Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79184
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณัย สายประเสริฐ-
dc.contributor.authorมินตรา เพ่งพิศen_US
dc.date.accessioned2023-11-13T16:12:01Z-
dc.date.available2023-11-13T16:12:01Z-
dc.date.issued2023-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79184-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study was to study job satisfaction of production staff of Driessen Catering Equipment Company Limited. The analysis was based on Frederick Herzberg’s Two-Factor Theory consists of Motivation Factors and Hygiene Factors. The data was collected from sample group of 278 production staffs by using questionnaire and the data was analysed using descriptive statistics namely frequency, percentage, means and using Importance-Performance Analysis (IPA) analysis. The results of the research showed that most questionnaire respondents were male, 26-35 years old. Most were single and had income between 10,000-20,000 baht a month with the highest education being high school or vocational. They had working experience less than 1 year The respondents ranked level of importance for both factors at the high level. They also ranked each of the factor group at the high level. For motivation factors, they ranked in the following order: Work itself, Achievement, Responsibility, Personal growth and Recognition. For hygiene factors, they ranked in the following order: Interpersonal Relationships, Supervisors, Company Policies, Pay and Security and Working Conditions. For their satisfaction with the overall motivation factors, it was found that the respondents were satisfied at high level. They were also satisfied with each of the factor group at high level. For motivation factors, they ranked in the following order: Work itself, Achievement, Responsibility, Recognition and Personal growth. For hygiene factors, they ranked in the following order: Interpersonal Relationships, Supervisors, Company Policies, Pay and Security and Working Conditions. The results of using IPA analysis shows that there were 4 sub-factors in Quadrant A that need to be improved. There was 1 sub-motivation factor which was current work is challenging enough to enhance working experience. And there were 3 sub-hygiene factors which were clear goals and policies, supervisor is able to allocate or give proper work for the team including evaluation or assessment and providing consultation or support for employees when needed. Company should pay attention on these topics because they are important to employee but they are not satisfied yet. Management should consider improving on these topics by facilitating communication within company at all levels more and ensuring teamwork and developing the team including conducting survey on employee satisfaction. In order to increase job satisfaction, company have to work on these topics and provide improvement as soon as possible.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทดริสเซ่น เคเทอร์ริ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัดen_US
dc.title.alternativeJob satisfaction of production staff of Driessen Catering Equipment company limiteden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashความพอใจในการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิตการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashบริษัทดริสเซ่น เคเทอร์ริ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด -- พนักงาน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทดริสเซ่น เคเทอร์ริ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด โดยใช้ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก ประกอบด้วยปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ดริสเซ่น เคเทอร์ริ่ง อีควิปเม้นท์ จำกัด จำนวน 278 ราย ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย จากนั้นจะนำค่าระดับความสำคัญและความพึงพอใจมากำหนดตำแหน่งลงบนแผนภูมิ IPA เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลระดับความพึงพอใจและระดับความสำคัญด้วยเครื่องมือ IPA (Importance-Performance Analysis) ผลการศึกษาพบว่าพนักงานฝ่ายผลิตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26 ถึง 35 ปี มากที่สุด มีสถานภาพโสด มีเงินเดือนรวมค่าตอบแทนอยู่ระหว่าง 10,000 ถึง 20,000 บาท สำเร็จการศึกษาในระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และมีระยะเวลาในการทำงานในบริษัทน้อยกว่า 1 ปี ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยจูงใจในการทำงานทั้งสองปัจจัย อยู่ในระดับมาก สามารถแยกออกเป็นระดับความสำคัญต่อ กลุ่มปัจจัยจูงใจ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมาก และ เรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านเนื้องานที่ทำ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน และด้านการได้รับการยอมรับ ตามลำดับ สำหรับกลุ่มปัจจัยค้ำจุน พนักงานให้ระดับความสำคัญในระดับมาก และเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ด้านการควบคุมดูแลของหัวหน้างาน ด้านนโยบายบริษัท ด้านค่าตอบแทนและความมั่นคง และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามลำดับ สำหรับความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจในการทำงานทั้งสองปัจจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจในภาพรวมระดับมาก โดยเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านเนื้องานที่ทำ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านการได้รับการยอมรับ และ ด้านความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน ตามลำดับ และในส่วนของปัจจัยค้ำจุน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมระดับมาก โดยเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ด้านการควบคุมดูแลของหัวหน้างาน ด้านนโยบายบริษัท ด้านค่าตอบแทนและความมั่นคง และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามลำดับ การวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ IPA พบว่า พบว่ามีปัจจัยย่อยที่อยู่ใน Quadrant A มี 4 ปัจจัยย่อย โดยเป็นปัจจัยจูงใจ 1 ปัจจัยย่อย คือ งานที่ท่านปฏิบัติอยู่มีความน่าสนใจสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ในสายธุรกิจการผลิต และปัจจัยค้ำจุน 3 ปัจจัยย่อย คือ บริษัทมีนโยบายและเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน หัวหน้างานกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ลูกน้องอย่างเหมาะสม และให้ความเป็นธรรมในการประเมินผลงาน และการปรึกษาหารือเมื่อประสบปัญหาในการทำงาน ซึ่งบริษัทควรต้องให้ความสำคัญและพัฒนาปรับปรุงด้านเหล่านี้ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่พนักงานให้ความสำคัญ แต่ยังไม่ได้รับความพึงพอใจ สิ่งที่ผู้บริหารควรจะต้องทำการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนที่สุด เพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจของพนักงาน คือ การเพิ่มในส่วนของการสื่อสาร อีกทั้งเพิ่มในส่วนของการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ มีการทำแบบสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจที่พนักงานมีต่อองค์การ และหัวหน้างาน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่องไปen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
มินตรา เพ่งพิศ_631532077-.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.