Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79171
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกิจ กันจินะ-
dc.contributor.advisorรุจ ศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorแสงทิวา สุริยงค์-
dc.contributor.authorฆนากร จักรใจวงค์en_US
dc.date.accessioned2023-11-13T10:22:45Z-
dc.date.available2023-11-13T10:22:45Z-
dc.date.issued2023-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79171-
dc.description.abstractThis research aims to analyze factors affecting the job performance of village agricultural volunteers (VAVs) in Sukhothai Province and to explore the challenges and recommendations for VAV operations in this province. A structured interview was conducted with 275 VAVs. Data were analyzed by descriptive statistics, including frequency, percentage, maximum and minimum, mean, and standard deviations. Multiple regression analysis was employed to identify factors influencing VAVs' job performance. The study found that VAVs had an average age of 48.85 years, with approximately 45.5% having completed high school education. They had an average of 20.47 years of agricultural experience, cultivated an average of 28.09 rai of land, and had an average household income of 240,732.63 baht per year. Furthermore, nearly 96% of VAVs received support from government agencies, and 99.6% utilized online social media for agricultural-related knowledge. Regarding agricultural knowledge, VAVs demonstrated a high level of knowledge (x ̅= 4.22) and exhibited a high level of job performance in fulfilling their roles and responsibilities. Based on an analysis of factors influencing VAVs' job performance, it was found that training positively influenced their job performance at a 0.001 significance level. While sources of agricultural information and knowledge, and support from government agencies positively impacted job performance at a 0.05 significance level. It is recommended that the public sector and relevant public agencies should pay attention to sources of agriculture-related information, focusing on their varieties, easy access, and convenience of use. Such sources would enhance VAVs access to broader agricultural knowledge. The relevant public agencies should also emphasize knowledge provision to VAVs to operate more effectively, such as VAV-centered training programs and learning forums. In addition, they should provide the necessary tools and knowledge required for VAV operations. Policy initiatives related to compensation and legal status for VAVs should also be considered.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ในจังหวัดสุโขทัยen_US
dc.title.alternativeFactors affecting job performance of village agricultural volunteers in Sukhothai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashอาสาสมัครในงานเกษตรกรรม -- สุโขทัย-
thailis.controlvocab.thashอาสาสมัคร -- สุโขทัย-
thailis.controlvocab.thashการส่งเสริมการเกษตร -- สุโขทัย-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาชนบท -- สุโขทัย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ในจังหวัดสุโขทัย และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของ อกม. ในจังหวัดสุโขทัย โดยศึกษาจาก อกม. จำนวนตัวอย่าง 275 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด-สูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า อกม. มีอายุเฉลี่ย 48.85 ปี และประมาณครึ่งหนึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 45.5) มีประสบการณ์ทางด้านการเกษตรเฉลี่ย 20.47 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 28.09 ไร่ และมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 240,732.63 บาทต่อปี นอกจากนี้พบว่า อกม. เกือบทั้งหมด (ร้อยละ 96) ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และใช้สื่อสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 99.6) ในด้านของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ อกม. พบว่า อกม. มีความรู้ในระดับมาก (x ̅ = 4.22) และมีระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อยู่ในระดับมาก จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อกม. พบว่า การได้รับการฝึกอบรม มีผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร แหล่งความรู้ด้านการเกษตร และการได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากหน่วยงานมีผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยมุ่งเน้นให้มีความหลากหลาย เข้าถึงได้ง่าย และมีความสะดวกสบาย เพื่อให้ อกม. เข้าถึงแหล่งของข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรได้มากยิ่งขึ้น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ที่ อกม. ควรได้รับเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การอบรมให้ความรู้แก่ อกม. หรือการจัดทำเวทีการเรียนรู้ โดยยึด อกม. เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนอุปกรณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการผลักดันในเชิงนโยบายในเรื่องค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน และการกฎหมายรองรับสถานะของ อกม. ต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRO: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630832009-KANAKORN JAGJAIWONG.pdfปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ในจังหวัดสุโขทัย4.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.