Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78573
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลวดี อภิชาติบุตร-
dc.contributor.advisorบุญพิชชา จิตต์ภักดี-
dc.contributor.authorนภาภรณ์ ไชยยะen_US
dc.date.accessioned2023-07-24T14:13:53Z-
dc.date.available2023-07-24T14:13:53Z-
dc.date.issued2021-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78573-
dc.description.abstractความขัดแย้งระหว่างงานและครอบครัวมีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาล โรงพยาบาล และ ครอบครัว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวที่มี สาเหตุจากงานรบกวนครอบครัวและครอบครัวรบกวนงาน และเปรียบเทียบความขัดแย้งระหว่างงาน กับครอบครัวจำแนกตามการหมุนเวียนการปฏิบัติงาน และแผนกที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างใน การศึกษาครั้งนี้เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในการให้บริการแก่ผู้ป่วยโดยตรงใน 10 งานการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบวัดความ ขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวแบบหลายมิติ (Carlson et al, 2000) ทำการแปลย้อนกลับโดย พัชรินทร์ เขตประทุม (2563) ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ้าของครอนบาคความขัดแย้งระหว่างงานกับ ครอบครัวรูปแบบงานรบกวนครอบครัวที่มีสาเหตุจากเวลาเท่ากับ .99 ที่มีสาเหตุจากความเครียด เท่ากับ .83 ที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมเท่ากับ .89 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ้าของครอนบาคความขัดแย้ง ระหว่างงานกับครอบครัวรูปแบบครอบครัวรบกวนงานที่มีสาเหตุจากเวลาเท่ากับ 90 ที่มีสาเหตุจาก ความเครียดเท่ากับ .84 และที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบความขัดแงระหว่างงานกับครอบครัวตามการหมุนเวียนการปฏิบัติงาน และแผนกที่ ปฏิบัติงานโดยใช้การทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่า 1. พยาบาลมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวที่มีสาเหตุจากงานรบกวนครอบครัวใน ระดับปานกลาง (X = 2.74, SD = 0.67) และมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวที่มีสาเหตุจาก ครอบครัวรบกวนงานในระดับน้อย (X = 2.06, SD = 0.64) 2. พยาบาลที่ปฏิบัติงานหมุนเวียนในเวรเช้า บ่าย ดึก มีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว ที่มีสาเหตุจากงานรบกวนครอบครัวมากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานเฉพาะเวรเช้าอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 (U = 7917.00 p -.0)ามยน 3. พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในมีความขัดแช้งระหว่างงานกับครอบครัวที่มีสาเหตุ จากงานรบกวนครอบครัวมากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยนอกและฉุกเฉินอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (U = 5971.500, p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางให้พยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลในการวางแผนลด ความขัดแย้งระหว่างงานและครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานที่ดีของพยาบาลต่อไปen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeWork-family conflict of nurses in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashความขัดแย้ง (จิตวิทยา)-
thailis.controlvocab.thashการทำงานและครอบครัว-
thailis.controlvocab.thashครอบครัว-
thailis.controlvocab.thashพยาบาล -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractWork-family conflicts affect nurses' performance, hospitals, and families. The purposes of this study were to determine the level of work-family conflict caused by work interference with family and family interference with work and to compare conflicts between work and family classified by work shift and the departments. The study sample consisted of 376 nurses who provide direct care to patients in 10 nursing departments, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. The study instrument was the Carlson's Multidimensional Work-Family Conflict Scale (Carlson et al., 2000) which was back- translated into Thai by Patcharin Ketpratum (2020). The Cronbach's alpha coefficients of work-family conflict regarding work interference with family were as follows: caused by time, .99; caused by stress, .83; and caused by behavior, .89. The Cronbach's alpha coefficients of work-family conflict regarding family interference with work were as follows: caused by time, .90; caused by stress, .84; and caused by behavior, .91. Data were analyzed using descriptive statistics. The comparison of Work-Family Conflict based on work shift and departments used Mann-Whitney U test. The results showed that: 1. Nurses had a moderate level of work-family conflict regarding work interference with family (X = 2.74, SD = 0.67) and a low level of work-family conflict regarding family interference with work (X = 2.06, SD = 0.64). 2. Nurses working on rotation shifts had work-family conflicts regarding work interference with family more than nurses who worked only on the morning shift with a statistically significant level of 0.01 (U = 7917.00, p = .001). 3. Nurses working in inpatient departments had work-family conflicts regarding work interference with family more than nurses working in outpatient and emergency departments with the statistical significance of 0.05 (U = 5971.500, p= .022). The results of this study provide a guideline for nursing administrators in planning to reduce work-family conflicts. This will lead to an improvement in quality of life and efficient performance among nurses.en_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231046 นภาภรณ์ ไชยยะ.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.