Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยพรรณ กลั่นกลิ่น-
dc.contributor.authorภัณฑิลา นาคแคล้วen_US
dc.date.accessioned2023-12-09T05:39:47Z-
dc.date.available2023-12-09T05:39:47Z-
dc.date.issued2023-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79281-
dc.description.abstractThe purpose of this study is to tourism marketing mix affecting Thai tourist in choosing domestic eco-adventure tourist attractions in new normal era. Data were collected through questionnaires, employing quota sampling from a questionnaire of 400 eco-adventure tourism experiences. The statistical methods used for data analysis included descriptive statistics such as frequency, percentage, and mean, as well as inferential statistics such as independent t-test and regression analysis. The study's results revealed that government measures announced have an impact on Thai tourists' decisions to select eco-adventure tourism destinations in the new normal era. The factors that have seen an increase in impact include establishing clear entry and exit points appropriate for the area, providing hand washing stations with soap, alcohol gel, and face masks, and ensuring the proper use of disinfection equipment throughout the service period. Additionally, offering good ventilation in enclosed areas, such as bathrooms, providing trash cans with lids for waste separation and proper disposal, and requesting ATK or RT-PCR test results from service users have also contributed to the increase. tourism marketing mix affecting Thai tourist in choosing domestic eco-adventure tourist attractions in new normal era includes Product, Promotion, People, and Process. The study's results revealed differences in the decision-making process for choosing eco-adventure tourism destinations within the country during the new normal era. It was observed that individuals or groups who had previously engaged in eco-adventure travel after the outbreak of the COVID-19 virus were more inclined to opt for eco-adventure tourism destinations within the country across all 8 measures when compared to those who had never participated in eco-adventure tourism following the outbreak of the COVID-19 virus. There were establish clear entry and exit points as appropriate for the area, provide hand washing stations with soap, alcohol gel, and face masks. and disinfection equipment Adequately throughout the service period, provide a distance of 1 - 2 meters between people and have signs or symbols clearly displayed, Limit people coming to use the service to 1 person per area of 1.5 square meters per round/period, arrange for cleaning of areas and equipment that are used together, such as tourist service centers, elevators, doors, handrails, resting seats, etc., arrange trash cans with lids to separate waste for proper disposal, Technology is used to support work (payment) such as QR Code, card sales and electronic payments (e-Payment), etc. and ATK or RT-PCR test results are asked from service users. The study's results revealed those who had prior experience with eco-adventure tourism after the COVID-19 outbreak showed a higher propensity to choose such destinations in the new normal era across all 6 Marketing Mix factors of Tourism, Product, Price, Place, Promotion, People, and Partnership has more choosing than those who have never undertaken eco-adventure tourism after the outbreak of the COVID-19 virus.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยภายในประเทศ ในยุคความปกติใหม่en_US
dc.title.alternativeTourism marketing mix affecting Thai tourist in choosing domestic eco-adventure tourist attractions in new normal eraen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยว-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ-
thailis.controlvocab.thashนักท่องเที่ยว -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashการตลาด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยภายในประเทศในยุคความปกติใหม่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เลือกตัวอย่างแบบโควตา จากนักท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัย รวม 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ามาตรการของรัฐบาลประกาศที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยในยุคความปกติใหม่ ที่เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ กำหนดให้มีจุด เข้า – ออก ที่ชัดเจนตามความเหมาะสมของพื้นที่ จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ อย่างเพียงพอตลอดเวลาที่ให้บริการ จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีในพื้นที่ปิด เช่น ห้องน้ำ จัดให้มีถังขยะที่มีฝาปิด คัดแยกขยะ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง และมีการสอบถามผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR จากผู้เข้าใช้บริการ ส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยภายในประเทศในยุคความปกติใหม่ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด บุคลากรผู้ให้บริการ และกระบวนการให้บริการ การศึกษาความแตกต่างของการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยในประเทศในยุคความปกติใหม่ พบว่ากลุ่มที่เคยท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 มีการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยในประเทศในยุคความปกติใหม่ทั้ง 8 มาตรการ มากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้แก่ กำหนดให้มีจุดเข้า – ออก ที่ชัดเจนตามความเหมาะสมของพื้นที่ จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ อย่างเพียงพอตลอดเวลาที่ให้บริการ จัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1 - 2 เมตร และมีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงชัดเจน จำกัดผู้เข้ามาใช้บริการ 1 คน ต่อพื้นที่ 1.5 ตารางเมตรต่อรอบ/ ช่วงเวลา จัดให้มีการทำความสะอาดพื้นที่และอุปกรณ์ที่มีการใช้บริการร่วมกัน เช่น ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ลิฟต์ ประตู ราวจับ ที่นั่งพักผ่อน เป็นต้น จัดให้มีถังขยะที่มีฝาปิดคัดแยกขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง มีการใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนการทำงาน (ชำระเงิน) เช่น QR Code การจำหน่ายบัตรและชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เป็นต้น และมีการสอบถามผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR จากผู้เข้าใช้บริการ การศึกษากลุ่มที่เคยท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีค่าเฉลี่ยการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยในประเทศในยุคความปกติใหม่ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคลากรผู้ให้บริการ และพันธมิตร มากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.