Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79987
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันชัย เลิศวัฒนวิลาศ-
dc.contributor.advisorอะเคื้อ อุณหเลขกะ-
dc.contributor.authorนัทธนิชา โยคินen_US
dc.date.accessioned2024-08-20T10:39:20Z-
dc.date.available2024-08-20T10:39:20Z-
dc.date.issued2024-06-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79987-
dc.description.abstractSurgical site infection (SSI) is one of the most common complications of abdominal surgery because it often involves the lower gastrointestinal tract, which contains a large amount of normal flora. SSI leads to an increase in length of stay, cost, and morbidity. Therefore, providing education for nurses on preventing surgical site infection following abdominal surgery is crucial. This developmental research aimed to create a video resource for nurses on the prevention of surgical site infection following abdominal surgery. The sample consisted of 41 registered nurses who were working at a tertiary hospital in Nong Khai from October 2023 to March 2024. Research instruments included a development and design plan for the video media, a video media user opinion questionnaire, a demographic data questionnaire, a knowledge test on preventing surgical site infection following abdominal surgery, and a video media satisfaction questionnaire, all of which were validated by six content experts and three media experts. The content validity indexes of the pre-test, post-test, and the video media satisfaction questionnaire were .96, .99, and 1.00 respectively, and the reliabilities were .82 and .91, respectively. The efficiency of the video media was tested using one-to-one, small group, and field test. Data were analyzed using descriptive statistics. The research findings revealed that the video media for this study included two sections. The topic of section one was surgical site infection following abdominal surgery which was comprised of the content about surgical site infection, surgical site infection criteria, and factors related to surgical site infection following abdominal surgery. The topic of section two included nursing practices for preventing surgical site infection following abdominal surgery. The efficiency of the video media was 1.35, achieving Meguigans’s standard criteria of 1.00. User satisfaction with the video media was at the highest level, overall, with high satisfaction for content (3.70 - 4.23) and design and presentation (3.87 - 4.50), as well as the highest satisfaction level for usability (4.73 - 4.80). The study results show that the video media increased nurses' knowledge regarding the prevention of surgical site infection following abdominal surgery. It should be disseminated among nurses caring for patients undergoing abdominal surgery in hospitals to enhance their knowledge and understanding, thereby improving quality of care and decreasing surgical site infections.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาลen_US
dc.title.alternativeDevelopment of video media for nurses on prevention of surgical site infection follwing abdominal surgeryen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashวีดิทัศน์-
thailis.controlvocab.thashสื่อการสอน-
thailis.controlvocab.thashการตัด (ศัลยกรรม)-
thailis.controlvocab.thashการติดเชื้อ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากการผ่าตัดทางช่องท้อง เนื่องจากการผ่าตัดทางช่องท้อง มักเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง ซึ่งมีเชื้อประจำถิ่นจำนวนมาก การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องส่งผลให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงขึ้น ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องแก่พยาบาลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาล ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดหนองคาย จำนวน 41 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการออกแบบและพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสื่อวีดิทัศน์ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบวัดความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อสื่อวีดิทัศน์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหาจำนวน 6 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อจำนวน 3 ท่าน โดยแบบวัดความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาลก่อนและหลังเรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อสื่อวีดิทัศน์มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .96 .99 และ 1.00 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .82 และ .91 ตามลำดับ ประเมินประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์โดยการนำไปทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบกลุ่มย่อย และแบบภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สื่อวีดิทัศน์ในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาลจำแนกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้อง ประกอบด้วย ความหมายของการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด เกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้อง และตอนที่ 2 การปฏิบัติในป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาล ประกอบด้วย การปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องในระยะก่อนผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.35 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ที่กำหนดค่าไว้ให้มากกว่า 1.00 โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจภาพรวมต่อสื่อวีดิทัศน์ในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาลในระดับมากที่สุด สำหรับความพึงพอใจรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจระดับมากในด้านเนื้อหา (3.70 - 4.23) และด้านการออกแบบและการนำเสนอ (3.87 - 4.50) และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในด้านประโยชน์ที่ได้รับ (4.73 - 4.80) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสื่อวีดิทัศน์ในการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทางช่องท้องสำหรับพยาบาลมีประสิทธิภาพในการนำไปให้ความรู้แก่พยาบาล และควรนำไปเผยแพร่ให้แก่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทางช่องท้องในโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่พยาบาล นำไปสู่การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ และลดอัตราการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดลงได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231030-นัทธนิชา โยคิน-watermark.pdf611231030-นัทธนิชา โยคิน-watermark8 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.