Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79942
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุบัน พรเวียง-
dc.contributor.advisorมนต์นภัส มโนการณ์-
dc.contributor.authorบุษรา คำจันทร์en_US
dc.date.accessioned2024-08-05T11:50:24Z-
dc.date.available2024-08-05T11:50:24Z-
dc.date.issued2024-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79942-
dc.description.abstractThree purposes of this independent study were 1) to examine the current status, and desired conditions for curriculum administration, 2) to develop guidelines for curriculum administration, and 3) to evaluate the effectiveness of the guidelines for curriculum administration of Mathematics and Sciences enrichment program for excellence Anubann Chiangmai School. The study was conducted in three stages according to the objectives: 1) Assessment of current conditions and desired conditions of curriculum management involved kindergarten school administrators and teachers responsible for teaching special mathematics and science classes at the primary level of Chiang Mai Kindergarten School in the academic year 2566. Purposive sampling was employed, with 32 participants using questionnaires. 2) Study and development of curriculum management guidelines included data providers such as school administrators, qualified curriculum managers for special mathematics and science classrooms, and relevant academics. Purposive sampling was utilized, with 4 participants, and structured interviews were conducted. 3) Examination of primary school curriculum management guidelines for special mathematics and science classrooms towards excellence at Anubann Chiangmai School involved data providers divided into three groups based on their experiences in curriculum management for special mathematics and science classrooms. Purposive sampling was employed, totaling 27 individuals, and a guideline examination questionnaire was used for data analysis. The study findings are summarized as follows: 1) The current status, desired conditions, and priority need index for managing the Mathematics and Sciences enrichment program found that the current management status overall is at a high level. The desired management conditions are also at the highest level, with the Priority Needs Index (PNIModified) indicating a comprehensive necessity for improvement, with a PNIModified value of 0.11. 2) The guidelines for curriculum administration of Mathematics and Sciences enrichment program for excellence Anubann Chiangmai School are as follows 1) Needs analysis and differentiation of students' needs each academic year to obtain useful information for the development of students' learning in each academic year. 2)Procurement of basic technology and development of teacher readiness in using modern technology through training in various formats, both online and offline, to keep up with contemporary technological advancements. 3)Collaboration with higher quality schools as mentors to promote knowledge exchange locally and internationally. 4)Establishment of frameworks and guidelines for guidance, tailored to the context, including setting guidance objectives, guidance scheduling, and performance indicators. 5) Assessment of readiness in using media, technology, and other special laboratory equipment related to curriculum promotion and readiness in learning resources specified for activities promoting student development according to the curriculum. 3) The overall assessment of suitability and feasibility of guidelines for curriculum administration of Mathematics and Sciences enrichment program for excellence Anubann Chiangmai School, the findings indicate the highest level of appropriateness. Additionally, the overall accuracy assessment also indicates a high level of accuracy.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการบริหารหลักสูตรระดับประถมศึกษา ห้องเรียนพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for curriculum administration of mathematics and sciences enrichment program for excellence, Anubann Chiangmai Schoolen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการบริหารการศึกษา -- ไทย -- หลักสูตร-
thailis.controlvocab.thashการบริหารการศึกษา -- ไทย -- การบริหาร-
thailis.controlvocab.thashคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)-
thailis.controlvocab.thashวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตรระดับประถมศึกษา ห้องเรียนพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ 2) ศึกษาและจัดทำแนวทางการบริหารหลักสูตรระดับประถมศึกษา ห้องเรียนพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ และ 3) ตรวจสอบแนวแนวทางการบริหารหลักสูตรระดับประถมศึกษา ห้องเรียนพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการศึกษา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของ การบริหารหลักสูตรระดับประถมศึกษา ห้องเรียนพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนห้องเรียนพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม 2) ศึกษาและจัดทำแนวทางการบริหารหลักสูตรระดับประถมศึกษา ห้องเรียนพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารหลักสูตรห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหลักสูตรห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structure Interview) และ 3) ตรวจสอบแนวทางการบริหารหลักสูตรระดับประถมศึกษา ห้องเรียนพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยพิจารณาจากประสบการณ์ด้านการบริหารหลักสูตรห้องเรียนพิเศษทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบตรวจสอบแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตร พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของ การบริหารหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของ ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ในภาพรวมเท่ากับ 0.11 2) แนวทางการบริหารหลักสูตร คือ 1) การวิเคราะห์ความต้องการ ความแตกต่างของนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา 2) การจัดหาเทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐาน และการพัฒนาให้ครูมีความพร้อม ในการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ผ่านการอบรมทั้งในรูปแบบออนไลน์และรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย 3) การสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนที่มีระดับคุณภาพที่เหนือกว่าเป็นพี่เลี้ยงที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 4) การกำหนดกรอบและแนวทางในการนิเทศ โดยใช้รูปแบบและการปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบท โดยมีการกำหนดเป้าหมายของการนิเทศ ปฏิทินการนิเทศตัวชี้วัดการนิเทศ และ 5) การประเมินความพร้อมของการใช้สื่อ เทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการพิเศษอื่นที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการใช้หลักสูตร และความพร้อมด้านแหล่งเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในการจัดกิจกรรมที่ใช้ส่งเสริมผู้เรียนตามหลักสูตร 3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ของแนวทางการบริหารหลักสูตร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการตรวจสอบความความถูกต้อง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232070 บุษรา คำจันทร์.pdf13.35 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.