Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79519
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสระยา ร่วมรังษี-
dc.contributor.advisorกนกวรรณ ปัญจะมา-
dc.contributor.advisorชัยอาทิตย์ อิ่นคำ-
dc.contributor.authorวีระศักดิ์ วิชาเป็งen_US
dc.date.accessioned2024-06-18T15:05:57Z-
dc.date.available2024-06-18T15:05:57Z-
dc.date.issued2567-01-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79519-
dc.description.abstractการศึกษาผลของธาตุอาหารพืชต่อการเจริญเติบโตของทิวลิปในระบบไฮโดรโพนิกส์ แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 ผลของการขาดธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็กและโบรอน ต่อการเจริญเติบโตของทิวลิป โดยใช้หัวทิวลิปพันธุ์ ‘Orange Juice’ ที่มีขนาดของ เส้นรอบวงเฉลี่ย 12 เซนติเมตร นำไปบังคับให้ออกรากที่อุณหภูมิ 9 องศาเซลเซียส นาน 2 สัปดาห์ ก่อนปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์โดยใช้กระถาง 2 ชั้น ในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิ เฉลี่ย 20±2 องศาเซลเซียส ความเข้มแสงเฉลี่ย 442 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 80-90 เปอร์เซ็นต์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 9 กรรมวิธี 4 ซ้ำต่อกรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ให้พืชได้รับเพียงน้ำที่กำจัดประจุออก (deionized water) กรรมวิธีที่ 2 กรรมวิธีควบคุม ให้พืชได้รับสารละลายธาตุอาหารตามสูตรของ Hoagland and Arnon (1950) กรรมวิธีที่ 3 ถึง 9 ให้พืชได้รับสารละลายที่ขาดธาตุไนโตรเจน (-N) ฟอสฟอรัส (-P) โพแทสเซียม (-K) แคลเซียม (-Ca) แมกนีเซียม (-Mg) โบรอน (-B) และเหล็ก (-Fe) ตามลำดับ ส่วนธาตุที่จำเป็นอื่น ๆ ให้พืชได้รับในปริมาณที่เท่ากัน จากนั้นทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต การสังเคราะห์แสง คุณภาพดอก และคุณภาพหัวใหม่ ผลการทดลองพบว่าเมื่อสัปดาห์ที่ 4 หลังย้ายปลูก กรรมวิธีที่พืชได้รับสารละลายธาตุอาหารที่ขาดธาตุแคลเซียม พืชมีความยาวรากน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นๆ แต่ไม่มีความแตกต่างกับกรรมวิธีที่ปลูกในน้ำที่กำจัดประจุออก ในด้านพื้นที่ใบและน้ำหนักสดทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างกัน ส่วนกรรมวิธีที่ขาดแมกนีเซียมมีอัตราการสังเคราะห์แสงต่ำที่สุด ในด้านของคุณภาพดอกพบว่ากรรมวิธีที่พืชได้รับเพียงน้ำที่กำจัดประจุออกและสารละลายธาตุอาหารที่ขาดธาตุแคลเซียมมีระยะเวลาบานดอกต่ำที่สุด ซึ่งเกิดจากทั้งสองกรรมวิธีทำให้พืชแสดงอาการก้านดอกล้มร้อยละ 58 และ 42 ตามลำดับ และอาการดอกแท้งที่ร้อยละ 17 และ 8 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบอาการดอกแท้งในกรรมวิธีที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนที่ร้อยละ 17 และ 8 ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ผลของระดับความเข้มข้นของสูตรสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพดอกของทิวลิป ดำเนินการโดยปลูกหัวทิวลิปพันธุ์ ‘Orange Juice’ ขนาดเส้นรอบวงเฉลี่ย 12 เซนติเมตร ในระบบไฮโดรโพนิกส์ดำเนินการเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยให้พืชได้รับสารละลายธาตุอาหารที่มีค่าความเข้มข้น (EC) ที่ 0, 1.0, 1.5, 2.0 และ 2.5 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ จากนั้นทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต การสังเคราะห์แสง คุณภาพดอก และคุณภาพหัวใหม่ ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีให้ผลของจำนวนวันที่ดอกบานและเส้นผ่านศูนย์กลางก้านดอกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามกรรมวิธีที่พืชได้รับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่มีค่า EC 0, 1.0, 1.5 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร มีอัตราการสังเคราะห์แสงและอัตราการคายน้ำไม่แตกต่างกัน ส่วนในความเข้มข้นที่มีค่า EC 2.0 และ 2.5 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ทำให้ความสูงต้น น้ำหนักสด ความยาวก้านดอก อัตราการสังเคราะห์แสงและอัตราการคายน้ำของทิวลิปลดลง แต่น้ำหนักสดหัวใหม่ เส้นรอบวงหัวใหม่ และจำนวนหัวใหม่ไม่แตกต่างกัน ทิวลิปที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารที่มีค่า EC 0 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร พบอาการ ก้านดอกล้มสูงถึงร้อยละ 66.6 ในขณะที่กรรมวิธีที่ได้รับสารละลายธาตุอาหารค่า EC 2.5 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร พบอาการดอกแท้งร้อยละ 22.2en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectNutrient solutionen_US
dc.subjectระบบไฮโดรโพนิกส์en_US
dc.subjectธาตุอาหารพืชen_US
dc.titleผลของธาตุอาหารพืชต่อการเจริญเติบโตของทิวลิปในระบบไฮโดรโพนิกส์en_US
dc.title.alternativeEffects of plant nutrition on growth and development of Tulip in hydroponic systemen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashทิวลิป -- การเจริญเติบโต-
thailis.controlvocab.thashการปลูกพืชในน้ำยา-
thailis.controlvocab.thashโภชนาการพืช-
thailis.controlvocab.thashธาตุอาหารพืช-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractThe effects of nutrients on tulip growth in hydroponic system were studied in 2 experiments as follows; Experiment 1: the effects of nitrogen (N), phosphorus (P), potassium (K), calcium (Ca), magnesium (Mg), iron (Fe) and boron (B) deficiency on the tulip growth was carried out. In this experiment, tulip bulbs ‘Orange Juice’ with an average circumference of 12 cm were grown in a double pots hydroponic system and kept in a plant factory under the controlled atmosphere with an average temperature of 20±2 °C, an average light intensity of 442 µmol m-2s-1, and relative humidity of 80-90%. A completely randomized design with 9 treatments 4 replications/treatment was used. In particularly, in treatment 1, plants were grown in deionized water; Treatment 2, plants were grown in Hoagland and Arnon (1950) solution as control treatment. treatment 3 to treatment 9, N, P, K, Ca, Mg, B, and Fe-deficient solutions with the same amount of other essential elements were used, respectively. The results showed that 4 weeks after transplanting, plants grown in Ca-deficient solution had shorter roots length compared to other treatments except the plants grown in deionized water. However, no differences was found in leaves area and fresh weight among treatments. The plants grown in Mg-deficient solution showed the lowest photosynthetic rates. As for flower quality, it was found that plants grown in deionized water and Ca-deficient solution showed the lowest flower longevity, and both treatments resulted stem topple system in 58% and 42% of all plants in each treatment, respectively. In addition, non-flowering tulips were found with 17% and 8% of plants grown in P-deficient and N-deficient nutrient, respectively. Experiment 2: the effects of electrical conductivity (EC) of nutrient solution on growth and flower quality of tulip grown in hydroponics system was studied. Tulip bulbs with an average of 12 cm circumference were grown in a hydroponics system using double pots system under a plant factory with an average temperature of 20±2 °C, average light intensity 442 µmol m-2s-1 and 80-90% RH. The experimental design was completely randomized design (CRD) with 5 treatments and 4 replications. Plants were supplied with five EC levels i.e., 0, 1.0, 1.5, 2.0 and 2.5 mS/cm Plant growth, photosynthesis rate, flowers and new bulbs quality were measured. The results showed that there were not significantly different between treatments on days to flowering and stalk diameter parameters. Plants supplied with EC levels at 0, 1.0 and 1.5 mS/cm, photosynthesis rate and transpiration rate were not significant different among treatments. However, plants height, stalk length, total fresh weight, photosynthesis rate and transpiration rate were decreased when the plant was supplied with high EC levels at 2.0 and 2.5 mS/cm but bulb fresh weight, bulb circumference and number of new bulbs per plant were not significant different among treatments. Plants supplied with 0 mS/cm of nutrient solution showed 66.6% of stem topple characteristics, while plants supplied with 2.5 mS/cm showed 22.2% of flower abortion.en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630831019-วีระศักดิ์ วิชาเป็ง.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.