Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79522
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณฐิตากานต์ พยัคฆา-
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.authorปรียาภรณ์ ขันทบัวen_US
dc.date.accessioned2024-06-18T15:51:36Z-
dc.date.available2024-06-18T15:51:36Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79522-
dc.description.abstractThe objectives of this research were: 1) To study the basic characteristics of coffee-growing farmers' personal, social, and economic aspects in the Ban Manee Phruk village, Ngop Subdistrict, Thung Chang District, Nan Province. 2) To analyze factors influencing the likelihood of registering Thai geographical indicators for coffee-growing farmers in the Ban Manee Phruk village, Ngop Subdistrict, Thung Chang District, Nan Province. And 3) To propose strategies to promote the registration of Thai geographical indicators for coffee-growing farmers in the Ban Manee Phruk village, Ngop Subdistrict, Thung Chang District, Nan Province. The study employs a sample group of 96 farmers. Data was collected through semi-structured interviews and group discussions with 5 key representatives and committee members of the coffee-growing farmers in the area. The data collection took place from May to July 2023. The statistical data and analysis include frequency, percentage, mean, standard deviation, multiple regression analysis, and content analysis. The study found that the majority of farmers were female 65.5 percent, with an average age of 40.10 years. Most of them had not received formal education 32.2 percent, and had an average experience in coffee cultivation of 5.76 years. The average attendance at agricultural workshops and training in the year 2022 was 1.99 times. The average household size was 46.90 percent, with the majority were not holding social positions (94.80 percent). Received information about coffee production through meetings or training sessions in the year 2022 an average of 1.61 times. Contacted with agricultural officers averaged 3.68 times per year. The coffee farms were generally less than or equal to 1 rai in size, with an average of 3.61 agricultural workers per household. The net income from coffee production in the year 2022 averaged 68,198 baht, and there were no coffee production debts in the year 2022 97.90 percent. The knowledge of Arabica coffee production according to the principles of the Department of Agriculture at a high level, with an average score of 12.20, and the possibility of registering Thai coffee products were found to be at a high level, with an average score of 1.32. In hypothesis testing, Discovered that there were a negative correlation between experience in coffee cultivation (P < 0.05), receiving information about coffee production (P < 0.05), and knowledge level of Arabica coffee production (P < 0.01). Extension guideline for the registration of Thai geographical indication of coffee growers, Manee Phruek village, Ngob sub-district, Thung Chang district, Nan province found that most farmers faced challenges in coffee production, such as The coffee borer infestations, lack of management in the fields, or inadequate coffee garden cleaning. Therefore, appropriate promotional guidelines for registering geographical indication indicators for coffee products were proposed, divided into three main areas: coffee production, marketing, and agricultural extension officer development. The target groups include farmers and agricultural extension officers.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยของผู้ปลูกกาแฟ บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeExtension guideline for the registration of Thai geographical indication of coffee grower, Manee Phruek Village, Ngob Sub-district, Thung Chang District, Nan Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashกาแฟ -- การปลูก-
thailis.controlvocab.thashกาแฟ -- ทุ่งช้าง (น่าน)-
thailis.controlvocab.thashสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์-
thailis.controlvocab.thashใบรับรองแหล่งกำเนิด-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- ทุ่งช้าง (น่าน)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractบทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจบางประการของผู้ปลูกกาแฟ บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นไปได้ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยของผู้ปลูกกาแฟ บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยของผู้ปลูกกาแฟ บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ในพื้นที่บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน จำนวน 96 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่มร่วมกับหัวหน้าและกรรมการกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ จำนวน 5 ราย ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.5 มีอายุเฉลี่ย 40.10 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 32.2 มีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟเฉลี่ย 5.76 ปี ประสบการณ์ในการศึกษาดูงานและอบรมด้านการเกษตรในปี พ.ศ. 2565 เฉลี่ย 1.99 ครั้ง มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนร้อยละ 46.90 ส่วนใหญ่ไม่ได้มีตำแหน่งทางสังคม (ร้อยละ 94.80) ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ ผ่านการประชุมหรืออบรมในปี พ.ศ. 2565 เฉลี่ย 1.61 ครั้ง การติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตร เฉลี่ย 3.68 ครั้ง/ปี มีขนาดพื้นที่สวนกาแฟน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ไร่ จำนวนแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 3.61 คน/ครัวเรือน มีรายได้สุทธิจากการผลิตกาแฟในปี พ.ศ.2565 เฉลี่ย 68,198 บาท และไม่มีหนี้สินการผลิตกาแฟ ปี พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 97.90 ทั้งนี้มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟพันธุ์อะราบิกาของผู้ปลูกกาแฟ ตามหลักของกรมวิชาการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 12.20 และความเป็นไปได้ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยสินค้ากาแฟ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 1.32 ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประสบการณ์ใน การปลูกกาแฟ (P < 0.05) มีความสัมพันธ์เชิงลบ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ (P < 0.05) และระดับความรู้การผลิตกาแฟพันธุ์อะราบิกา (P < 0.01) มีความสัมพันธ์เชิงบวก ส่วนแนวทางการส่งเสริมในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยของผู้ปลูกกาแฟ บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ จากมอดเจาะกาแฟ ขาดการจัดการในแปลงหรือการทำความสะอาดสวนกาแฟที่เหมาะสม จึงได้มีการนำปัญหามาเสนอเป็นแนวทางการส่งเสริมที่เหมาะสมในการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้ากาแฟ แบ่งได้ 3 แนวทาง ได้แก่ ด้านการผลิตกาแฟ ด้านการตลาด และด้านการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ปรียาภรณ์_ขันทบัว_640831010.pdfThesis2.96 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.