were stored at ambient temperature for 2 months. The lipase activity of ESB and TSB were not changed throughout the storage period. After storage, the amount of the free fatty acid in RB, TSB and ESB were 43.38, 13.27 and 12.29%, respectively. Anthocyanins extract from black ESB was used as an ingradient to develop the high anthocyanin beverage. The results from customer servey conclude that strawberry flavor was the most flavorable flavor. To improve anthocyanin stability, this beverage was added with differenct co-pigments (green tea extract, gallic acid and ascorbic acid). It was found that green tea extract was the best co-pigment which can reduce the lost of anthocyanins from the heat of pasturization (85 oC for 15 min). However, green tea extract didn’t prevent the degradation of anthocyanin in beverage stored under fluorescent light. Key words: Rice bran, Lipase, Protease enzymes, Co-pigmentsen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectรำข้าวen_US
dc.titleการคงสภาพและปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของรำข้าว เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงen_US
dc.title.alternativeStabilization and physical characteristic improvement of rice bran using for high value producten_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc641.331-
thailis.controlvocab.thashรำข้าว -- การเก็บและรักษา-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 641.331 ญ243ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสในรำข้าว 2 พันธุ์ (กข 6 และก่ำดอยสะเก็ด) โดยใช้เอนไซม์โปรติเอส และเพื่อพัฒนาเครื่องดื่มแอนโทไซยานินสูงที่ใช้ข้าวรำก่ำที่ผ่านการคงสภาพเป็นส่วนผสม ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเอนไซม์โปรติเอส 5 ชนิด (โบรมิเลน ปาเปน ทริปซิน ไคโมทริปซิน และฟลาโวไซม์) ในการยับยั้งเอนไซม์ไลเปสที่ความเข้มข้น 2 ระดับ คือ 4.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ 8.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ติดตามระดับการไฮโดรไลซิส กิจกรรมของเอนไซม์ไลเปส และความสามารถในการละลายของโปรตีน ทุก 15 นาที ของเวลาการย่อย นาน 120 นาที ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การใช้เอนไซม์ความเข้มข้น 8.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร จะให้ระดับการไฮโดรไลซิสสูงกว่าที่ความเข้มข้น 4.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร โดยทริปซิน ไคโมทริปซิน และปาเปน ให้ระดับการไฮโดรไลซิส และค่าความสามารถในการละลายของโปรตีนสูงกว่า โบรมิเลนและฟลา-โวไซม์ นอกจากนี้ ทริปซิน ไคโมทริปซิน และปาเปนยังมีความสามารถในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสสูง เนื่องจากปาเปนมีราคาไม่แพง ดังนั้นจึงเลือกใช้เอนไซม์ปาเปนที่ความเข้มข้น 4.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ในการคงสภาพรำข้าวด้วยเอนไซม์ รำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยเอนไซม์ปาเปนมีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ แกมมา-ออริซานอล วิตามินอี และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด สูงกว่าในรำข้าวดิบ และรำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยความร้อน เมื่อนำรำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยเอนไซม์ รำข้าวดิบ และรำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยความร้อนมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง นาน 2 เดือน พบว่า รำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยเอนไซม์และรำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยความร้อนไม่มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสระหว่างการเก็บรักษา โดยหลังสิ้นสุดการเก็บรักษารำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยเอนไซม์ รำข้าวที่ผ่านการคงสภาพด้วยความร้อนและรำข้าวดิบจะมีปริมาณกรดไขมันอิสระร้อยละ 43.38, 13.27 และ 12.29 ตามลำดับ นำรำข้าวก่ำดอยสะเก็ดที่ผ่านการคงสภาพด้วยเอนไซม์มาใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาเครื่องดื่มแอนโทไซยานินสูง ผลของการสำรวจผู้บริโภค สรุปได้ว่า กลิ่นรสที่ผู้บริโภคต้องการที่สุด คือ กลิ่นรสสตรอเบอรี่ หลังจากนั้นนำเครื่องดื่มที่เติมแต่งกลิ่นรสสตรอเบอรี่มาปรับปรุงความคงตัวของแอนโทไซยานิน โดยการเติมโคพิกเมนท์ 3 ชนิด คือ สารสกัดจากชาเขียว กรดแกลลิก และกรดแอสคอร์บิก ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดจากชาเขียวเป็นโคพิกเมนท์ที่ดีที่สุดที่สามารถลดการสูญเสียแอนโทไซยานินจากความร้อนของกระบวนการพาสเจอร์ไรส์เซชันได้ อย่างไรก็ตาม การเติมสารสกัดชาเขียวไม่ช่วยป้องกันการสลายตัวของแอนโทไซยานินระหว่างการเก็บรักษาภายใต้แสงฟลูออเรส-เซนต์ได้ คำสำคัญ : รำข้าว, ไลเปส, เอนไซม์โปรติเอส, โคพิกเมนท์en_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT301.61 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX2.01 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1198.46 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 21.22 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3371.46 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.66 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5234.4 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT384.95 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER958.89 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE431.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.