Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78834
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาลินี สุวรรณยศ-
dc.contributor.advisorหรรษา เศรษฐบุปผา-
dc.contributor.authorปาลิดา พละศักดิ์en_US
dc.date.accessioned2023-09-10T06:41:33Z-
dc.date.available2023-09-10T06:41:33Z-
dc.date.issued2566-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78834-
dc.description.abstractThe problem of amphetamine abuse is a serious global issue, which leads to inappropriate behavior problems and negatively impacts physical and, mental health, families, societies, and nations. In this quasi-experimental research, two groups were measured before and after an experiment. The objective of this study was to study the effect of live modeling on amphetamine use behaviors among patients with amphetamine use disorders. The sample included 40 participants split equally into either an experimental group or a control group using basic random sampling and drawing lots. The research instruments utilized were as follows: 1) a personal information questionnaire; 2) the Alcohol, Smoking and Substance Involvement Screening Test-Amphetamine-type Stimulants (The ASSIST-ATS); and 3) live modeling, which was developed by the researcher based on Bandura’s concept (1986). The study consisted of six sessions, with each session lasting 45-60 minutes, conducted twice a week. Descriptive statistics, dependent t-tests, and independent t-tests were used for data analysis. The research findings revealed the following: 1. The mean scores of amphetamine use behaviors among the experimental group at one month after treatment (x ̅=19.15, SD = 6.57) were significantly lower than before treatment (x ̅=29.90, SD=2.25) (p<.05). 2. The mean scores of amphetamine use behaviors among the experimental group one month after treatment (x ̅=19.15, SD=6.57) were significantly lower than those of the control group (x ̅=27.20, SD = 4.46) (p<.05). These results indicate that live modeling could effectively reduce amphetamine use behaviors. Therefore, it is recommended that live modeling be implemented as an intervention for patients with amphetamine use disorder to mitigate amphetamine use behaviors.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเสนอตัวแบบจริงen_US
dc.subjectพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนen_US
dc.subjectผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนen_US
dc.titleผลของการเสนอตัวแบบจริงต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนen_US
dc.title.alternativeEffect of live modeling on amphetamine use behaviors among patients with amphetamine use disordersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashแอมฟิตะมิน -- ผลข้างเคียง-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย--พฤติกรรม-
thailis.controlvocab.thashแอมฟิตะมิน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractปัญหาการใช้สารแอมเฟตามีนเป็นปัญหาที่สำคัญระดับโลก ก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสนอตัวแบบจริงต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน โดยการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบคัดกรองประสบการณ์การใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีน (ASSIST - ATS) และ 3) การเสนอตัวแบบจริง ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของแบนดูรา (Bandura, 1986) ประกอบด้วยการบำบัด 6 ครั้ง ครั้งละ 45 - 60 นาที จำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนของกลุ่มทดลอง ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัด (x ̅ = 19.15, SD = 6.57) ต่ำกว่าก่อนได้รับการบำบัด (x ̅ = 29.90, SD = 2.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีน ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัดของกลุ่มทดลอง (x ̅ = 19.15, SD = 6.57) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (x ̅ = 27.20, SD = 4.46) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบำบัดด้วยการเสนอตัวแบบจริงสามารถลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนได้ จึงควรมีการนำการบำบัดด้วยการเสนอตัวแบบจริงไปใช้ในการลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.