Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80054
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุพา จอมแก้ว-
dc.contributor.advisorนครินทร์ จี้อาทิตย์-
dc.contributor.authorจีรนันท์ กวมอำไพen_US
dc.date.accessioned2024-09-23T01:53:32Z-
dc.date.available2024-09-23T01:53:32Z-
dc.date.issued2024-01-15-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80054-
dc.description.abstractThis study aimed to evaluate the efficiency of endophytic actinomycetes in promoting growth, yield, and quality of tomatoes. The experiment was conducted in a greenhouse at the Center for Agricultural Resource System Research, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Muang District, Chiang Mai Province, from November 2020 to March 2022. The study was divided into two sub-experiments. Sub-experiment 1 evaluated the efficiency of actinomycete endophytes in promoting the growth of tomato plants at the seedling stage. A completely randomized design (CRD) was employed for four treatments: (1) inoculation with Streptomyces violaceorectus TGsR-03-04, (2) Nocardiopsis alba TGsL-02-05, (3) combined inoculation of Streptomyces violaceorectus TGsR-03-04 with Nocardiopsis alba TGsL-02-05, and (4) control with a spore concentration of 107 cfu/ml of 1 ml per plant. The results indicated that actinomycete endophytes could colonize the roots of tomato seedlings across all inoculation treatments. The inoculation with TGsR-03-04 produced the highest mean fresh and dry weights of tomato roots. Regarding nutrient content, nitrogen concentration was highest in seedlings treated with TGsL-02-05 (3.62%), the highest potassium content was observed in the control treatment (9.08%), and the highest phosphorus content was found in plants treated with both TGsR-03-04 and TGsL-02-05 (0.86%). In addition, the highest calcium and magnesium concentrations in the root of the tomato seedlings were found in the TGsR-03-04 treatment with 0.99% and 0.58%, respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิภาพของเชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ในการส่งเสริมการเติบโตผลผลิตและคุณภาพของมะเขือเทศen_US
dc.title.alternativeEfficiency of endophytic Actinomycetes in promoting growth, yield and quality of Tomatoen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashแอคติโนมัยซิส-
thailis.controlvocab.thashมะเขือเทศ -- การเจริญเติบโต-
thailis.controlvocab.thashมะเขือเทศ -- โรคและศัตรูพืช-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ในการส่งเสริมการเติบโตผลผลิต และคุณภาพของมะเขือเทศ ดำเนินการทดลองในสภาพโรงเรือน (net house) ณ ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2565 โดยการศึกษานี้แบ่งเป็น 2 งานทดลองย่อยได้แก่ งานทดลองย่อยที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นมะเขือเทศในระยะต้นกล้าวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) มี 4 กรรมวิธี ได้แก่ (1) กรรมวิธีปลูกเชื้อแอคติโนมัยซีท Streptomyces violaceorectus (TGsR-03-04) (2) กรรมวิธีปลูกเชื้อแอคติโนมัยซีท Nocardiopsis alba (TGsL-02-05) และ (3)กรรมวิธีปลูกเชื้อแอคติโนมัยซีท Streptomyces violaceorectus (TGsR-03-04) ร่วมกับ Nocardiopsis alba (TGsL-02-05) โดยกำหนดให้เชื้อมีความเข้มข้นของสปอร์ที่ 10 (cfu/ml) ปริมาตร 1 มิลลิลิตรต่อต้น (4) กรรมวิธีควบคุม ผลการศึกษาพบว่า เชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ทุกกรรมวิธีที่มีการปลูกเชื้อ สามารถเข้าถึงรากต้นกล้ามะเขือเทศ โดยกรรมวิธีที่มีการปลูกเชื้อด้วย TGsR-03-04 ให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของรากมากที่สุดในด้านปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองพบว่า ในส่วนของต้นกล้ามีปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนมากที่สุดในกรรมวิธีปลูกเชื้อด้วย TGsL-02-05 (3.62%) โพแทสเซียมพบมากที่สุดในกรรมวิธีควบคุม (9.08%) และฟอสฟอรัสพบว่ากรรมวิธีที่ปลูกเชื้อ TGsR-03-04 ร่วมกับ TGsL-02-05 มีปริมาณความเข้มข้นมากที่สุด (0.86%) ปริมาณความเข้มข้นของแคลเซียมพบมากที่สุดในกรรมวิธีปลูกเชื้อด้วย TGsR-03-04 (0.99%) และความเข้มข้นของแมกนีเซียมมีค่ามากที่สุดในกรรมวิธีควบคุม (0.58%) ในส่วนรากของต้นกล้า พบว่าความปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนพบมากที่สุดในกรรมวิธี TGsR-03-04 ร่วมกับ TGsL-02-05 (3.67%) ความเข้มข้นของโพแทสเซียมมีค่ามากที่สุดในกรรมวิธีควบคุม (12.73%) และความเข้มข้นของฟอสฟอรัสมีปริมาณแนวโน้มมากที่สุดในกรรมวิธีปลูกเชื้อด้วย TGsR-03-04 (0.99%) ความเข้มข้นของแคลเซียมพบมากที่สุดในกรรมวิธีที่มีการปลูกเชื้อ TGsR-03-04 (0.28%) และความเข้มข้นของแมกนีเซียมพบมากที่สุดในกรรมวิธี TGsL-02-05 (0.61%) งานทดลองย่อยที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแอคติโนมัยชีทเอนโดไฟท์ในการส่งเสริมการเติบโตผลผลิต และคุณภาพของต้นมะเขือเทศระยะหลังการย้ายปลูก โดยนำต้นกล้าที่ได้จากงานทดลองย่อยที่ 1 มาปลูกทดสอบในสภาพโรงเรือนวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (randomized completely block design: RCBD) มี 4 กรรมวิธี จำนวน 3 ซ้ำ จากนั้นทำการปลูกเชื้อในระยะที่ 44 วันหลังย้ายปลูก ได้แก่ (1)กรรมวิธีปลูกเชื้อแอคติโนมัยซีท Streptomyces violaceorectus (TGsR-03-04) (2) กรรมวิธี เชื้อแอคติโนมัยซีท Nocardiopsis alba (TGsI-02-05) และ (3)กรรมวิธีปลูกเชื้อแอคติโนมัยซีท Streptomyces violaceorectus (TGsR-03-04) ร่วมกับ Nocardiopsis alba (TGsL-02-05) (4) กรรมวิธีควบคุม ผลการศึกษาพบว่าการปลูกเชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ไม่ส่งผลต่อความสูงของต้นมะเขือเทศ กรรมวิธีที่ปลูกเชื้อด้วย TGsL-02-05 ส่งผลให้น้ำหนักสดของต้น (446.51 g) และน้ำหนักสดของราก (67.98 g) และน้ำหนักแห้งของราก (14.48 g) มีค่ามากที่สุด ความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักและรองในต้น พบว่าฟอสฟอรัสมีค่ามากที่สุดในกรรมวิธีปลูกเชื้อ TGsR-03-04 ร่วมกับ TGsL-02-05 (0.70%) โพแทสเซียมมากที่สุดในกรรมวิธีปลูกเชื้อ TGsL-02-05 (3.62%) และกรรมวิธีที่มีการปลูกเชื้อ TGsL-02-05 ให้ค่าความเข้มข้นของแมกนีเซียมากที่สุด (0.45%) แต่ไม่ส่งผลต่อความเข้มข้นของแคลเซียมให้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในรากพบว่าการปลูกเชื้อในแต่ละกรรมวิธีไม่ส่งผลต่อปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก แต่การปลูกเชื้อด้วยกรรมวิธี TGSL-02-05 ทำให้ค่าความเข้มข้นของแคลเซียมและแมกนีเซียมสูงที่สุดเท่ากับ 1.12 และ 0.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำผลของมะเขือเทศมาวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุอาหารในผล พบว่าความเข้มข้นของไนโตรเจนในผลพบมากที่สุดในกรรมวิธีปลูกเชื้อด้วย TGsL-02-05 (2.33%) ฟอสฟอรัสพบมากที่สุดในกรรมวิธี TGsR-03-04 ร่วมกับ TGsL-02-05 (0.42%) แต่ในทุกกรรมวิธีไม่ส่งผลต่อความเข้มข้นของโพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียม จำนวนผลมะเขือเทศต่อต้นและปริมาณผลผลิตต่อต้น พบว่า กรรมวิธีที่ปลูก TGSL-02-05 ส่งผลให้จำนวนผลมะเขือเทศต่อต้นและปริมาณผลผลิตต่อต้นมีค่ามากที่สุด และกรรมวิธีที่มีการปลูกเชื้อด้วย TGsR-03-04 ส่งผลต่อคุณภาพของมะเขือเทศในด้านความกว้างความยาว และน้ำหนักต่อผลให้มีค่ามากที่สุด ส่วนกรรมวิธีที่มีการปลูกเชื้อด้วย TGSL-02-05 มีแนวโน้มให้ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้มีค่ามากที่สุด (6.99%) ในด้านสารสำคัญในผลมะเขือเทศ พบว่าการปลูกเชื้อ TGsR-03-04 ทำให้ปริมาณวิตามินซึ (23.30 mg/100g)และ ปริมาณไลโคปีน (145.92 ug/g) มากที่สุด ส่วนกิจกรรมสารต้านอนุมูลอิสระมีแนวโน้มมากที่สุดในกรรมวิธีปลูกเชื้อ TGSR-03-04 ร่วมกับ TGsL-02-05 จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าเชื้อแอคติโนมัยซีทแต่ละชนิดมีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพรวมถึงสารสำคัญในผลมะเขือเขือเทศที่แตกต่างกันไปในแต่ละด้าน ซึ่งเชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ TGsR-03-04 สามารถส่งเสริมให้ระยะต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดี ส่วนในระยะการเจริญเติบโต เชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ TGsL-02-05 ช่วยส่งเสริมให้ต้นมะเขือเทศเจริญเติบโตได้ดี และเชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ TGsR-03-04 ส่งผลให้สารสำคัญในผลมะเขือเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดไฟท์ทั้งสองชนิดสามารถนำไปได้เป็นสารชีวภัณฑ์ในระบบการเพาะปลูกมะเขือเทศในอนาคตได้en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630831046 จีรนันท์ กวมอำไพ.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.