Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเดชา ทำดี-
dc.contributor.advisorณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์-
dc.contributor.authorทักษพร ฟูปิงen_US
dc.date.accessioned2023-08-19T08:40:46Z-
dc.date.available2023-08-19T08:40:46Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78661-
dc.description.abstractHealth literacy is a factor in helping many older persons with dyslipidemia manage themselves more effectively. This descriptive study’s objective was to study health literacy, self-management, and the association between health literacy and self-management among older persons with dyslipidemia. The 82 participants in this study were older persons with dyslipidemia who visited Lanna hospitals in Chiang Mai province during August to October 2022, and they were selected using simple random sampling. The research instruments used in this study included a demographic and illness data recording form, and questionnaires for health literacy and self-management of older persons with dyslipidemia. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product-moment correlation. The results showed that older persons with dyslipidemia had high levels of health literacy and self-management. Health literacy was statistically positive correlated with self-management at a high level (r = .746) at p < .01. The results of this study can be used as database information for health care professionals who look after older persons with dyslipidemia in order to support self-management through enhancing health literacy.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติen_US
dc.title.alternativeHealth literacy and self-management in older persons with dyslipidemiaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความรอบรู้ทางสุขภาพ-
thailis.controlvocab.thashไขมันในเลือด-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต-
thailis.controlvocab.thashการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ จัดการตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ การจัดการตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ที่เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลลานนา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 82 ราย ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ใน การรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความเจ็บป่วย แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองอยู่ในระดับสูง ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในระดับสูง (r = .746) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .01 ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ในการสนับสนุนการจัดการตนเองผ่านการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231127- ทักษพร ฟูปิง WM.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.