Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77926
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤมล กิมภากรณ์-
dc.contributor.authorอารยา จิรชีวีวงศ์en_US
dc.date.accessioned2022-12-17T15:27:04Z-
dc.date.available2022-12-17T15:27:04Z-
dc.date.issued2022-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77926-
dc.description.abstractThis independent research aims to study the Employer Brand Attractiveness Affecting Generation Y Intention to Stay with Software Development Companies using online questionnaires as a tool to collect data from Generation Y employees working at a software development company during December 2021 – February 2022, 404 cases were selected using a non-probabilistic method. with a convenient method (Convenience Sampling) from people working in the role of software development in software development companies When analyzing the preliminary data by using descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean and standard deviation and using multiple regression analysis statistics for analyze the relationship between employer brand attractiveness and generation Y intentions. The results of the study revealed that most of the respondents were female. Age in the range of 31-36 years, most of them are single. Have an education level in the bachelor's degree have average income 15,001 - 45,000 baht, working as a Programmer & Developer with 1-3 years of work experience. The respondents have a high level of perception of employer brand communication in the part of the Employer Brand Attractiveness Affecting Generation Y Intention to Stay with Software Development Companies, there is an intent to stay with a company at influence level. The result of multiple regression analysis statistics found that Corporate brand image (Internal) Value and Innovative product and location Value are elements that appeal to Generation Y's intent to stay with software development companies. The result of multiple regression analysis statistics group by males found that Corporate brand image (Internal) Value Development and Economic Value and Innovative product and location Value are elements that appeal to Generation Y's intent to stay with software development companies. The result of multiple regression analysis statistics group by females found that Corporate brand image (Internal) Value Development and Economic Value and Employer Brand and New innovation Value are elements that appeal to Generation Y's intent to stay with software development companies. The result of multiple regression analysis statistics group by Work experiences less than 3 years found that Corporate brand image (Internal) Value is element that appeal to Generation Y's intent to stay with software development companies. The result of multiple regression analysis statistics group by Work experiences greater than 3 years found that Corporate brand image (Internal) Value and Innovative product and location are elements that appeal to Generation Y's intent to stay with software development companies. The result of multiple regression analysis statistics group by Age 25 - 30 years found that Corporate brand image (Internal) Value is element that appeal to Generation Y's intent to stay with software development companies. The result of multiple regression analysis statistics group by Age 31 - 36 years found that Corporate brand image (Internal) Value is element that appeal to Generation Y's intent to stay with software development companies. The result of multiple regression analysis statistics group by Age 37 - 42 years found that Corporate brand image (Internal) Value is element that appeal to Generation Y's intent to stay with software development companies.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างen_US
dc.subjectความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานen_US
dc.subjectเจเนอเรชัน วายen_US
dc.titleความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจของเจเนอเรชันวาย ในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์en_US
dc.title.alternativeEmployer brand attractiveness affecting generation Y intention to stay with software development companiesen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์-
thailis.controlvocab.thashความพอใจในการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashเจนเนอเรชันวาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจของเจเนอเรชันวาย ในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานเจเนอเรชันวาย ที่ทำงานในบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 404 ราย ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบตามสะดวก จากผู้ที่ทำงานในด้านการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ ในบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ เมื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจของเจเนอเรชันวาย ในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 31 - 36 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ย 15,001 - 45,000 บาท ตำแหน่งงาน Programmer & Developer มีประสบการณ์ในการทำงาน 1 - 3 ปี ผลการรับรู้ความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้าง อยู่ในระดับมาก ความตั้งใจของเจเนอเรชันวาย ในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ พบว่า มีความตั้งใจอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทในระดับมีความตั้งใจมาก ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ พบว่า การสื่อสารคุณค่าด้านภาพลักษณ์แบรนด์ภายในองค์กร และ การสื่อสารคุณค่าด้านผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและสถานที่ เป็นองค์ประกอบความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณจำแนกตามเพศชาย พบว่า การสื่อสารคุณค่าด้านภาพลักษณ์แบรนด์ภายในองค์กร สื่อสารคุณค่าด้านการพัฒนาและเศรษฐกิจ และการสื่อสารคุณค่าด้านผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและสถานที่ เป็นองค์ประกอบความน่าดึงดูดใจของ แบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณจำแนกตามเพศหญิง พบว่า การสื่อสารคุณค่าด้านภาพลักษณ์แบรนด์ภายในองค์กร การสื่อสารคุณค่าด้านการพัฒนาและเศรษฐกิจ และการสื่อสารคุณค่าด้านแบรนด์นายจ้างและนวัตกรรมใหม่ เป็นองค์ประกอบความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณจำแนกตามอายุงานน้อยกว่า 3 ปี พบว่า การสื่อสารคุณค่าด้านภาพลักษณ์แบรนด์ภายในองค์กร เป็นองค์ประกอบความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณจำแนกตามอายุงานมากกว่า 3 ปี พบว่า การสื่อสารคุณค่าด้านภาพลักษณ์แบรนด์ภายในองค์กร และการสื่อสารคุณค่าด้านผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และสถานที่ เป็นองค์ประกอบความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณจำแนกตามช่วงอายุ 25 - 30 ปี พบว่า การสื่อสารคุณค่าด้านภาพลักษณ์แบรนด์ภายในองค์กร เป็นองค์ประกอบความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณจำแนกตามช่วงอายุ 31 - 36 ปี พบว่า การสื่อสารคุณค่าด้านภาพลักษณ์แบรนด์ภายในองค์กร เป็นองค์ประกอบความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณจำแนกตามช่วงอายุ 37 - 42 ปี พบว่า การสื่อสารคุณค่าด้านภาพลักษณ์แบรนด์ภายในองค์กร เป็นองค์ประกอบความน่าดึงดูดใจของแบรนด์นายจ้างที่มีผลต่อความตั้งใจในการอยู่เพื่อทำงานกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621532183-อารยา จิรชีวีวงศ์.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.