Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79621
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorChatchote Thitaram-
dc.contributor.advisorKidsadagon Pringproa-
dc.contributor.advisorPhongsakorn Chuammitri-
dc.contributor.authorYaoprapa Yunen_US
dc.date.accessioned2024-07-04T10:21:17Z-
dc.date.available2024-07-04T10:21:17Z-
dc.date.issued2024-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79621-
dc.description.abstractElephant Endotheliotropic Herpesvirus (EEHV) is a viral disease that has emerged as a major threat to the conservation of Asian elephants (Elephas maximus) in recent years. EEHV is a member of the Betaherpesvirinae, first reported in 1990 with polymerase chain reaction (PCR) analysis by causing the death in 3 circus juvenile elephants in Switzerland. The virus primarily affects young elephants between the ages of 1 and 8, with a mortality rate of approximately 80-85% from haemorrhagic disease and multiple-organ failure. High evidence of EEHV infected rate is found in range countries, including Thailand. Despite extensive research, the clinical characteristics, and possible routes of viral shedding in EEHV-infected Asian elephant herds are remain not fully understood. The first study complies and examines the clinical characteristic of 103 EEHV patients that were confirmed by PCR in Thailand between 2009 and 2016. The findings demonstrate that the clinical manifestation of EEHV infection is contingent upon the viral strain, clinical signs, age range, husbandry (trained or weaned), and season but is unaffected by gender. Undoubtedly, blood profile abnormalities including severe grade of heterophil toxicity, leukopenia, thrombocytopenia, anemia and hypoproteinemia are observed in badly afflicted elephants, and antiviral medication treatment for this group of animals has a poor success record. In the second study, pre-mortem diagnoses of EEHV with PCR method by using a non-invasive technique collect the biological samples compare from saliva and feces of 5 elephants for over 12 weeks. This work offers the first proof that detectable quantities of EEHV are expelled in feces and will be useful to applied in wild and free-living elephant population epidemiology studies. The third study, we examine the potential for perinatal EEHV transmission via transplacental or colostral. We present the possible evidence of the EEHV pathogen's capacity to reside in the placenta endothelium without endangering fetuses or it might be only the engulfing of antigen into macrophage cytoplasm. The fetuses may develop antibodies or acquire transplacental maternal protection against EEHV, or the viruses may be dormant and not infectious. Hence, no evidence of colostral transmission was found in this study. To confirm perinatal transmission in EEHV, more positive sample studies are needed, along with specific EEHV antibody confirm, additional research on EEHV antibody level, placental pathogenesis and transplacental immunity of the virus. Overall, the data from our investigations provide more insight into the clinical features and transmission of EEHV and are helpful in the detection of viruses, which will aid in the development of preventative and therapeutic measures for the disease in Asian elephant herds, preserving the integrity of this endangered species.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectEEHVen_US
dc.subjectHerpesvirusen_US
dc.subjectElephanten_US
dc.titleClinical characteristics and possible routes of elephant endotheliotropic herpesvirus (EEHV) shedding in Asian elephant (Elephas maximus) herdsen_US
dc.title.alternativeลักษณะเฉพาะทางคลินิกและวิธีการแพร่กระจายที่เป็นไปได้ของเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัสในกลุ่มช้างเอเชียen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshAsiatic elephant-
thailis.controlvocab.lcshAsiatic elephant -- Herpesvirus diseases-
thailis.controlvocab.lcshHerpesvirus diseases in animals-
thailis.controlvocab.lcshVeterinary virology-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง (EEHV) เป็นโรคไวรัสที่เป็นภัยคุกคามหลักต่อการอนุรักษ์ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เชื้อไวรัสชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเบต้าเฮอร์ปีส์ไวรัส ซึ่งมีรายงานการตรวจพบด้วยการวิเคราะห์ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) ครั้งแรกเมื่อปี 1990 โดยพบว่าเป็นสาเหตุทำให้ลูกช้างโรงละครสัตว์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 3 ตัวเสียชีวิต เชื้อไวรัส EEHV ส่วนใหญ่มักก่อโรคในลูกช้างเอเชียอายุระหว่าง 1- 8 ปี โดยทำให้ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรงและระบบการทำงานของร่างกายล้มเหลว มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงประมาณ 80-85% และพบอัตราการแพร่กระจายของโรคนี้ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีประชากรช้างเป็นจำนวนมาก แม้จะมีการวิจัยอย่างกว้างขวาง แต่การศึกษาด้านลักษณะทางคลินิกวิทยาและการแพร่กระจายของไวรัสในช้างเอเชียที่ติดเชื้อ EEHV ยังมีอยู่อย่างจำกัด โดยในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาทั้งหมด 3 ส่วน การศึกษาที่ 1 เป็นการศึกษาลักษณะทางคลินิกวิทยาของลูกช้างที่ติดเชื้อ EEHV ที่ตรวจยืนยันโดยวิธี PCR จำนวน 103 เชือก ในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าลักษณะทางคลินิกวิทยาของการติดเชื้อ EEHV ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัส ลักษณะอาการต่างๆ ของการติดเชื้อ ช่วงอายุ การเลี้ยง ( ผ่านการฝึกหรือหย่านม) และฤดูกาล โดยเพศไม่มีผลกับลักษณะทางคลินิกวิทยาของโรคนี้ ทั้งนี้ในลูกช้างกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมักพบความผิดปกติของค่าเลือดอย่างเห็นได้ชัด เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดเฮทเทอโรฟิลอย่างรุนแรง การลดลงของปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด ภาวะโลหิตจาง และระดับโปรตีนในกระแสเลือดต่ำกว่าปกติ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านไวรัส การศึกษาที่ 2 เป็นการศึกษาเพื่อหาวิธีการตรวจหาเชื้อ EEHV ด้วยการวิเคราะห์ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) โดยเปรียบเทียบจากตัวอย่างอุจจาระและน้ำลายของช้างที่ยังมีชีวิตทั้งหมด 5 เชือกเป็นเวลา 12 สัปดาห์ การศึกษาพบว่าตัวอย่างอุจจจาระสามารถใช้ทดแทนตัวอย่างทางชีววิทยาอื่นๆ เช่นน้ำลาย เพื่อการตรวจหาเชื้อ EEHV ได้โดยปราศจากการจับบังคับช้าง ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการเฝ้าระวังโรคและการศึกษาทางระบาดวิทยาในกลุ่มช้างป่าและช้างที่อยู่นอกสถานที่เลี้ยง การศึกษาที่ 3 คือการศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้ของการถ่ายทอด เชื้อ EEHV จากแม่ช้างสู่ลูกช้างผ่านทางรกและนมน้ำเหลือง โดยการศึกษาในแม่ช้างตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงแรกคลอดจำนวน 8 เชือก ซึ่งพบว่ามีความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัส EEHV จะอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อบุโพรงของรกโดยไม่ก่อโรคในตัวอ่อนช้างช่วงตั้งครรภ์ หรือเป็นเพียงการกลืนกินเชื้อ EEHV ของเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโคฟาจ และหรือตัวอ่อนอาจพัฒนาแอนติบอดีหรือสารก่อภูมิคุ้มกันต่อโรค EEHV หรืออาจได้รับสารก่อภูมิคุ้มกันโดยตรงจากแม่ช้างผ่านทางกระแสเลือด แต่ไม่พบความเป็นไปได้ของการได้รับเชื้อผ่านทางนมน้ำเหลือง ทั้งนี้ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการติดเชื้อผ่านทางรกโดยใช้แอนดิบอดี้ที่จำเพาะกับโรคนี้มากขึ้นควบคู่ไปกับการวัดระดับแอนติบอดี้ในกระแสเลือด การศึกษาวิจัยด้านการติดเชื้อและการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันของรกช้าง อีกทั้งควรทำการศึกษาในขนาดกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น โดยสรุปแล้วการศึกษาทั้งสามงานวิจัยครั้งนี้ช่วยเพิ่มพูนองค์ความรู้ทางเกี่ยวกับลักษณะทางคลินิกและการแพร่กระจายของเชื้อ EEHV และประโยชน์ด้านการตรวจหาเชื้อไวรัส ซึ่งจะช่วยในการส่งเสริมด้านการป้องกันและรักษาโรคนี้ในช้างเอเชีย เพื่อประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์และบำรุงรักษาสายพันธุ์ที่มีคุณค่านี้en_US
Appears in Collections:VET: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601451006-Yaoprapa Yun.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.