Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80018
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ สกุลพรรณ์-
dc.contributor.advisorขวัญพนมพร ธรรมไทย-
dc.contributor.authorสโรชาลักขณ์ ทิณพัฒน์en_US
dc.date.accessioned2024-09-03T10:05:05Z-
dc.date.available2024-09-03T10:05:05Z-
dc.date.issued2024-08-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80018-
dc.description.abstractPatients with mood disorders who are at risk of suicide often exhibit deficits in recognizing internal and external support sources that could help strengthen their mental resilience. These deficits include negative self-perception, feelings of inadequacy, lack of trust, impaired relationships with others, and poor self-problem-solving skills. Consequently, these patients face a heightened risk of suicide. This quasi-experimental research aimed to examine the effects of a group resilience enhancement program on the suicide risk of patients with mood disorders. The sample consisted of 34 patients, both male and female, aged between 25-59 years, diagnosed with mood disorders (F31.x, F32.x) according to the ICD-10 criteria, and receiving treatment in the inpatient department of a psychiatric hospital under the Department of Mental Health, Ministry of Public Health. The participants were divided into an experimental group and a control group, each consisting of 17 patients. The experimental group participated in the Group Resilience Enhancement Program, which included 6 sessions, each lasting 45-60 minutes, held twice a week for 3 consecutive weeks. Data were collected using a personal information questionnaire and the Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I) for suicide risk assessment. Data analysis was performed using descriptive statistics, one-way ANOVA with repeated measures, and independent t-test statistics. The results showed that: 1. The suicide risk scores of patients with mood disorders in the experimental group were significantly lower after 1 month and 2 months of receiving the group resilience enhancement program compared to their pre-program scores, with statistical significance at .05. 2. The suicide risk scores of the experimental group were significantly lower after 1 month and 2 months of receiving the mental resilience enhancement program compared to the control group which received standard nursing care, with statistical significance at .05. 3. There was no significant difference in the suicide risk scores of the experimental group between the 1-month and 2-month follow-up periods. These findings indicate that the Group Resilience Enhancement Program effectively reduces suicide risk in patients with mood disorders. Therefore, this program should be implemented to reduce suicide risk in this patient population.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจแบบกลุ่ม ต่อความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคทางอารมณ์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชen_US
dc.title.alternativeEffect of the group resilience enhancement program on suicide risk of patients with mood disorders hospitalized in psychiatric hospitalsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการฆ่าตัวตาย-
thailis.controlvocab.thashการฆ่าตัวตาย -- ปัจจัยเสี่ยง-
thailis.controlvocab.thashจิตผิดปกติ -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลจิตเวช-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ป่วยโรคทางอารมณ์ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมักมีความพร่องด้านการรับรู้เกี่ยวกับแหล่งสนับสนุนภายในและภายนอกที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านจิตใจ เช่น มีการรับรู้เกี่ยวกับตนเองด้านลบ มองตนเองไร้ความสามารถ ขาดความไว้วางใจและมีความพร่องในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น รวมถึงการขาดทักษะการจัดการปัญหาด้วยตนเอง ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะนำไปสู่การฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจแบบกลุ่มต่อความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคทางอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคทางอารมณ์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุในช่วง 25-59 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางอารมณ์ (F31.x, F32.x) ตามคู่มือการวินิจฉัยตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (ICD-10) และเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 34 คน ประกอบด้วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 17 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจแบบกลุ่ม ซึ่งมีกิจกรรมทั้งหมด 6 ครั้งๆละ 45-60 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย (Mini International Neuropsychiatric Interview: M.I.N.I) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ One-way ANOVA with repeated measure และสถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า 1. คะแนนความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคทางอารมณ์หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจแบบกลุ่มในระยะหลังการทดลอง 1 เดือน และระยะติดตามผล 2 เดือน ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคทางอารมณ์กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจแบบกลุ่มในระยะหลังการทดลอง 1 เดือน และระยะติดตามผล 2 เดือน ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. คะแนนความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคทางอารมณ์หลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจแบบกลุ่มในระยะหลังการทดลอง 1 เดือน และระยะติดตามผล 2 เดือน ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจแบบกลุ่มสามารถลดความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของในผู้ป่วยโรคทางอารมณ์ได้ จึงควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการลดความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคทางอารมณ์ต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231012-Sarochaluck Thinnaphat 1.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.