Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77797
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุขสถิตย์-
dc.contributor.advisorจินดารัตน์ ชัยอาจ-
dc.contributor.advisorณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์-
dc.contributor.authorเจษฎา เจริญสิริพิศาลen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T07:52:59Z-
dc.date.available2022-11-05T07:52:59Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77797-
dc.description.abstractThe incidence of metabolic syndrome among monks is increasing steadily. Adequate health literacy is necessary to enhance effective self-management among monks with metabolic syndrome so that they can maintain their health and well-being. The purpose of this descriptive research was to examine health literacy, self-management, and the relationship between health literacy and self-management among Buddhist monks with metabolic syndrome who received treatment at the outpatient ward of the Priest Hospital of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and the Priest Hospital, Bangkok. A sample of 110 monks with metabolic syndrome were recruited. Data were collected from September 2020 to September 2021. The research instruments consisted of a demographic and health record form, the health literacy assessment form and the self-management assessment of monks with metabolic syndrome form. Content validity and reliability were assessed, and values were accepted for all instruments. Data were analyzed through the SPSS program using descriptive statistics, along with Spearman's rank correlations. The results showed that: 1. The sample of monks with metabolic syndrome had a high level of overall health literary, with an average score of 45.22 points (SD = 6.85). When considering each level of health literacy, functional health literacy, interactive health literacy, and critical health literacy were at a high level with an average score of 15.04 (SD = 3.75), 15.95 (SD = 2.93), and 14.23 (SD = 2.52), respectively. 2. The sample of monks with metabolic syndrome had a high level of overall self-management with an average score of 149.44 points (SD = 15.29). When considering each component of self-management, medical management, role management, and emotional management were at a high level with an average score of 115.76 points (SD = 12.55), 18.56 (SD = 2.06), and 15.11 (SD = 2.97), respectively. 3. Health literacy had a moderate positive relationship with self-management among monks with metabolic syndrome (rs = .67) with statistical significance at .01. According to the results of this research, health literacy was associated with self-management among monks with metabolic syndrome. However, since monks have a specific lifestyle context, promoting health literacy through a process suitable for monks’ context is necessary because this will encourage monks with metabolic syndrome to be able to manage their health and well-being effectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรมen_US
dc.title.alternativeHealth literacy and self-management among Buddhist monks with metabolic syndromeen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเมแทบอลิกซินโดรม-
thailis.controlvocab.thashความรอบรู้ทางสุขภาพ-
thailis.controlvocab.thashพระสงฆ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractอุบัติการณ์ของภาวะเมแทบอลิกซินโดรมในพระสงฆ์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ในการส่งเสริมการจัดการตนเองที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พระสงฆ์สามารถดำรงไว้ซึ่งสุขภาวะที่ดี การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ การจัดการตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงฆ์ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 110 ราย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความเจ็บป่วย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบประเมินการจัดการตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือก่อนนำไปใช้งาน โดยมีค่าดัชนีความตรงทางเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 45.22 คะแนน (SD = 6.85) และเมื่อพิจารณาตามระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพื้นฐาน ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับปฏิสัมพันธ์ และความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับวิจารณญาณอยู่ในระดับที่สูง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.04 (SD = 3.75), 15.95 (SD = 2.93), และ 14.23 (SD = 2.52) ตามลำดับ 2. กลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรมมีการจัดการตนเองอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 149.44 คะแนน (SD = 15.29) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การจัดการตนเองด้านการรักษา ด้านบทบาท และด้านอารมณ์อยู่ในระดับสูง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 115.76 (SD = 12.55), 18.56 (SD = 2.06), และ 15.11 (SD = 2.97) ตามลำดับ 3. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในระดับปานกลาง (rs = .67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม แต่ทั้งนี้ เนื่องด้วยพระสงฆ์มีบริบทของวิถีชีวิตที่มีความจำเพาะ การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านกระบวนการที่เหมาะสมกับสมณสารูปของพระสงฆ์จึงมีความจำเป็น เพื่อสนับสนุนให้พระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรมสามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231080-Jetsada Jaroensiripisarn .pdf39.66 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.