Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชนิตว์ ลีนาราช-
dc.contributor.authorกนกวรรณ รุ่งรังษีen_US
dc.date.accessioned2023-10-14T06:56:28Z-
dc.date.available2023-10-14T06:56:28Z-
dc.date.issued2566-05-30-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79028-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study the roles of librarians in Thai medical libraries in three aspects: administration, technical and services as well as to study the competencies of Thai medical library librarians, consisting of knowledge, skills, and personal attributes of medical librarians. The methodology of the research consists of quantitative research and questionnaire to collect data. The population in this study were 94 medical libraries in Thailand collecting questionnaires in 86 medical libraries (80.84%). Statistics used in data analysis were percentage, average (μ), and standard deviation (S.D.). The overview results of medical librarian opinions was found that the importance of all roles was moderate (μ=3.45). For each aspect, the technical role was at a high level (μ=3.69), followed by the administrative role at a high level (μ=3.63) and the service role at a moderate level (μ=3.26). In the administration aspect, the overall mean was at a high level (μ=3.63). Collection and preparation of various statistics of libraries was at the highest level (μ=3.98), followed by coordination and public relations at a high level (μ=3.87). Policy setting, marketing planning, and operational guidelines were at a high level (μ=3.70). While budget management and seeking funding to support the work of the library were at a moderate level (μ=3.35). In terms of technical aspect, the overall mean was at a high level (μ=3.69). Auditing and preparing information resources was at the highest level (μ=4.00), followed by classification of medical books such as NLM format at a high level (μ=3.94). Purchase and procurement, selection of medical information resources both publication format electronics databases, and information technology equipment were at a high level (μ=3.91). While repair, conservation, maintenance of information resources was at the moderate level (μ=3.22). The overall average of services was at a moderate level (μ=3.26). Health information question and answer service was at a high level (μ=3.90), followed by borrow-return services and reserve medical information resources at a high level (μ=3.88), online information search services both databases and internet, such as the Select Information Service (SDI) at a high level (μ=3.87). While mobile librarian service (Meeting or visiting with medical personnel) was at a low level (μ=2.28). The overall results of medical librarian opinions was found that the importance of medical librarians' competencies was at a high level (μ=3.85). For each aspect, personal attributes of medical librarians was at the highest level (μ=4.33), followed by skills at a high level (μ=3.83), and knowledge at a high level (μ=3.62). In terms of knowledge, the overall mean was at a high level (μ=3.62). The first average was information resources at a high level (μ=3.99), followed by technical work at a high level (μ=3.90), and administration, planning and policy at a high level (μ=3.73). In terms of skills, the overall mean was at a high level (μ=3.83). The first average is communication at a high level (μ=3.97), followed by computers and technology at a high level (μ=3.90), and leadership at a high level (μ=3.88). In terms of personal attributes of medical librarians, the overall mean was at a high level (μ=4.33). The first average is honesty and accuracy at a high level (μ=4.49), followed by positive attitude at a high level (μ=4.30), and open-minded and new ideas of other people at a high level (μ=4.29).en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสมรรถนะen_US
dc.subjectบรรณารักษ์ด้านการแพทย์en_US
dc.subjectห้องสมุดด้านการแพทย์en_US
dc.titleสมรรถนะของบรรณารักษ์ห้องสมุดด้านการแพทย์ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeCompetency of medical librarians in Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashบรรณารักษ์ -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashสมรรถนะ-
thailis.controlvocab.thashการบริหารห้องสมุด-
thailis.controlvocab.thashห้องสมุดแพทย์-
thailis.controlvocab.thashห้องสมุดโรงพยาบาล-
thailis.controlvocab.thashห้องสมุดสาธารณสุข-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทบรรณารักษ์ห้องสมุดด้านการแพทย์ของไทย ใน 3 ด้าน คือ ด้านการบริหาร ด้านงานเทคนิค และด้านบริการ และศึกษาสมรรถนะของบรรณารักษ์ห้องสมุดทางด้านการแพทย์ของไทย ประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะส่วนบุคคลของบรรณารักษ์ห้องสมุดด้านการแพทย์ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูล ประชากรในการศึกษาครั้งนี้จึงได้แก่ ห้องสมุดทางด้านการแพทย์ในประเทศไทย จำนวน 94 แห่ง รวบรวมแบบสอบถามได้จำนวน 86 แห่ง (ร้อยละ 80.84) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาความเห็นของบรรณารักษ์ห้องสมุดด้านการแพทย์ พบว่าในภาพรวมให้ความสำคัญกับบทบาททุกด้านค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (μ=3.45) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ บทบาทด้านเทคนิค ระดับมาก (μ=3.69) รองลงมาคือ บทบาทด้านบริหาร ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=3.63) และด้านที่ค่าเฉลี่ยถัดมา คือ บทบาทด้านบริการ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (μ=3.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริหาร ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=3.63) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยบทบาท รายด้านพบว่า ด้านที่ได้ค่าเฉลี่ยภาพรวมสูงสุดคือ การรวบรวมและการจัดทำสถิติต่าง ๆของห้องสมุด ในระดับมาก (μ=3.98) รองลงมา คือ การประสานงานและการประชาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.87) และถัดมา คือ การกำหนดนโยบาย การวางแผนการตลาด และแนวทางในการปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.70) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การบริหารงบประมาณ การหาทุนสนับสนุนการทำงานของห้องสมุด ค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (μ=3.35) ด้านเทคนิค ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=3.69) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยอันดับแรกคือ การตรวจรับและจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=4.00) รองลงมา คือ การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ เช่น รูปแบบ NLM ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.94) และถัดมาอันดับสาม คือ จัดซื้อ จัดหา คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศทางด้านการแพทย์ทั้งรูปแบบสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.91) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การซ่อม อนุรักษ์ บำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ ค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (μ=3.22) ด้านบริการในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (μ=3.26) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยอันดับแรกคือ บริการตอบคำถามสารสนเทศทางสุขภาพ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.90) รองลงมา คือ บริการยืม-คืน จองทรัพยากรสารสนเทศทางด้านการแพทย์ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.88) และถัดมา คือ บริการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ทั้งฐานข้อมูลและสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต เช่น บริการคัดสรรสารสนเทศ (SDI) ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.87) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ บริการบรรณารักษ์เคลื่อนที่ (การเข้าร่วมประชุมหรือออกตรวจผู้ป่วยกับบุคลากรทางด้านการแพทย์) ค่าเฉลี่ยระดับน้อย (μ=2.28) ผลการศึกษาความเห็นของบรรณารักษ์ห้องสมุดด้านการแพทย์พบว่า ในภาพรวมให้ความสำคัญกับสมรรถนะของบรรณารักษ์ด้านการแพทย์อยู่ในระดับมาก (μ=3.85) เมื่อพิจารณารายสมรรถนะพบว่า ทั้ง 4 กลุ่มให้ความสำคัญกับสมรรถนะทั้ง 3 ด้านในระดับมาก ซึ่งพบว่า ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลได้ค่าเฉลี่ยสูงสุด ระดับมาก (μ=4.33) รองลงมาคือ ด้านทักษะค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.83) และอันดับสาม คือ ด้านความรู้ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้ ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=3.62) เมื่อพิจารณาภาพรวมรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยอันดับแรก คือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.99) รองลงมาคือ ด้านงานเทคนิค ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.90) และอันดับถัดมาคือ ด้านการบริหาร การวางแผน และนโยบาย ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.73) ด้านทักษะ ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=3.83) เมื่อพิจารณาภาพรวมรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยอันดับแรก คือ ด้านการสื่อสาร ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.97) รองลงมาคือ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.90) และอันดับถัดมาคือ ด้านการเป็นภาวะผู้นำ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=3.88) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=4.33) เมื่อพิจารณาภาพรวมรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยอันดับแรก คือ ด้านความซื่อสัตย์ และการยึดมั่นในความถูกต้อง ค่าเฉลี่ยระดับมาก (μ=4.49) รองลงมาคือ ด้านทัศนคติเชิงบวก ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=4.30) และอันดับถัดมาคือ ด้านการเปิดรับแนวคิดใหม่และความคิดเห็นของผู้อื่น ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=4.29)en_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610132005-กนกวรรณ รุ่งรังษี.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.