Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79456
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาลินี สุวรรณยศ-
dc.contributor.advisorหรรษา เศรษฐบุปผา-
dc.contributor.authorสุกัญญา พรหมประเสริฐen_US
dc.date.accessioned2024-05-08T00:33:12Z-
dc.date.available2024-05-08T00:33:12Z-
dc.date.issued2024-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79456-
dc.description.abstractAmphetamine use disorders are a national and global problem affecting individuals, families, society, and the nation. Therefore, treatment to reduce or stop use of amphetamines is essential. The purpose of this study was to examine the effectiveness of the Behavioral Self-Control Training and Telephone Follow-Up Program on patients with amphetamines use disorders during treatment at Ratchaburi Hospital's psychiatric ward in Ratchaburi province from June to August 2023. The 46 participants were purposively selected and included 20 persons with amphetamine use disorders, 20 relatives or caregivers of persons with amphetamine use disorders, and 6 nursing personnel teams. The instruments used in this study included 1) self-behavior training and phone tracking programs for patients with amphetamine use disorders, 2) a personal information questionnaire, 3) an amphetamine use assessment, and 4) satisfaction evaluation of treatment programs and treatment program tools done through five qualified candidates. Analysis of data was done using descriptive statistics The results of this study revealed that: 1. After four weeks of attending the behavioral self-control training and telephone follow-up program, patients with amphetamine use disorders decreased their amphetamine use scores from 124 points to 12 points. Abstinence days increased from 5 days in 2 weeks to 10 days in 2 weeks. 2. All members of the nursing personnel teams were satisfied with the implementation of the program, agreeing that it was beneficial to the amphetamine use disorder patients and their caregivers and that it could be combined with routine works, and there was overall satisfaction with the program as implementation. 3. All persons with amphetamine use disorders who participated in the program agreed that it helped reduce their amphetamine use, stopped them using amphetamines, and was satisfaction with the program. 4. All relatives or caregivers of persons with amphetamine use disorders who participated in the program were satisfied with all aspects. They felt that this program benefited patients and relatives or caregivers, and was satisfaction with the program. The study findings indicated that all patients could change their amphetamine use disorder behavior in a positive direction while the average score, both for days of amphetamine use and days stopping were reduced. The nursing personnel team was satisfied with the program. Therefore, implementing behavioral self-control training and telephone follow-up programs among patients with amphetamine use disorders should be offered to people in this population. These programs can continue to be used and expanded in secondary hospitals.  en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนในโรงพยาบาลภายใต้เขตบริการสุขภาพของ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of implementing the behavioral self-control training and telephone follow-up program among patients with amphetamine use disorders in the hospital under Regional Health of the Galyarajanagarindra Instituteen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์-
thailis.controlvocab.thashการติดแอมฟิตะมิน-
thailis.controlvocab.thashการติดแอมฟิตะมิน -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashแอมฟิตะมิน-
thailis.controlvocab.thashยาบ้า-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนก่อให้เกิดปัญหาทั้งในประเทศและในระดับโลก ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ การบำบัดรักษาให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ลดหรือเลิกเสพแอมแฟตามีนจึงมีความสำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน ระหว่างเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือน สิงหาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 46 คนได้แก่ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน จำนวน 20 คน ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน จำนวน 20 คนและทีมบุคลากรทางการพยาบาล จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินการเสพแอมเฟตามีน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. ภายหลังเข้ารับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนมีคะแนนเฉลี่ยการเสพแอมเฟตามีนลดลงจาก 124 คะแนนเป็น 12 คะแนน และมีวันหยุดเสพแอมเฟตามีนเฉลี่ยจาก 5 วันในสองสัปดาห์ เป็น 10 วันในสองสัปดาห์ 2. ทีมบุคคลากรทางการพยาบาลที่ใช้โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน ทุกรายมีความเห็นว่าโปรแกรมมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยญาติผู้ดูแลและในการปฏิบัติงาน สามารถนำมาผสมผสานกับงานประจำของหน่วยงานและพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมโดยภาพรวม 3. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนทุกราย เห็นด้วยว่าโปรแกรมมีประโยชน์ในการลด ละ เลิกการเสพแอมเฟตามีนและมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรม 4. ญาติหรือผู้ดูแลของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนที่เข้าร่วมโปรแกรมโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนทุกราย มีความเห็นว่าโปรแกรมมีประโยชน์ของโปรแกรมต่อผู้ป่วยและญาติและมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรม ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนหลังทุกรายหลังได้รับการดูแลตามโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน มีพฤติกรรมการเสพแอมเฟตามีนเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยการเสพแอมเฟตามีนและวันหยุดเสพลดลง ทีมบุคคลากรทางการพยาบาลพึงพอใจในการใช้โปรแกรม จึงควรนำเสนอโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน เพื่อนำไปใช้และขยายผลในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิต่อไป  en_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231016-สุกัญญา พรหมประเสริฐ.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.