Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกันยารัตน์ คอวนิช-
dc.contributor.authorชนม์วรินทร์ ใจเอื้อen_US
dc.date.accessioned2024-09-23T10:41:37Z-
dc.date.available2024-09-23T10:41:37Z-
dc.date.issued2024-09-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80063-
dc.description.abstractDysphagia, commonly found in stroke patients, impacts oral health care and increases the risk of dental problems such as dental caries, gum disease, tongue coating, and the risk of pneumonia from aspiration. Stroke patients with dysphagia should receive comprehensive care from interdisciplinary teams, including dental professionals. This study was a quasi-experimental assessment of the effectiveness of an oral health care program for stroke patients undergoing swallowing rehabilitation. The objectives were to study oral health status and functions in stroke patients and compare the outcomes of the program in dysphagia therapy. Data were analyzed using descriptive and analytical statistics. The sample consisted of 46 randomly selected patients from the stroke rehabilitation ward of Chiang Mai Neurological Hospital, Chiang Mai, Thailand, from June 2022 to July 2023. The control group received routine daily oral care, while the intervention group followed program recommendations, such as tongue brushing before swallowing therapy. Data collection included general information, oral health status, oral function (oral health, tongue movement, and tongue pressure), swallowing severity levels, nasogastric feeding duration, and oral comfort levels. The results of this study show that both groups improved their ability to swallow. However, the intervention group had a statistically significant reduction in nasogastric tube removal rate compared to the control group (7.8 ± 2.9 vs. 10.6 ± 4.2 days, p<0.05). Additionally, the intervention group showed significant differences in tongue coating index (57.5 ± 15.2 vs 76.8 ± 9.3, p<0.05), diadochokinesis "ka" (3.4 ± 0.3 vs 3.2 ± 0.3 times/second, p<0.05), tongue pressure (15.6 ± 5.0 vs 11 ± 3.8 kPa, p<0.05), and oral comfort, between groups. This study demonstrates that the oral health care program effectively enhances oral function and reduces the nasogastric tube removal rate for stroke patients in swallowing rehabilitation. Therefore, dental professionals and other healthcare personnel should recommend suitable oral care programs for these patients.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบากen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of oral health care in stroke patients with Dysphagiaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashหลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashปาก -- การดูแลและสุขวิทยา-
thailis.controlvocab.thashภาวะการกลืนผิดปกติ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะกลืนลำบากเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีผลในการดูแลอนามัยช่องปากและการเกิดโรคในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ โรคเหงือก ฝ้าขาวที่ลิ้น รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลืนลำบากควรได้รับการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพรวมถึงการดูแลช่องปากด้วยทันตบุคลากร การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองเพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อยู่ในช่วงรับการฟื้นฟูการกลืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะช่องปากและการทำหน้าที่ของช่องปากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลืนลำบาก และเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อน-หลังรับโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบากของแผนกผู้ป่วยในที่รับการฟื้นฟูการกลืนของโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มเป็นบล็อก จำนวน 46 ราย แบ่งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 23 ราย โดยกลุ่มควบคุมมีการดูแลสุขภาพช่องปากประจำวันตามปกติ กลุ่มทดลองที่มีการดูแลสุขภาพช่องปากประจำวันตามข้อแนะนำของโปรแกรม เช่น การแปรงลิ้นก่อนการฟื้นฟูการกลืน ทำการเก็บข้อมูลทั่วไป สภาวะช่องปาก การทำหน้าที่ของช่องปาก (อนามัยช่องปาก การเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปาก แรงดันลิ้น) ระดับการกลืนลำบาก ระยะเวลาการให้อาหารทางสายยาง และระดับความรู้สึกสบายช่องปาก จากนั้นเปรียบเทียบผลการศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมภายหลังเข้ารับโปรแกรมการฟื้นฟูการกลืนลำบาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาภายหลังรับการฟื้นฟูการกลืนพบว่าทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่สามารถกลับมารับประทานอาหารทางปากได้ จำนวนวันเฉลี่ยของการถอดสายให้อาหารทางจมูกของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (7.8 ± 2.9, 10.6 ± 4.2, p<0.05) มีระดับฝ้าขาวที่ลิ้นช่องปาก(57.5 ± 15.2, 76.8 ± 9.3, p<0.05) อัตราการออกเสียงซ้ำเสียงคะ(3.4 ± 0.3, 3.2 ± 0.3ครั้ง/วินาที, p<0.05) แรงดันลิ้น(15.6 ± 5.0, 11 ± 3.8 กิโลปาสคาล, p<0.05) และมีความรู้สึกสบายช่องปากแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากนี้สามารถเพิ่มระดับการทำหน้าที่ช่องปาก ลดระยะเวลาการใส่สายให้อาหารทางจมูกสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อยู่ในช่วงรับการฟื้นฟูการกลืนได้ ดังนั้นทันตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ควรแนะนำการดูแลช่องปากที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้en_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630931047 ชนม์วรินทร์ ใจเอื้อ.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.