Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79985
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมาลี เลิศมัลลิกาพร-
dc.contributor.advisorวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.authorสุดารัตน์ เอี่ยมชมen_US
dc.date.accessioned2024-08-20T10:29:06Z-
dc.date.available2024-08-20T10:29:06Z-
dc.date.issued2024-06-19-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79985-
dc.description.abstractOlder people with chronic obstructive pulmonary disease (COPD) often have difficulty controlling their dyspnea symptoms. One of the causes is the incorrect use of inhaled bronchodilators leading to ineffective medication administration. Therefore, self-regulation can help older people with COPD to have the ability to control their thoughts and have appropriate behaviors. This quasi-experimental research aims to 1) compare the mean scores on practices in using inhaled bronchodilators among older people with COPD before and after receiving the self-regulation enhancing program and 2) compare the mean scores on practices in using inhaled bronchodilators between the experiment group receiving the self-regulation enhancing program and the control group receiving the usual care. The sample was 50 cases aged 60-70 years diagnosed with stage 3 COPD for at least three months. They were randomly assigned into the experimental group and the control group, with 25 cases in each group. The research instruments consisted of 1) the self-regulation enhancing program based on Bandura's self-regulation concept (1991), 2) a self-regulation manual to enhance practices in using inhaled bronchodilators among older people with COPD, and 3) an assessment form on practices in using inhaled bronchodilators among older people with COPD. The instruments were reviewed by 6 experts, with a content validity index of 1.00 and reliability with an interclass correlation coefficient of .83. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, and independent t-test. The research findings revealed that 1) The experimental group had a mean score on practice in using inhaled bronchodilators after receiving the self-regulation enhancing program (M = 15.96, SD = .20) higher than before receiving the program (M = 9.80, SD = 1.68), with a statistical difference (t = -18.39, p < .001), and 2) The experimental group had a mean score on practice in using inhaled bronchodilators after receiving the self-regulation promotion program (M = 15.96, SD = .20) higher than the control group receiving standard nursing care (M = 10.60, SD = 1.47), with a statistical difference (t = 18.04, p < .001). This research study demonstrates that self-regulation enables older people with COPD to practice using inhaled bronchodilators correctly and effectively. Therefore, self-regulation strategies should be implemented to further promote proper medication use among older people with COPD.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองต่อการปฏิบัติการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นของผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffect of the self-regulation enhancing program on practices in using inhaled bronchodilator among older people with chronic obstructive pulmonary disease in communitiesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashปอด -- โรค-
thailis.controlvocab.thashโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ-
thailis.controlvocab.thashการหายใจ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมอาการหายใจลำบากได้ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นไม่ถูกต้อง ส่งผลให้การพ่นยาไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการกำกับตนเองจะช่วยให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความสามารถในการควบคุมความคิดและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นของผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองและ 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่มีอายุ 60-70 ปี ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีระดับความรุนแรงของโรคระดับที่ 3 เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนจำนวน 50 ราย สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 ราย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1)โปรแกรมการส่งเสริมกำกับตนเองตามแนวคิดการกำกับตนเองของแบนดูรา (1991) 2) คู่มือการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นของผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ 3) แบบประเมินการปฏิบัติการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นของผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เครื่องมือได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นโดยการหา ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้นเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตัวเอง (M = 15.96, SD = .20) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเอง (M = 9.80, SD = 1.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -18.39, p < .001) และ 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นหลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตัวเอง (M = 15.96, SD = .20) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ (M = 10.60, SD = 1.47) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 18.04, p < .001) การศึกษาวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การกำกับตนเองทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถปฏิบัติการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรนำวิธีการกำกับตนเองไปใช้เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการใช้ยาในผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231006-สุดารัตน์ เอี่ยมชม.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.