Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78875
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorLinchong Pothiban-
dc.contributor.advisorJutarat Mesukko-
dc.contributor.advisorSrimana Niyomkar-
dc.contributor.authorVatinee Sanyoden_US
dc.date.accessioned2023-09-15T01:06:42Z-
dc.date.available2023-09-15T01:06:42Z-
dc.date.issued2017-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78875-
dc.description.abstractChronic diseases in children is a major worldwide health problem that requires longer hospitalization. Children with chronic diseases generally are suffering from the disease and its treatment. Most care for children with chronic diseases will be provided at home by family members, particularly by their parents. This descriptive correlational predictive study aimed to examine factors predicting parent participation in caring for hospitalized children with chronic diseases. The factors being investigated consisted of parents’ perceived self-efficacy in caring of their hospitalized child, information support from health care providers, communication between parents and nurses, the attitude of nurses toward parent participation, and nurse’s knowledge of parent participation. Schepp’s concept of parent participation (1995) was used to guide the study. The participants consisted of 234 parents of the children with chronic diseases and 125 nurses in four tertiary hospitals in central Thailand. Data were collected using questionnaires including 1) the Parent Participation Scale (PPS), 2) the Maternal Perceived Self-efficacy Scale (MPSS), 3) the Information Support Scale (ISS), 4) the Health Communication Assessment Tool (HCAT), 5) Families’ Importance in Nursing Care-Nurses Attitudes (FINC-NA), and 6) Nurse’s knowledge of Parent Participation Scale (NPPS) developed by the researcher. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman-rank correlation, and ordinal logistic regression. The results of study 1. Parent participation was at high level. When considering each aspect of care, participation in routine care, technical care and information sharing were at high level, while decision-making was at a moderate level. The parents’ perceived self-efficacy in caring for hospitalized child, information support from health care providers, and communication between parents and nurses were at a high level. For nurses, attitude towards parent participation and knowledge of parent participation were at high level. 2. There was a significantly moderately positive relationship between parent participation in caring for hospitalized children with chronic diseases and perceived self efficacy in caring of hospitalized child (r = .39, p < .01), information support from health care providers (r = .34, p < .01), and communication between parents and nurse (r = .39, p < .01). 3. Parents’ perceived self-efficacy in caring of hospitalized child was the only significant predictor of parent participation in caring for hospitalized children with chronic diseases accounting for 72.65% of the parent participation in caring for hospitalized children with chronic diseases (p < .001). The results from this study can be used as the preliminary data for developing an effective intervention program for enhancing parent participation in caring for hospitalized children with chronic diseases.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleFactors predicting parent participation in caring for hospitalized children with chronic diseasesen_US
dc.title.alternativeปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshChild care-
thailis.controlvocab.lcshChronically ill -- Care-
thailis.controlvocab.lcshParent and child-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractโรคเรื้อรังในเด็กเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญทั่วโลกที่ทำให้จำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน เด็กป่วยได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคและการตรวจรักษา เด็กป่วยเรื้อรังส่วนใหญ่จะได้รับการดูแลที่บ้านโดยสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะบิดามารดา การศึกษาเชิงทำนายนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำนายการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคเรื้อรัง ปัจจัยที่ทำการศึกษาประกอบด้วย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาล การสนับสนุนข้อมูลจากทีมสุขภาพ การสื่อสารระหว่างบิดามารดาและพยาบาล ทัศนคติของพยาบาลต่อการมีส่วนร่วมของบิดามารดาและความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของบิดามารดา โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของบิดามารดาของเชปป์ เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย บิดามารดาของเด็กป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 234 คนและพยาบาลจำนวน 125 คน จากโรงพยาบาลตติยภูมิในภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 4 แห่ง การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของบิดามารดาของณิชกานต์ ไชยชนะ และคณะ 2) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ พรศิริ ใจสม 3) แบบสอบถามการสนับสนุนข้อมูลของจริยา สามิตร 4) เครื่องมือประเมินการสื่อสารด้านสุขภาพของ ปากาโน และคณะ 5) ความสำคัญของครอบครัวต่อการพยาบาล-ทัศนติของพยาบาลวิชาชีพของ เบนเซน และคณะ และ 6) แบบสอบถามความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของบิดามารดาสร้างขึ้นโดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และการถดถอยเชิงอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของบิดามารดาโดยรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อแยกตามรายด้านพบว่ามีส่วนร่วม ในกิจวัตรประจำวัน กิจกรรมการพยาบาลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง บิดามารดามีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลเด็กป่วย ในโรงพยาบาล การสนับสนุนข้อมูลจากทีมสุขภาพ และการสื่อสารระหว่างบิดามารดาและพยาบาล อยู่ในระดับสูง สำหรับพยาบาล ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมของบิดามารดาและความรู้เกี่ยวกับการมี ส่วนร่วมของบิดามารดาอยู่ในระดับสูง 2. การมีส่วนร่วมของบิดามารคาในการดูแลเด็กป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ ทางด้านบวกในระดับปานกลางกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลเด็กป่วย (r = .39, p < .01), การสนับสนุนข้อมูลจากทีมสุขภาพ (r = .34, < .01) และการสื่อสารระหว่างบิดามารดาและ พยาบาล (r = .39, p < .01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาลสามารถทำนายการมีส่วน ร่วมของบิดามารดาในการดูแลด็กป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการ รับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นปัจจัยตัวเดียวที่สามารถทำนาย ร้อยละ 72.65 ของการมีส่วนร่วมของบิดา มารดาในการดูแลเด็กป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล (p <.001) ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาการจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบิดามารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคเรื้อรังต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
531251005 วาร์ธินีย์ แสนยศ.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.