Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorแสงทิวา สุริยงค์-
dc.contributor.advisorณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษ-
dc.contributor.authorสุธีรา วงค์ไชยen_US
dc.date.accessioned2023-06-25T07:08:29Z-
dc.date.available2023-06-25T07:08:29Z-
dc.date.issued2022-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78156-
dc.description.abstractThe objective of this experiment was to evaluate the effect of foliar application of Calcium (Ca) and evaluate the difference storage conditions on yield component, yield, accumulated calcium in the seeds hybrid corn CV. P3582. The experiment was conducted at Ban Plai Na, Thung Khwao sub District, Muang Pan District, Lampang Province on December, 2018 randomized complete block design with three replications was used. There were four levels of Calcium oxide 31% at 0 (control), 1.0, 1.5 and 2.0 cc/litre was applied. The results showed that the concentration level had no effect on yield component, ear yield and seed yield per area. However, Ca applied at 1.0 cc/l have the highest yield of1,382.3 kg/rai. and the calcium accumulation in the seeds was not different, with an average of 0.75 g per 100 g dry weight. After seeds storage the seed were sampled and determined for the qualities. 4x2x4 Factorial in a completely randomized design with three replications was used. Four storage period at 0, 2, 4 and 6 months by 2 storage condition at room temperature and at 15 °C, and byseed obtainedfrom 4 levels of Ca applied were assigned as the treatments. The results showed that storage conditions and Ca applied level had no effected on germination but the interaction between stored periods and Ca applied level had significantly affected on seed germination (P<0.05). The average of seed germination before storage were 97.3 percent. After storing for 2 months the germination was increased and not changing until after storing for 6 months seeds applied with 1.0 cc/l can retained the germination and had the highest average in germination of 98.7 percent. Moreover all factors except Ca applied level were affected on germination which their vigor have been tested by accelerated aging method. Storage period, storage conditions, Ca applied levels and the interaction had significantly effected on seed vigor. Before storage, the seed had an average germination of 91.1 percent. Vigor of seed began to decrease after storing for 4 months at room temperature, seeds applied with 1.0 cc/l had 65.3 percent of germination which was higher than the other levels.Seeds applied with 2.0 cc/l showed the highest decrease in germination of 57.7 percent. Seed stored at 15°C and applied with Ca 1.0 cc/l retained the highest in seed vigor of 81.7 percent as compared to the seeds applied with Ca 1.5 and 2.0 cc/l which had the seed vigor decreased from high to medium and had the germination of 66.7 - 69.0 percent respectively. After 6 months it was found that seed applied with Ca 1.0 cc/l had the highest germination of 48.0 percent as compared to the seeds applied with Ca 1.5 and 2.0 cc/l which had the germination of 40.0 and 30.0 percent, respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการพ่นแคลเซียมต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมen_US
dc.title.alternativeEffect of Foliar Calcium Application on Hybrid MaizeSeed Productionen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashข้าวโพด -- เมล็ดพันธุ์-
thailis.controlvocab.thashข้าวโพด -- เมล็ดพันธุ์ -- การทดลอง-
thailis.controlvocab.thashแคลเซียมออกไซด์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพ่นสารละลายแคลเซียมต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต ปริมาณการสะสมแคลเซียมในเมล็ด และผลจากสภาพการเก็บรักษา ช่วงเวลา ของการเก็บรักษาต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์พี 3582 ทำการทดลองที่แปลงเกษตรกร ในหมู่บ้านปลายนา ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2561 วาง แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี คือการพ่น สารละลายแคลเซียมออกไซด์ ความเข้มข้น 31 เปอร์เซ็นต์ 4 ระดับ ได้แก่ 0 (ชุดควบคุม) 1.0 1.5 และ 2.0 ซีซีต่อลิตร ผลการทดลองพบว่าระดับความเข้มข้นไม่มีผลต่อองค์ประกอบผลผลิต ผลผลิตฝัก ผลผลิตเมล็ดต่อพื้นที่ แต่มีแนวโน้มว่าความเข้มข้น 1.0 ซีซีต่อลิตร ให้ผลผลิตของข้าวโพดสูงสุด 1,382.3 กิโลกรัมต่อไร่ และการสะสมธาตุแคลเซียมในเมล็ดไม่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ย 0.75 กรัมต่อ น้ำหนักแห้ง 100 กรัม หลังจากนำเมล็ดดังกล่าวมาทดลองเก็บรักษาและตรวจสอบคุณภาพ โดยวาง แผนการทดลองแบบ 4x2x4 แฟคตอเรียลลงในสุ่มสมบรูณ์ จำนวน 3 ซ้ำโดยกำหนดให้ ปัจจัยที่ 1 มี 4 ระยะเวลาเก็บรักษาคือ 0, 2, 4 และ 6 เดือน สำหรับปัจจัยที่ 2 มี 2 สภาพการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง และที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ส่วนปัจจัยที่ 3 กำหนดให้มี 4 ระดับของเมล็ดที่ได้จากกรรมวิธีพ่น สารละลายแคลเซียม (0, 1.0, 1.5 และ 2.0 ซีซีต่อลิตร) ผลการทดลองพบว่า สภาพการเก็บรักษา และ ระดับแคลเซียม ไม่มีผลต่อความงอก แต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเก็บรักษา และความเข้มข้น ของสารละลายแคลเซียมมีผลต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ก่อนเก็บ รักษาเมล็ดมีความงอกเฉลี่ยเท่ากับ 97.3 เปอร์เซ็นต์ หลังเก็บรักษานาน 2 เดือนพบว่าความงอกมีค่า เพิ่มขึ้นและไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งหลังเก็บรักษาเป็นเวลา 6 เดือน เมล็ดที่ได้รับสารละลาย แคลเซียม 1.0 ซีซีต่อลิตรสามารถคงความงอกไว้ได้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 98.7 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังพบว่าทุกปัจจัยยกเว้นระดับความเข้มข้นของแคลเซียมมีผลต่อความงอกที่ได้จากการทดสอบความ แข็งแรงด้วยวิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ โดยพบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเก็บรักษา สภาพการ เก็บรักษา และสารละลายแคลเซียมที่แตกต่างกันมีผลต่อความแข็งแรงของเมล็ดอย่างมีนัยสำคัญ โดย ก่อนเก็บรักษาเมล็ดมีความงอกเฉลี่ยเท่ากับ 91.1 เปอร์เซ็นต์ ความแข็งแรงของเมล็ดเริ่มลดลง หลังเก็บ รักษาเป็นเวลา 4 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง พบว่าเมล็ดที่ได้รับสารละลายแคลเซียม 1.0 ซีซีต่อลิตร มีความ งอกเท่ากับ 65.3 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีค่าสูงกว่าความเข้มข้นอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมล็ดที่ได้รับ การพ่นสารละลายแคลเซียม 2.0 ซีซีต่อลิตร มีความงอกลดลงสูงสุดเท่ากับ 57.7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเมล็ด ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 *C พบว่าเมล็ดที่ได้รับสารละลายแคลเซียม 1.0 ซีซีต่อลิตร ยังคงความ แข็งแรงสูง มีความงอกเท่ากับ 81.7 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างจากเมล็ดที่ได้รับสารละลายแคลเซียม 1.5 และ 2.0 ซีซีต่อลิตร มีความแข็งแรงลดลงจากความแข็งแรงสูงสู่ความแข็งแรงปานกลาง มีความงอกเท่ากับ 66.7 - 69.0 เปอร์เซ็นต์ หลังเก็บรักษาเมล็ดเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าเมล็ดที่ได้รับสารละลายแคลเซียม 1.0 ซีซีต่อลิตร มีความงอก (48.0 เปอร์เซ็นต์) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากเมล็ดที่ ได้รับสารละลายแคลเซียม 1.. และ 2.0 ซีซีต่อลิตร ที่มีความงอกเท่ากับ 40.0 และ 30.0 เปอร์เซ็นต์en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610831001 สุธีรา วงค์ไชย.pdf941.19 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.