Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78847
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชญลักษณ์ พิชญกุล-
dc.contributor.authorณัฐภาส ปันชัยen_US
dc.date.accessioned2023-09-11T01:03:50Z-
dc.date.available2023-09-11T01:03:50Z-
dc.date.issued2023-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78847-
dc.description.abstractThis independent study aims to examine employee job satisfaction of Bangkok Commercial Asset Management Public Company Limited. The questionnaire was used as a tool to collect data from 1,310 employees. The analysis was based on Herzberg’s Two-Factor Theory consists of Motivation Factor and Maintenance or Hygiene Factor. Motivation Factor consists of achievement, recognition, advancement, work itself and responsibility. Maintenance or Hygiene Factor consists of company policy and administration, supervision, interpersonal relations with supervision, interpersonal relations with peers, interpersonal relations with subordinators, status, job security, personal life, working conditions, compensations and welfares. The data acquired from the questionnaire was analyzed by descriptive statistics including frequency, percentage, standard deviation and satisfaction using the Importance-Performance Analysis (IPA) by divided into 4 Quadrants ( A, B, C, D ). The result showed that the most questionnaire were female, 31 – 35 years old, graduated with a master's degree, average monthly income of 15,001 to 25,000 Baht, take a position of Officer 5 / Lawyer 5. The most of which have a working period of 3 - 5 years, and had experience working at other places before. Most research participants give precedence to operate with the Motivation and Maintenance or Hygiene Factors. Overall, the result was in high level. From IPA analysis of Motivation Factor, it was found that achievement and responsibility were in Quadrant A (It is important to job satisfaction, but it has not received a good response. It should be given high priority for rapid improvement in this aspect.), work itself was in Quadrant B (It is important to job satisfaction, and it has received good responses. It should be maintained at this level.) recognition and advancement were in Quadrant C (It has little importance for job satisfaction, and it has not received good responses. It can be improved later on.) For Maintenance or Hygiene Factor, found that the compensations and welfares were in Quadrant A(It is important to job satisfaction, but it has not received a good response. It should be given high priority for rapid improvement in this aspect.), job security was in Quadrant B (It is important to job satisfaction, and it has received good responses. It should be maintained at this level.), company policy and administration, supervision, interpersonal relations with supervision, interpersonal relations with peers, interpersonal relations with subordinators personal life were in Quadrant C (It has little importance for job satisfaction, and it has not received good responses. It can be improved later on.), status and working conditions were in Quadrant D (It has little importance for job satisfaction, but it has received good responses. It should reduce the emphasis on this aspect.).en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.subjectการทำงานของบุคลากรบริษัทบริหาร สินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)en_US
dc.titleความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรบริษัทบริหาร สินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)en_US
dc.title.alternativeEmployee job satisfaction of Bangkok Commercial Asset Management Public Company Limiteden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)-
thailis.controlvocab.thashความพอใจในการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashพนักงานบริษัท-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาในการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด 1,310 คน ทฤษฎีที่ใช้ในส่วนของความพึงพอใจ คือ ทฤษฎี 2 ปัจจัย ของ Frederick K. Herzberg ประกอบไปด้วยปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยตัวกระตุ้นในการทำงาน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านลักษณะงานที่ทำ และด้านความรับผิดชอบ และปัจจัยอนามัยหรือปัจจัยที่ช่วยลดความไม่พอใจในการทำงาน ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหารขององค์กร ด้านการบังคับบัญชาและการควบคุม ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านตำแหน่งงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านชีวิตส่วนตัว ด้านสภาพการทำงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสำคัญ และความพึงพอใจโดยใช้ เครื่องมือ Importance-Performance Analysis (IPA) โดยแบ่งเป็น 4 Quadrants ( A, B, C, D ) จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-35 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 15,001 – 25,000 บาท ดำรงตำแหน่งงานเจ้าหน้าที่ 5 / นิติกร 5 ซึ่งส่วนใหญ่มีระยะเวลาปฏิบัติงาน 3 – 5 ปี และเคยปฏิบัติงานที่อื่นมาก่อนเข้าปฏิบัติงานที่บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในการทำงานต่อปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยตัวกระตุ้นในการทำงานและปัจจัยอนามัยหรือปัจจัยที่ช่วยลดความไม่พอใจในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความพึงพอใจในการทำงานต่อปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยตัวกระตุ้นในการทำงานและปัจจัยอนามัยหรือปัจจัยที่ช่วยลดความไม่พอใจในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และการวิเคราะห์ IPA พบว่า ปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยตัวกระตุ้นในการทำงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านความรับผิดชอบ อยู่ใน Quadrant A (มีความสำคัญต่อความพึงพอใจในการทำงาน แต่ยังไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว) ด้านลักษณะงานที่ทำ อยู่ใน Quadrant B (มีความสำคัญต่อความพึงพอใจในการทำงาน และได้รับการตอบสนองที่ดี ควรที่จะรักษาระดับนี้ไว้ ) และด้านการได้รับการยอมรับ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน อยู่ใน Quadrant C (มีความสำคัญน้อยต่อความพึงพอใจในการทำงาน และยังไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี สามารถปรับปรุงภายหลังได้) ส่วนปัจจัยอนามัยหรือปัจจัยที่ช่วยลดความไม่พอใจในการทำงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ อยู่ใน Quadrant A(มีความสำคัญต่อความพึงพอใจในการทำงาน แต่ยังไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว) ด้านความมั่นคงในการทำงาน อยู่ใน Quadrant B (มีความสำคัญต่อความพึงพอใจในการทำงาน และได้รับการตอบสนองที่ดี ควรที่จะรักษาระดับนี้ไว้ ) ด้านนโยบายและการบริหารขององค์กร ด้านการบังคับบัญชาและการควบคุม ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านชีวิตส่วนตัว อยู่ใน Quadrant C (มีความสำคัญน้อยต่อความพึงพอใจในการทำงาน และยังไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี สามารถปรับปรุงภายหลังได้) และด้านตำแหน่งงาน ด้านสภาพการทำงาน อยู่ใน Quadrant D (มีความสำคัญน้อยต่อความพึงพอใจในการทำงาน แต่ยังได้รับการตอบสนองที่ดี ควรลดการตอบสนองในส่วนนี้)en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ณัฐภาส นันชัย_631532053.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.