Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79659
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตตวดี เหรียญทอง-
dc.contributor.advisorศิริรัตน์ ปานอุทัย-
dc.contributor.authorกฤติน สอนบาลี เวียงแก้วen_US
dc.date.accessioned2024-07-08T09:37:54Z-
dc.date.available2024-07-08T09:37:54Z-
dc.date.issued2024-04-17-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79659-
dc.description.abstractOlder persons with heart failure who practice appropriate self-care can improve their quality of life. This descriptive research aims to study electronic health literacy, self-care, and the relationship between electronic health literacy and self-care among older persons with heart failure. The sample group consisted of 84 older persons with heart failure receiving treatment in the heart failure clinic and cardiology clinic at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. The sample was specifically selected from December 2022 to November 2023. Inclusion criteria include having normal cognitive function, being able to perform activity of daily living, being diagnosed with heart failure for at least 3 months, understanding and communicating in Thai, possessing a mobile or desktop communication device, and being able to access health information on the internet. Data collection tools include a demographic and illness data recording form, a self-care questionnaire for those with heart failure, and an electronic health literacy questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's correlation statistics. The research results revealed that: 1. Electronic health literacy in older persons with heart failure, both overall and in specific areas, including at the basic level, the communication level, the critical thinking level, and the level of interpreting electronic health information into practice, was at a moderate level. 2. Self-care in individuals with heart failure, both overall and in specific aspects, including self-maintenance, symptom awareness, and self-care management, was at an inadequate level. 3. Overall electronic health literacy had a statistically significant correlation with self-care in older persons with heart failure, both overall and in specific aspects such as self-maintenance, symptom awareness, and self-care management, at a moderate level with p < .01. The Pearson’s correlation coefficients were 0.607, 0.508, 0.551, and 0.520, respectively. The results of this study can be used as information for health care professionals caring for older persons with heart failure to improve their self-care through the promotion of electronic health literacy in this population.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพและการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวen_US
dc.title.alternativeElectronic health literacy and self-care among older persons with heart failureen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความรอบรู้ทางสุขภาพ-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- โรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีการดูแลตนเองที่เหมาะสมจะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ การดูแลตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพและการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลวและคลินิกเฉพาะทางโรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 84 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ถึงพฤศจิกายน 2566 มีคุณสมบัติ ได้แก่ มีการรู้คิดปกติ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป สามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยได้ มีอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาหรือตั้งโต๊ะ และเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เนต เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลความเจ็บป่วย แบบสอบถามการดูแลตนเองในผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวและแบบสอบถามความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1. ความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ระดับพื้นฐาน ระดับสื่อสาร ระดับจิตวิจารณญาณ และระดับการถอดความหมายสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 2. การดูแลตนเองในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการบำรุงรักษาตนเอง ด้านการรับรู้อาการ และด้านการจัดการการดูแลตนเอง อยู่ในระดับไม่เพียงพอ 3. ความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการบำรุงรักษาตนเอง ด้านการรับรู้อาการ และด้านการจัดการตนเอง ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันอยู่ระหว่าง 0.607, 0.508, 0.551, 0.520 ตามลำดับ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้บุคลากรสุขภาพที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในการเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองผ่านการส่งเสริมความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.