Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78018
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะนารถ จาติเกตุ-
dc.contributor.authorปิยภา สอนชมen_US
dc.date.accessioned2023-06-13T07:08:43Z-
dc.date.available2023-06-13T07:08:43Z-
dc.date.issued2020-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78018-
dc.description.abstractThe aims of this quantitative study were to develop a valid and reliable oral health literacy assessment test by combination of 2 Thai version assessment test by Vichayanrat et al., 2014 and Wanichsaithong, 2019 and to described the relationship between caregiver oral health literacy and dental caries status of pre-school children in Kongkrailas District, Sukhothai Province. The selfadminister questionnaires consist of 6 parts; 1. Socio-demographic information 2. Oral health knowledge 3. Functional oral health literacy ( dental caries) 4.Functional oral health literacy ( Prevention of dental caries) 5. Functional oral health literacy ( fluoride toothpaste label) 6.Communicative and Critical oral health literacy, and children’s dental caries status assessment part which examined by a dentist. The multi-stage random sampling of 364 child/caregiver dyads were recruited from child development centers and kindergartens in Kongkrailas District. All data was collected during August 2019 to October 2019 and were analyzed by using descriptive statistics, percentage and Analytical statistics. The oral health literacy test show acceptable validity ( IOC > 0. 5) but unacceptable reliability (Cronbach’s alpha < 0.7) due to the variety aspect of the choice in this test.A positive correlation was found between caregivers’ oral health literacy scores and children’s dental caries status (dmft).Oral health literacy scores varied from 6 to 41 so the oral health literacy score of 37 was used as a cut-off point to classify the caregivers’ oral health literacy as adequate (73% ) or inadequate (27% ).In this study, the social factors of caregiver that associated to oral health literacy were gender, level of education and the number of Oral health information received channels. The present result indicate that caregivers’ oral health literacy is important to their children’ s dental caries status and social factors of caregivers also associate to their oral health literacy. In order to improve caregivers’oral health literacy, dental personnel should improve their oral health communication which must be suitable to caregivers’ oral health literacy level and also sensitive to caregivers’ cultural and social background. So this issues is so challenging to dental personnel to change oral health education practiceen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ดูแล และสภาวะโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน ในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยen_US
dc.title.alternativeRelationship between Caregiver Oral Health Literacy and dental caries status of pre-school children in Kongkrailas District, Sukhothai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashช่องปาก -- การดูแลและสุขวิทยา-
thailis.controlvocab.thashทันตสุขศึกษา-
thailis.controlvocab.thashเด็ก -- การดูแลทันตสุขภาพ -- สุโขทัย-
thailis.controlvocab.thashฟัน -- การดูแลและสุขวิทยา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลที่เป็นผู้ดูแลหลักค้านสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 2-5 ปี และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลและสภาวะ โรคฟันผุของเด็ก โดยการปรับปรุงและดัดแปลงจากเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากโดย Vichayanrat และคณะในปี ค.ศ.2014 และWanichsaithong ในปี ค.ศ.20 19 ดังนั้นเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียนในอำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย ในงานวิจัยนี้ จึงประกอบไปด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ดูแล 2. แบบทดสอบความรู้ทั่วไปด้านทันตสุขภาพ 3. แบบทดสอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากขั้นพื้นฐาน ในส่วนความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ 4. แบบทดสอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากขั้นพื้นฐาน ในส่วนการป้องกันโรคฟันผุ 5. แบบทดสอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากขั้นพื้นฐาน ในส่วนการอ่านฉลากยาสีฟัน และ 6. แบบทดสอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากด้านการสื่อสารและวิพากษ์ และ เด็กอายุ 2-5 ปี จะได้รับการตรวจสภาวะโรคฟันผุโดยเก็บข้อมูล ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน (ชั้นอนุบาล) ในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 364 คน ดำเนินการรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละและเปรียบเทียบระหว่างคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลกับค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด(ซี่/คน) ของเด็กและปัจจัยด้านต่าง ๆ ของผู้ดูแล ด้วยการทดสอบสถิติเชิงวิเคราะห์ผลการศึกษาในส่วนการพัฒนาเครื่องมือ พบว่าแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในครั้งนี้ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหามากกว่า 0.5 ในทุกข้อคำถาม และ วัดค่าความสอดคล้องภายในเนื้อหาโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.568 ในส่วนความสัมพันธ์พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากรวมทั้งหมดของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่าฟันผุ ถอนอุด (ซี่/คน) ของเด็ก โดยยิ่งผู้ดูแลมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่สูง ก็จะทำให้ ค่าฟันผุถอน อุดในเด็กมีค่าที่ลดลง จากความสัมพันธ์ดังกล่าว จึงนำมาวิเคราะห์หาค่าจุดตัดคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ดูแถ เพื่อใช้ทำนายสภาวะโรคฟันผุในเด็ก 2-5 ปี โดยใช้สถิติกราฟเส้นโก้ง ROC พบว่าจุดตัดที่ได้ คือ 37 คะแนน ส่งผลให้มีผู้ดูแลที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่เพียงพอ(ร้อยละ 73) และกลุ่มผู้ดูแลที่มีไม่เพียงพอ ร้อยละ 27 โคยปัจจัยที่ส่งผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่องปากของผู้ดูแล ได้แก่ เพศของผู้ดูแล ระบบการศึกษาของผู้ดูแลและช่องทางที่ได้รับข้อมูลทางสุขภาพช่องปาก การศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลเป็นสิ่งสำคัญและส่งผลต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็ก อีกทั้งปัจจัยค้านสังคมและวัฒนธรรม การศึกษาของผู้ดูแลยังส่งผล โดขตรงต่อความรอบรู้ค้านสุขภาพช่องปากเช่นกัน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานของทันตบุคลากร จากการให้ทันตสุขศึกษาที่เน้นความรู้เพียงอย่างเดียว มาเป็นให้ทันตสุขศึกษาร่วมกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและสอดคล้องกับเงื่อนไขปัจจัยดังกล่าวของผู้ดูแล จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทันตบุคลากรต้องพัฒนาและเปลี่ยนแปลง เพื่อผลสัมฤทธิ์ในงานทันตกรรมส่งเสริมป้องกันของเด็กในอนาคตต่อไปen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600931016 ปิยภา สอนชม.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.