Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSaowaluck Yammuen-Art-
dc.contributor.advisorTossapol Moonmanee-
dc.contributor.advisorChirawath Phatsara-
dc.contributor.authorPatipan Hnokaewen_US
dc.date.accessioned2023-07-03T00:44:19Z-
dc.date.available2023-07-03T00:44:19Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78273-
dc.description.abstractThe objectives of this study were to optimize methodology for producing UV-B irradiated vitamin D enrich yeast, measure vitamin D concentration of rumen fluid supplemented with UV-B irradiated vitamin D enrich yeast at incubation for 24 hours and optimize concentration of UV-B irradiated vitamin D enrich yeast in dairy cow diet. The study was divided into 2 parts including vitamin D enrich yeast production and vitamin D enrich milk production in dairy cows. For vitamin D enrich yeast production, Baker’s yeast strain was tested in YPD broth media by exposing them to different UV-B irradiations for 0, 2, 4, 8, 10, 12, 16 and 24 hours. This study found that UV-B irradiation of all treated yeast enhanced the amount of vitamin D2 and the maximum amount of vitamin D2 at 10 hours (8,409,277.11±9,336 vs. 70.5±7.3 IU/100g DM) was significantly different (P <0.05). For vitamin D production comparison of two yeast strains, Baker’s yeast and S. cerevisiae were treated at 0, 2, 4, 8, 10, 12, 16 and 24 hours in an UV-B irradiation chamber in YM broth media. The result showed that the UV-B irradiation of both yeast strains could significantly enhance vitamin D2 to the highest amount at 16 hours compared to yeast without UV-B irradiation (3,623,174.08±7,331 vs. 814.49±58 IU/100g DM, and 2,437,194.38±5,508 vs. 1,569.87±37 IU/100g DM, respectively). The Baker’s yeast specimens revealed significantly increased amounts of vitamin D2 that were higher than S. cerevisiae after 16 hours of UV-B irradiation (P < 0.05). The UV-B irradiated Baker’s yeast was determined in vitro nutrient digestibility and vitamin D degradation in the rumen. The corn stover and TMR were used as experimental diet for determination of in vitro nutrient digestibility and vitamin D degradation in the rumen, which included three treatments that involved each type of feed, namely feedstuffs without yeast supplementation (Control), feedstuffs with live yeast supplementation (Yeast), and feedstuffs with UV-B irradiated vitamin D enriched yeast supplementation (UV-B Yeast). Gas accumulation of the live yeast supplementation group and the UV-B irradiated vitamin D enriched yeast supplementation group at 12, 24, 48, 72, and 96 hours of incubation time, were significantly higher than those of the control groups for both types of feedstuffs (P<0.05). At 24 hours of incubation time, the amounts of acetic acid and propionic acid in the live yeast supplementation group and the UV-B irradiated vitamin D-enriched yeast supplementation group were significantly higher than those in the control groups for both types of feedstuffs (P<0.05). The vitamin D content losses of the vitamin D enriched yeast supplementation groups were significantly lower than those of the commercial vitamin D groups (P<0.05). For vitamin D enrich milk production was divided into 2 experiments. In the first experiment to evaluate the effects of UV-B irradiated enrich yeast on milk production performance in dairy farm condition, twenty-seven Holstein-Friesian cows (8.6±1.4 kg/day), and body weight (BW; 540.0±30.0 kg) were assigned and analyzed using completely randomized design (CRD). There were divided into 3 treatments (7 days of preliminary and 21 days of collection periods). All of the treatments were fed with TMR which each group fed with different feed additive, including (1) TMR without yeast supplementation (CON), (2) TMR with 1.6 g/day non UV-B irradiation yeast (Non UV-B IY), and (3) TMR with 1.6 g/day UV-B irradiated vitamin D enrich yeast (200,000 IU/day; UV- B IVDRY). Milk yield was recorded every day, milk and blood samples were collected on days 0, 7, 14 and 21 of collection periods for milk composition and blood metabolites analysis. This study found that milk fat in the UV-B IVDRY group at day 14 was significantly higher than on day 0 of the experimental period (5.67 vs. 4.52%; P<0.05). UV-B irradiated enrich yeast supplementation had no effect on blood chemistry profiles in dairy cows. In the second experiment to evaluate the effects of UV-B irradiated enrich yeast on milk production performance and vitamin D content in milk, six Thai Friesian cows in the second lactation were grouped according to milk production (11.2 ± 2.0 kg/day), and body weight (BW; 415.0 ± 20.0 kg), were used in a replicated 3 x 3 Latin square design, with three treatments and three periods. Each period had a 49-day duration, where the first 14 days of each period were for adaptation to the diets, and the last 35 days were for data and sample collection. They were randomly allocated to one of three treatments: (1) basal diet without yeast (CON), (2) basal diet with 5 g of live yeast (LY), and (3) basal diet with 5 g of UV-B irradiated vitamin D enriched yeast (VDY; 150,000 IU/head/day of vitamin D2). Milk production was recorded daily, milk sample collection occurred on days 14 and 35 of each collection period, and blood plasma was collected on days 0, 7, 14, 21, 28, and 35 of each collection period. At 14 and 35 days of the collection period, dairy cows from the LY and VDY groups had milk lactose levels significantly higher than the CON group (4.37, 4.38 vs. 4.28 %, and 4.33, 4.34 vs. 4.23 %, respectively), and the VDY group had significantly higher vitamin D content in milk than the LY and CON groups (376.41 vs. 305.15, 302.14 ng/L and 413.46 vs. 306.76, 301.12 ng/L, respectively). Furthermore, dairy cows fed the VDY group had significantly higher 25(OH)D2 status in blood than the CON and LY groups. In conclusion, UV-B irradiation can produce vitamin D enriched yeast. UV-B irradiated vitamin D enriched yeast improved the in vitro ruminal degradation, while also preventing a loss in the amount of vitamin D that was degraded by the rumen microorganisms, as well as UV-B irradiated vitamin D enriched yeast supplementation in dairy cow diets were able to enhance vitamin D2 content in milk without detrimental effects on the health status and overall milk production.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectvitamin Den_US
dc.subjectdairy cowen_US
dc.subjectUV-B irradiated vitamin D enriched yeasten_US
dc.titleVitamin D enriched milk production from UV-B irradiated yeast supplementation in dairy cow dieten_US
dc.title.alternativeการผลิตน้ำนมโคที่มีปริมาณวิตามินดีสูงโดยการเสริมยีสต์ที่ผ่านการฉายแสงยูวีบีในอาหารโคนมen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshDairy cattle -- Food-
thailis.controlvocab.lcshDairy cattle -- Feeding and feeds-
thailis.controlvocab.lcshVitamin D in animal nutrition-
thailis.controlvocab.lcshYeast-
thailis.controlvocab.lcshMilk -- Quality-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการผลิตยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงโดยการฉายแสงยูวีบี และทำการศึกษาผลของการเสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงต่อค่าการย่อยได้ของโภชนะและค่าการย่อยสลายของวิตามินดีในหลอดทดลอง รวมถึงประเมินผลของการเสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงในอาหารโคนมต่อศักยภาพการผลิตน้ำนม ปริมาณวิตามินดีในน้ำนม และค่าสารชีวเคมีต่างๆภายในเลือด การศึกษานี้แบ่งการทดลองออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ การผลิตยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง และการผลิตน้ำนมโคที่มีปริมาณวิตามินดีสูง สำหรับการผลิตยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง ได้ทำการเลี้ยงยีสต์สายพันธุ์ Baker’s yeast ในอาหาร Yeast Extract Peptone Dextrose (YPD) จากนั้นกระตุ้นด้วยการฉายแสงยูวีบีที่ระยะเวลา 0, 2, 4, 8, 10, 12, 16 และ 24 ชั่วโมง พบว่า Baker’s yeast สามารถผลิตวิตามินดีได้สูงที่สุดหลังจากการฉายแสง 10 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่รับการฉายแสงยูวีบี (8,409,277.11±9,336 เทียบกับ 70.5±7.3 IU/100g DM) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) นอกจากนั้นได้ทำการเปรียบเทียบการผลิตวิตามินดีของยีสต์ 2 สายพันธุ์ Baker’s yeast และ Saccharomyces cerevisiae โดยทำการกระตุ้นด้วยการฉายแสงยูวีบีที่ระยะเวลา 0, 2, 4, 8, 10, 12, 16 และ 24 ชั่วโมง ในอาหารเลี้ยงเชื้อ Yeast Malt (YM) พบว่า Baker’s yeast และ S. cerevisiae สามารถผลิตวิตามินดีได้สูงที่สุดหลังจากการฉายแสง 16 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่รับการฉายแสงยูวีบี (3,623,174.08±7,331 เทียบกับ 814.49±58 IU/100g DM และ 2,437,194.38±5,508 เทียบกับ 1,569.87±37 IU/100g DM ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) โดยที่ยีสต์สายพันธ์ Baker’s yeast สามารถผลิตวิตามินได้สูงกว่ายีสต์สายพันธุ์ S. cerevisiae หลังจาการฉายแสงระยะเวลา 16 ชั่วโมง Baker’s yeast ที่ได้รับการฉายแสงระยะเวลา 16 ชั่วโมง ถูกนำมาทดสอบค่าการย่อยได้ของโภชนะและค่าการย่อยสลายของวิตามินดีในห้องปฏิบัติการ โดยทดสอบในวัตถุดิบ 2 ชนิด คือ ต้นข้าวโพดและอาหารผสมครบส่วน แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่มในแต่ละวัตถุดิบ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการเสริมยีสต์ (Control) กลุ่มที่เสริมยีสต์มีชีวิต (Yeast) และกลุ่มที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง (UV-B Yeast) พบว่า กลุ่มที่ได้รับการเสริมยีสต์มีชีวิตและกลุ่มที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงมีปริมาณแก๊สสะสมในชั่วโมงที่ 12, 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง รวมถึงปริมาณของกรดอะซิติก และกรดโพรพิโอนิก หลังจากการบ่ม 24 ชั่วโมง สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริมยีสต์ในวัตถุดิบทั้ง 2 ชนิด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ปริมาณวิตามินดีของกลุ่มที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงมีการสูญเสียน้อยกว่ากลุ่มที่เสริมวิตามินดีทั่วไปหลังจากการบ่มในหลอดทดลอง 24 ชั่วโมง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) สำหรับการผลิตน้ำนมโคที่มีปริมาณวิตามินดีสูง ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองแรกเป็นการทดสอบผลของยีสต์ที่ผ่านฉายแสงยูวีบีต่อประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมภายใต้สภาพการเลี้ยงในฟาร์มโคนม โดยใช้โคนมสายพันธุ์ Holstein-Friesian จำนวน 27 ตัว (ให้น้ำนมเฉลี่ย 8.6 ± 1.4 กิโลกรัมต่อวัน, น้ำหนักตัวเฉลี่ย 540.0 ± 30.0 กิโลกรัม) วางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 28 วัน (ระยะปรับอาหาร 7 วันและระยะเก็บตัวอย่าง 21 วัน) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการเสริมยีสต์ (CON) กลุ่มที่เสริมยีสต์มีชีวิตที่ไม่ผ่านการฉายแสง 1.6 กรัม (Non UV-B IY) และกลุ่มที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง 1.6 กรัม (มีปริมาณวิตามินดี 200,000 IU/ 1.6 g DM; UV- B IVDRY) ทำการจดบันทึกปริมาณผลผลิตน้ำนมทุกวัน เก็บตัวอย่างน้ำนมในวันที่ 0, 7, 14 และ 21 ของระยะการเก็บตัวอย่าง เพื่อประเมินผลผลิตน้ำนมและองค์ประกอบน้ำนม เก็บตัวอย่างเลือดในวันที่ 0, 7, 14 และ 21 วันของระยะการเก็บตัวอย่าง เพื่อประเมินค่าสารชีวเคมีต่างๆในกระแสเลือด พบว่า ไขมันน้ำนมของกลุ่มที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง ในวันที่ 14 สูงกว่าวันที่ 0 (5.67 เทียบกับ 4.52%) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) และการเสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงไม่มีผลกระทบต่อค่าสารชีวเคมีต่างๆในกระแสเลือดของโคนม สำหรับการทดลองที่ 2 เพื่อทดสอบผลของการเสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงต่อศักยภาพการผลิตน้ำนมและปริมาณวิตามินดีในน้ำนม โดยทำการศึกษาในโคนมสายพันธุ์ Thai Friesian จำนวน 6 ตัว (ให้น้ำนมเฉลี่ย 11.2 ± 2.0 กิโลกรัมต่อวัน, น้ำหนักตัวเฉลี่ย 415.0 ± 20.0 กิโลกรัม) วางแผนการทดลองแบบ 3 × 3 Latin Square ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 49 วันต่อระยะการทดลอง (ระยะปรับอาหาร 14 วันและระยะเก็บตัวอย่าง 35 วัน) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการเสริมยีสต์ (CON) กลุ่มที่เสริมยีสต์มีชีวิตที่ไม่ผ่านการฉายแสง 5 กรัม (LY) และกลุ่มที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง 5 กรัม (มีปริมาณวิตามินดี 150,000 IU/ 5 g DM; VDY) ทำการจดบันทึกปริมาณอาหารที่กินได้และปริมาณผลผลิตน้ำนมทุกวัน เก็บตัวอย่างน้ำนมในวันที่ 0, 7 และ 21 ของระยะการเก็บตัวอย่าง เก็บตัวอย่างน้ำนมในวันที่ 14 และ 35 ของระยะการเก็บตัวอย่างของแต่ละระยะทดลอง เพื่อประเมินผลผลิตน้ำนม องค์ประกอบน้ำนม องค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำนม และปริมาณวิตามินดีในน้ำนม นอกจากนี้ทำการเก็บตัวอย่างเลือดในวันที่ 0, 7, 14, 21, 28 และ 35 วันของแต่ละระยะทดลอง เพื่อประเมินค่าสารชีวเคมีต่างๆในกระแสเลือด จากการศึกษาพบว่า กลุ่ม LY และกลุ่ม VDY มีปริมาณแลคโตสในน้ำนมสูงกว่ากลุ่ม CON ในวันที่ 14 และ 35 ของการทดลอง (4.37, 4.38 เทียบกับ 4.28 % และ 4.33, 4.34 เทียบกับ 4.23 % ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ปริมาณวิตามินดีสองในน้ำนมของโคที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงมีค่าสูงกว่ากลุ่ม LY และกลุ่ม CON ในวันที่ 14 และ 35 ของการทดลอง (376.41 เทียบกับ 305.15, 302.14 ng/L และ 413.46 เทียบกับ 306.76, 301.12 ng/L ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) นอกจากนี้กลุ่ม VDY ยังมีความเข้มข้นของ 25(OH)D2 ในเลือดสูงกว่ากลุ่มอื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การฉายแสงยูวีบีสามารถผลิตยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง ทั้งนี้ยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงมีศักยภาพในการช่วยกระตุ้นการทำงานของกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน และช่วยป้องกันการถูกย่อยสลายของวิตามินดีจากจุลินทรีย์ภายในกระเพาะรูเมน นอกจากนี้การเสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีที่ผ่านการฉายแสงยูวีบีในอาหารโคนมยังช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในน้ำนม โดยไม่ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมและสุขภาพของโคนมen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600851012_patipan hnokaew.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.