Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77837
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์-
dc.contributor.authorวนิตา มากล้นen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T09:43:00Z-
dc.date.available2022-11-05T09:43:00Z-
dc.date.issued2563-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77837-
dc.description.abstractThis research utilized a matched pair case-control study design aimed to determine the self- regulation and factors associated to dental caries status among preschool children and its caregivers in Pinpolrath Tungtrongjit 12th School, Wangthong District, Phitsanulok Province, Thailand. Data were collected from 104 kindergarten 2 - 3 children, aged 4 - 6 years old, and 104 of its caregivers through assessment of the following: (1) self-regulation in children using Delay gratification task and Stroop like day night task; (2) self-regulation in children by interviewing caregivers using Children Behavior Questionnaire (CBQ); and (3) familial factors and child's oral health behaviors by face-to-face interview of caregivers. Particularly, 52 identified with severe early childhood caries and 52 caries-free pre-school children were included in this study matched according to child's gender and relationship with child and its caregiver. Findings showed that self-regulation factor related to dental caries status was Delay gratification (P<0.05). Conditional logistic regression analysis at 95% level of confidence interval also showed the occurrence of dental caries-free in children by odds ratios. The key factors with positive association on dental caries were Delay gratification (OR 3.11, 95% CI 0.43 - 22.60) family income (OR 3.00, 95% CI 1.34 - 6.71), nocturnal feeding (OR 1.66, 95% CI 0.59 - 4.71), and simplified oral hygiene index (OHI-S) (OR 1.52,95% CI 0.60 - 3.84). Under the limitations of this study, relationship between self-regulation and dental caries in preschool children was not identified. This can be plausibly explained that self-regulation and dental caries are a board and multicomponent structure. There were some mediator variables such as child's behavior, familial factors, parenting style, etc. that cause mediation in the self-regulation and dental caries in preschool children. These findings indicate that family income, nocturnal feeding and simplified oral hygiene index are related to dental caries in preschool children and self- regulation. However, further investigation in this particular field is necessary. This understanding may lead to new oral health promotion strategies and stimulate participation among various stakeholders such as health workers, school, parents and community which may not only improve oral health, but also include desirable traits and other developmental aspect of children.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการกำกับตนเองกับสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeSelf-regulation and oral health of preschool children in Wangthong District, Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนพิณพลราษฎร์ตั้งตรงจิตร-
thailis.controlvocab.thashเด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- วังทอง (พิษณุโลก)-
thailis.controlvocab.thashปาก -- การดูแลและสุขวิทยา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกลุ่มศึกษา-กลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการกำกับตนเองกับสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน ที่ศึกษาอยู่ใน ระดับชั้นอนุบาล 2 และอนุบาล 3 โรงเรียนพิณพลราษฎร์ตั้งตรงจิตร 12 อำเภอวังทอง จังหวัด พิษณุโลก ทำการศึกษาโดยการตรวจฟันเด็กทั้งหมด 250 คน แบ่งเด็กออกเป็นเด็กที่ปราศจากฟันผุ และเด็กที่มีฟันผุแบบรุนแรง จากนั้นจับคู่ (Matched) ตามเพศของเด็ก และผู้ดูแลเด็ก ได้กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นเด็กกลุ่มปราศจากฟันผุจำนวน 52 คนและกลุ่มที่มีฟันผุแบบรุนแรงจำนวน 52 คน รวมทั้งสิ้น เป็นเด็ก 104 คน และผู้ดูแลเด็ก 104 คน เก็บข้อมูล โดยวัดการกำกับตนเองประเมิน โดยใช้เครื่องมือ 3 ชนิด การสังเกตที่พฤติกรรมเด็กโดยตรง ใช้เครื่องมือวัดความสามารถในการอดทนรอคอยและวัด ความสามารถในการควบคุมตนเอง และวัดการกำกับตนเองของเด็กผ่านมุมมองของผู้ปกครองโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมเด็ก ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ ความสนใจจดจ่อ การเบี่ยงเบนความสนใจ การควบคุมตนเองและการยั้งคิดไตร่ตรอง รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยทางด้าน ครอบครัว พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพช่องปาก การพบทันตบุคลากรและสภาวะ อนามัยช่องปากของเด็ก ผลการศึกษาพบว่ามีเพียงความสามารถในการอดทนรอคอยที่มีความแตกต่าง กันระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม และเมื่อวิเคราะห์การถคถอยแบบมีเงื่อนไข (conditional logistic regression) มีค่าอัตราเสี่ยงสัมพัทธ์อยู่ที่ 3.11 (0.43, 22.60) นั่นคือเด็กที่รอได้จะมีโอกาสที่ฟัน ไม่ผุมากกว่าเด็กที่รอไม่ได้ 3.11 เท่า แต่เนื่องจากค่าความเชื่อมั่น 95% มีช่วงที่ค่อนข้างกว้าง จึงยังไม่ สามารถสรุปได้ว่าความสามารถในการอดทนรอคอยมีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุในเด็กก่อนวัย เรียน การวิจัยครั้งนี้ ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการกำกับตนเองในเด็กก่อนวัยเรียนกับ สภาวะฟันผุโดยตรง ซึ่งอาจจะมีตัวแปรส่งผ่าน (mediator variable) ที่ส่งผ่านอิทธิพลจากการกำกับ ตนเองไปยังสภาวะฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน เช่น พฤติกรรมต่าง ๆ ปัจจัยทางด้านครอบครัว การอบรม เลี้ยงดู เป็นต้น โดยในการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการเกิดฟันผุในเด็กก่อนวัย เรียน ได้แก่ รายได้ของครัวเรือน การบริโภคขนม/อาหารหวานเครื่องดื่มรสหวานก่อนเข้านอน และ สภาวะอนามัยช่องปาก และปัจจัยหล่านี้ยังพบแนวโน้มว่ามีความสัมพันธ์กับการกำกับตนเองด้วย ทำ ให้เห็นความเป็นไปใด้ที่จะสำรวจความสัมพันธ์เหล่านี้ ให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งความเข้าใจนี้อาจจะ นำไปสู่ทางเลือกในการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในแง่มุมที่กว้างขึ้น และยังส่งเสริมให้เกิดการ ทำงานในรูปแบบที่เป็นสหสาขาวิชาชีพ โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งบุคลากร สาธารณสุข โรงเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชน ซึ่งไม่เพียงแต่จะนำไปสู่สุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น แต่ หมายรวมถึงลักษณะนิสัยที่พึ่งประสงค์และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็กไปพร้อม ๆ กันด้วยen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610931042 วนิตา มากล้น.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.