Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78150
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรษพร อารยะพันธ์-
dc.contributor.authorอรวรา ใสคำen_US
dc.date.accessioned2023-06-25T04:04:34Z-
dc.date.available2023-06-25T04:04:34Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78150-
dc.description.abstractThe objectives of the research ontology developed for textile knowledge of highland ethnic groups are 1) access and retrieval of knowledge on the highland ethnic groups textiles 2) analyzed the content and determine the structure about ontology on textile knowledge of highland ethnic groups and 3) developed ontology on textile knowledge of highland ethnic groups by using research and development principles, divided into 2 phases, first phase is study on access and knowledge retrieval, and content analysis and knowledge structure determination. Second phase is a development. The result showed that, most information sources do not have a written policy operation on the textiles, but only a textiles operation plan and the agency’s mission operation plan was found. There are provide and collect all information resources. There are analysis, classification, and information storage in different sources. Most information resources have the problems about limited supply budget and they lack analysis and classification; therefore, they are scattered in many places. In addition, the access and retrieval of highland ethnic groups textiles information are generally used for occupational purposes. Moreover, to access the information of highland ethnic groups textiles from institutional information sources, the users use a manual search method through the Bibliographic database (OPAC) and read the category labels. The problems in retrieving the textile information are related to the use of search terms that are too technical or jargons and the lack of search tools is also an obstacle. The results of knowledge analysis of highland ethnic textile obtained 9 kind of knowledge group, 12 classes, 1,297 sub-classes and 1,409 words related to highland ethnic textile. Then, the knowledge structure is defined as a hierarchy of 9 knowledge categories. It is divided into 69 sub- classes categories and 1,393 words. Ontology developed for textile knowledge of highland ethnic groups include knowledge domain is highland ethnic textile knowledge and 9 sub-domains were (1) highland ethnic textile patterns (2) materials for producing textile (3) raw materials for producing textile (4) equipments for producing textile (5) highland ethnic costumes (6) highland ethnic jewelry (7) highland ethnic weaving and knitting process (8) techniques for producing textile and (9) colors of textile. Ontology developed for textile knowledge of highland ethnic groups has 69 classes, 1,393 sub-classes, 39 kinds of hierarchical relationship with 2,214 items, 19 kinds of properties with 759 items and 1,462 instances.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectออนโทโลยีen_US
dc.subjectผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงen_US
dc.subjectการเข้าถึงและค้นคืนความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงen_US
dc.titleการพัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงen_US
dc.title.alternativeOntology developed for textile knowledge of highland ethnic groupsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashภววิทยา-
thailis.controlvocab.thashออนโทโลยี (การค้นคืนสารสนเทศ)-
thailis.controlvocab.thashผ้า -- ฐานข้อมูล-
thailis.controlvocab.thashผ้า -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง การพัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเข้าถึงและค้นคืนความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงของสถาบันบริการสารสนเทศด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในประเทศไทย 2) วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดโครงสร้างออนโทโลยีความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และ 3) พัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง โดยใช้ระเบียบวิจัยตามหลักการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาการเข้าถึงและค้นคืนความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และการวิเคราะห์เนื้อหาและการกำหนดโครงสร้างความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และระยะที่ 2 การพัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการสารสนเทศด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงพบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายการดำเนินงานด้านผ้าที่เป็นลายลักษณ์อักษร พบเพียงแผนการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน มีการจัดหาและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท มีการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ รวมถึงมีวิธีการจัดเก็บที่แตกต่างกัน ประสบปัญหาด้านงบประมาณในการจัดหา ขาดการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ และการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศกระจัดกระจายไว้หลายที่ ด้านปัญหาการเข้าถึงและค้นคืนความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงพบว่า ผู้ใช้บริการมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ประกอบการทำงาน โดยเข้าถึงความรู้จากแหล่งสารสนเทศประเภทสถาบัน ใช้วิธีการสืบค้นด้วยตนเองผ่านฐานข้อมูลบรรณานุกรม (OPAC) และอ่านป้ายบอกหมวดหมู่ ปัญหาในการค้นคืนคือ คำค้นเป็นศัพท์เทคนิคหรือศัพท์เฉพาะ มีความคลุมเครือ และขาดเครื่องมือช่วยค้น วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดโครงสร้างออนโทโลยีความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ผลการวิเคราะห์ความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ได้กลุ่มความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง จำนวน 9 หมวดความรู้ 112 หมวดใหญ่ 1,297 หมวดย่อย และคำศัพท์ 1,409 คำ จากนั้นกำหนดโครงสร้างความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงให้มีโครงสร้างตามลำดับชั้น จำนวน 9 หมวดความรู้ จำแนกเป็น 69 หมวดความรู้ย่อย 1,393 คำศัพท์ การพัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ประกอบด้วย โดเมนหลักคือ ความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และจำนวน 9 โดเมนย่อย ประกอบด้วย (1) ลวดลายผ้าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง (2) วัสดุที่ใช้ในการผลิตผ้าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง (3) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผ้าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง (4) อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตผ้าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง (5) เครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง (6) เครื่องประดับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง (7) กระบวนการทอผ้าชาติพันธุ์ บนพื้นที่สูง (8) เทคนิคการผลิตผ้าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และ (9) สีผ้าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ออนโทโลยีความรู้ด้านผ้ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ประกอบด้วย คลาสหลัก จำนวน 69 คลาส คลาสย่อย จำนวน 1,393 คลาส ความสัมพันธ์ระหว่างคลาสตามลำดับชั้น จำนวน 39 ชนิด 2,214 รายการ คุณสมบัติ จำนวน 19 ชนิด 759 รายการ และตัวอย่างคลาส จำนวน 1,462 รายการen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610132006-อรวราใสคำ.pdf33.9 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.