Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริรัตน์ ปานอุทัย-
dc.contributor.advisorเดชา ทำดี-
dc.contributor.authorพิชญา วงค์ขัดนนท์en_US
dc.date.accessioned2023-10-11T11:21:59Z-
dc.date.available2023-10-11T11:21:59Z-
dc.date.issued2566-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79019-
dc.description.abstractPromoting health literacy are important for older persons with hypertension leading to appropriate self-management. This experimental research aimed to investigate the effect of PITS-based education to enhance health literacy on self – management among older persons with hypertension. The participants were older persons with hypertension attending three sub-district health promoting hospitals in Phayao province. Fifty – four participants were randomly selected and 27 participants were equally assigned into either the control or the experimental group. The experimental group was given group education four times, twice a week and one session for individual education. A total of five educational sessions were conducted in three weeks. The control group was given routine care. The research instruments used in this study were a teaching plan, the health literacy manual for older persons with hypertension, a hypertension disease video, an understanding personal perception scale, and a health literacy for older persons with hypertension questionnaire. The collecting data tools used in this study were a demographic and illness data recording form and self – management behavior for older persons with hypertension questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics, independent t – test and dependent t – test. The results showed that the mean score for self-management of older persons with hypertension receiving PITS-based education was higher than that for those receiving routine care (p < .01), and higher than before, at a significant level (p < .01). The results of this study indicate that PITS-based education can enhance health literacy and self-management among older persons with hypertension. Health care professionals can apply this education to enhance self-management for this group.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการให้ความรู้ตามหลักพิตส์en_US
dc.subjectการจัดการตนเองen_US
dc.subjectการดูแลตามปกติen_US
dc.subjectผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectPITS-based educationen_US
dc.subjectself-managementen_US
dc.subjectroutine careen_US
dc.subjectolder persons with Hypertensionen_US
dc.subjectolder personsen_US
dc.titleผลของการให้ความรู้ตามหลักพิตส์เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ต่อการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.title.alternativeEffect of PITS-based education to enhance health literacy on self-management among older persons with hypertensionen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการจัดการตนเอง (จิตวิทยา)-
thailis.controlvocab.thashความดันเลือดสูง-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การดูแล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองมีความสำคัญต่อผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้ตามหลักพิตส์เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำป่าหวาย ตำบลบ้านต๋อม และตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 54 ราย และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 27 ราย กลุ่มทดลองได้รับการให้ความรู้แบบกลุ่ม จำนวน 4 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และการให้ข้อมูลรายบุคคลจำนวน 1 ครั้ง รวมการให้ความรู้ทั้งหมด 5 ครั้ง ระยะเวลา 3 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพ สื่อวีดิทัศน์การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง แบบตรวจสอบความเข้าใจ และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีแบบอิสระ และการทดสอบ ทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับ การให้ความรู้ตามหลักพิตส์มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) และมากกว่าก่อนได้รับการให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้ตามหลักพิตส์ส่งผลให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงดีขึ้น ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถ นำรูปแบบการให้ข้อมูลตามหลักพิตส์ไปใช้เพื่อการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231111 พิชญา วงค์ขัดนนท์ - WM.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.