Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79627
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปีดิเทพ อยู่ยืนยง-
dc.contributor.advisorประสิทธิ์ ลีปรีชา-
dc.contributor.authorภัรจาริณ จินดารัตน์en_US
dc.date.accessioned2024-07-06T07:56:01Z-
dc.date.available2024-07-06T07:56:01Z-
dc.date.issued2024-02-28-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79627-
dc.description.abstractThe purposes of this research were 1) study the government’s measures for assisting the insured individuals under Section 33, who were affected by the impact of the coronavirus 2019 pandemic, and 2) to study problems and obstacles of the relief measure for social security insurers under Section 33 in Mueang district, Lamphun province. The study results revealed that 1) the relief measure for social security insurers under Section 33 according to opinions of insurers in Mueang district, Lamphun province who received a subsidy of 4,000 baht was divided into 4 areas as follow: The context related to knowledge and understanding of the relief measure for social security insurers under Section 33 – the pandemic of COVID-19 affected their livelihood a lot. As for knowledge and understanding, it was found that insurers knew and understood the purpose of the relief measure. They studied procedures and were able to register by themselves. As for input factors, methods, and preparedness for requesting for the relief, insurers had a smartphone for the registration, they lived in the areas with a stable internet connection and understood how to receive a subsidy through the application. In terms of process, public relations, duration of information checking, and money transfer, the government transferred money via Pao Tang application on the specified date. Information checking was delayed. People were able to request for reviewing their eligibility. The conduct of public relations of information regarding relief measures was not consistent. With regard to output, the subsidy provided could alleviate their burden of expenses during the crisis. The registration procedures were easily to understand and the timing of spending the money was suitable. The money from the relief measure was unable to improve their quality of life. 2. With regard to problems and obstacles of the relief measure for social security insurers under Section 33 in Mueang district, Lamphun province, from 400 respondents of the questionnaire, there were 195 insurers under Section 33 who did not receive the subsidy from the relief measure. The major cause was most insurers did know the details about the relief measure, they failed to register in time, and their qualifications did not meet the conditions, such as not having Thai nationality or being eligible to receive a subsidy from other government projects. With reference to opinions and suggestions of the sample about a guideline for solving problems and obstacles for implementing the relief measure in Mueang district, Lamphun province, (1) in case of those who received the subsidy, the government should continue to help them until the domestic economic situation was better since some people were affected by the pandemic of COVID-19. Additionally, the government should allocate a budget for the relief to meet the number of people in trouble, (2) in case of those who did not receive the subsidy, they viewed that the government should provide assistance to cover all insurers since everyone suffered from the situation. Therefore, all of them were eligible to receive the government assistance equally without having to fight over the registration. Besides, the government should give importance to workers of other nationalities. Though they were not eligible for the subsidy like Thai nationality workers, the situation caused them to live in difficulty, the government should consider a guideline for providing assistance to them in an appropriate way, such as reducing the fee for renewal of non-Thai identification card (a pink ID card) to help reduce their burden of everyday expenses.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleมาตรการเยียวยากลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeRemedial measures for the insured under section 33 in the COVID-19 epidemic situation in Mueang District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashประกันสังคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
thailis.controlvocab.thashค่าทดแทน -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashโคโรนาไวรัส -- ลำพูน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามาตรการของรัฐบาลในการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ผลการศึกษาพบว่า 1) มาตรการในการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในความคิดเห็นของผู้ประกันตน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 4,000 บาท สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านบริบท ความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 พบว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ในส่วนความรู้ความเข้าใจ พบว่า ผู้ประกันตนรู้และเข้าใจวัตถุประสงค์ของมาตรการเยียวยา มีการศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ และสามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง ด้านปัจจัยนำเข้า วิธีการ และการเตรียมความพร้อมในการขอรับสิทธิ์ตามเงื่อนไขของมาตรการเยียวยา พบว่า ผู้ประกันตนมีโทรศัพท์เพื่อใช้สำหรับลงทะเบียน อยู่ในพื้นที่ที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความเสถียร และเข้าใจวิธีการรับเงินช่วยเหลือผ่านแอพพลิเคชั่น ด้านกระบวนการ คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูล ระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูล และการโอนเงิน พบว่า รัฐโอนเงินเข้าแอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์ตรงตามวันที่กำหนด การตรวจสอบข้อมูลมีความล่าช้า สามารถยื่นทบทวนสิทธิซ้ำได้ การประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการเยียวยายังขาดความสม่ำเสมอ และด้านผลผลิต พบว่า จำนวนเงินที่ได้รับสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในช่วงวิกฤตได้ ขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าใจง่าย และระยะเวลาในการนำเงินไปใช้มีความเหมาะสม เงินที่ได้รับจากมาตรการเยียวยายังไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ 2) ปัญหาและอุปสรรคของมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในพื้นที่อำเภอเมือง พบว่า จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน มีผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 195 คน ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากมาตรการดังกล่าว โดยสาเหตุหลักมาจากการที่ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ลงทะเบียนไม่ทันตามเวลา และมีคุณสมบัติไม่ตรงตามเงื่อนไข เช่น ไม่ใช่สัญชาติไทย หรือได้รับสิทธิ์ในโครงการอื่นของรัฐ สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินมาตรการเยียวยา ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พบว่า (1) กรณีของผู้ที่ได้รับเงินช่วยเหลือมีความคิดเห็นว่า ภาครัฐควรช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจนกว่าสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศจะดีขึ้น เนื่องจากมีบางคนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้รัฐควรจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับการช่วยเหลือในส่วนนี้ให้เพียงพอกับจำนวนคนที่ได้รับความเดือดร้อน (2) กรณีของผู้ที่ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือมีความคิดเห็นว่า ภาครัฐควรจะให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนให้ครอบคลุมทุกคน เนื่องจากทุกคนต่างก็ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้นทุกคนก็ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเท่าเทียมกันโดยที่ไม่จำเป็นต้องแย่งกันลงทะเบียน นอกจากนี้รัฐควรจะให้ความสำคัญกับแรงงานที่มีสัญชาติอื่น ๆ แม้ว่าจะไม่ได้รับอภิสิทธิ์เหมือนแรงงานที่มีสัญชาติไทย แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้ใช้ชีวิตยากลำบาก ภาครัฐก็ควรพิจารณาถึงแนวทางในการให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม อย่างเช่น การลดค่าธรรมเนียมในการต่ออายุบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640432012_ภัทรจาริณ จินดารัตน์.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.