Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78781
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาลินี สุวรรณยศ-
dc.contributor.advisorหรรษา เศรษฐบุปผา-
dc.contributor.authorสาวิตรี ศตคุณากรen_US
dc.date.accessioned2023-09-08T01:14:46Z-
dc.date.available2023-09-08T01:14:46Z-
dc.date.issued2566-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78781-
dc.description.abstractThe number of patients with amphetamine use disorders (PAUD) admitted to hospitals is increasing. Amphetamine addiction affects the user, families, communities, and nations. This quasi-experimental design research aimed to study the effect of the empowerment enhancement program on amphetamine use behaviors among PAUD. The sample consisted of 24 PAUD in the inpatient department at Suan Prung Psychiatric Hospital, Chiang Mai Province. The instruments consisted of 1) personal information questionnaires; 2) the Alcohol, Smoking and Substance Involvement Screening Test – Amphetamine-type Stimulants (The ASSIST-ATS); and 3) the Empowerment Enhancement Program on Amphetamine Use Behaviors Among PAUD developed by the researcher based on 4 steps of Gibson's empowerment concept (Gibson, 1995). The program had 6 activities 1 step per week, 60 minutes per activity, and a total duration of 4 weeks. Data were analyzed using descriptive statistics mean, dependent t-test, and independent t-test. The results of the research revealed that: 1. The mean score of amphetamine use behavior of the experimental group in the one-month period after receiving the program (x ̅=19.92, SD = 6.74) was lower than the Empowerment Enhancement Program on Amphetamine Use Behaviors Among Patients with Amphetamine Use Disorders (x ̅=28.50, SD = 6.21) with statistical significance (p < .01). 2. The mean score of amphetamine use behavior of the experimental group in the one-month period after receiving the Empowerment Enhancement Program on Amphetamine Use Behaviors Among Patients with Amphetamine Use Disorders (x ̅=19.92, SD = 6.74) was lower than that of the control group (x ̅=27.08, SD = 4.54) with statistical significance (p < .05). The results of this study demonstrated that the Empowerment Enhancement Program on Amphetamine Use Behaviors can reduce amphetamine use behaviors among PAUD. Therefore, this program should be used to empower PAUD and help them reduce amphetamine use behaviors.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนen_US
dc.title.alternativeEffect of the empowerment enhancement program on Amphetamine use behaviors among patients with amphetamine use disordersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashแอมฟิตะมิน-
thailis.controlvocab.thashแอมฟิตะมิน -- ผลข้างเคียง-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย--พฤติกรรม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการใช้สารแอมเฟตามีนที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตมีแนวโน้มสูงขึ้น การเสพสารแอมเฟตามีนส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้เสพเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสวนปรุง จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบคัดกรองประสบการณ์การใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีน (ASSIST-ATS) 3) โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีน ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน 4 ขั้นตอน (Gibson, 1995) โดยดำเนินกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ขั้นตอน ใช้เวลากิจกรรมละ 60 นาที รวมทั้งหมด 6 กิจกรรม รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที ชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่าที ชนิด 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนของกลุ่มทดลองในระยะ 1 เดือน หลังได้รับโปรแกรม (x ̅ =19.92, SD = 6.74) ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน (x ̅=28.50, SD = 6.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2. ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนของกลุ่มทดลองในระยะ 1 เดือน หลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน (x ̅=19.92, SD = 6.74) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (x ̅=27.08, SD = 4.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน สามารถเพิ่มพลังอำนาจ และลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนได้ จึงควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231145- สาวิตรี ศตคุณากร.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.