Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77786
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระพงษ์ ม้ามณี-
dc.contributor.authorศุภกิจ นิยมรัตนกิจen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T05:37:26Z-
dc.date.available2022-11-05T05:37:26Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77786-
dc.description.abstractObjective: To observe the effect of different cleaning methods on micro-shear bond strength (µSBS) between saliva contaminated zirconia and resin cement, in conjunction with thermocycling. Methods: Ninety-six cylindrical plates of Cercon® ht zirconia, were embedded in metal molds and polished. The specimens were randomly divided into 8 groups according to human saliva contamination and surface decontamination methods: group 1 (NC) no contamination (control group), group 2 (WS) water-spray rinsing after contamination, group 3 (AA) sandblasted with aluminum oxide particle after contamination, group 4 (IC) applied with Ivoclean® after contamination, group 5 (SH) applied with sodium hydroxide with zirconia powder after contamination, group 6 (SHC) applied with sodium hypochlorite with zirconia powder after contamination, group 7 (SH) applied with EDTA with zirconia powder after contamination, group 8 (PA) applied with polyacrylic acid with zirconia powder after contamination. Two samples from each group were randomly selected for surface morphology examination by a scanning electron microscope (SEM) and surface elemental analysis with X-ray photoelectron spectroscopy (XPS) accordingly. Multilink N resin cement was cemented on each specimen by injecting into polyethylene tubes (4 resin cement rods per sample). After storing in distilled water at 37 ºC for 24 hours, the specimens in each group were randomly divided into 2 subgroups; subgroup 1 was defined as a short-term test and subgroup 2 was thermocycled (5 and 55 ºC, 5,000 cycles). The specimens were subjected to a micro-shear bond strength (µSBS) test at a cross-head speed of 1 mm/min. Data were analyzed using two-way ANOVA, followed by the Tukey’s multiple comparison test (p <0.05). Modes of failure were categorized by using the SEM. Results: Before aging, mean µSBS of NC (27.36 ± 2.38 MPa), SH (29.25 ± 2.61 MPa), IC (28.25 ± 2.31 MPa), SHC (26.62 ± 2.04 MPa), AA (26.66 ± 2.62 MPa) group were significantly higher than that of PA (22.35 ± 3.00 MPa), EDT (22.18 ± 2.26 MPa) and WS (19.31 ± 2.03 MPa) group (p<0.05). After aging, µSBS tends to decline in all groups but not significantly different (p>0.05). Failure mode analysis showed predominantly adhesive failure in WS and PA group, while mixed and cohesive failure were found in the other groups. Surface analysis show group AA had the most detectable groove on the surface. According to the elemental analysis, AA group had the lowest detected surface elements carbon and nitrogen to zirconium ratio. Conclusion: There were statistically significant differences in µSBS between surface decontamination groups. Sodium hydroxide conjunction with zirconia powder, Ivoclean®, sandblast and sodium hypochlorite conjunction with zirconia powder were effective in restoring the µSBS between saliva contaminated zirconia and resin cement. Thermocycling not significantly reduced µSBS in all group.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเซอร์โคเนียen_US
dc.subjectสารทำความสะอาดen_US
dc.subjectเซอร์โคเนียที่ปนเปื้อนน้ำลายen_US
dc.subjectเรซินซีเมนต์en_US
dc.titleผลของสารทำความสะอาดที่มีเซอร์โคเนียเป็นองค์ประกอบต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคกับเซอร์โคเนียที่ปนเปื้อนด้วยน้ำลายen_US
dc.title.alternativeEffect of zirconia-contained cleaning agents on micro-shear bond strength to saliva contaminated zirconiaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเซอร์โคเนียมออกไซด์-
thailis.controlvocab.thashเรซินซีเมนต์-
thailis.controlvocab.thashสารทำความสะอาด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของวิธีการทำความสะอาดพื้นผิวเซอร์โคเนียที่ปนเปื้อนน้ำลายต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของเซอร์โคเนียมกับเรซินซีเมนต์ ร่วมกับการทำเทอร์โมไซคลิง วิธีการวิจัย สร้างชิ้นทดสอบจากเซอร์โคเนีย ชนิดเซอร์คอนเอชที จำนวน 96 ชิ้น เป็นรูปทรงกระบอก ฝังในแบบหล่อโลหะและขัดผิว แบ่งเป็น 8 กลุ่ม ตามการปนเปื้อนน้ำลายและวิธีการเตรียมพื้นผิว กลุ่มที่ 1 ไม่ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลาย (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลายและทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการล้างน้ำกลั่น กลุ่มที่ 3 ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลายและทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการเป่าทราย กลุ่มที่ 4 ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลายและทำความสะอาดพื้นผิวด้วยสาร ไอโวคลีน กลุ่มที่ 5 ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลายและทำความสะอาดพื้นผิวด้วยสารโซเดียม- ไฮดรอกไซด์ร่วมกับเซอร์โคเนีย กลุ่มที่ 6 ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลายและทำความสะอาดพื้นผิวด้วยสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับเซอร์โคเนีย กลุ่มที่ 7 ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลายและทำความสะอาดพื้นผิวด้วยสารอีดีทีเอร่วมกับเซอร์โคเนีย กลุ่มที่ 8 ได้รับการปนเปื้อนด้วยน้ำลายและทำความสะอาดพื้นผิวด้วยกรดโพลีอะคริลิกร่วมกับเซอร์โคเนีย สุ่มชิ้นทดสอบกลุ่มละ 2 ชิ้น เพื่อนำมาส่องดูลักษณะพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด และตรวจสอบองค์ประกอบของธาตุบนพื้นผิวด้วยเครื่องวิเคราะห์ผิววัสดุสเปคโตรสโคปีของอนุภาคอิเล็กตรอนที่ถูกปลดปล่อยด้วยรังสีเอกซ์ จากนั้นฉีดเรซินซีเมนต์ชนิดมัลติลิงค์เอ็นลงในท่อโพลีเอธิลีนบนเซอร์โคเนียที่เตรียมพื้นผิวแล้ว จะได้แท่งเรซินซีเมนต์ 4 แท่งต่อชิ้นทดสอบ หลังจากแช่ชิ้นทดสอบในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง สุ่มแบ่งชิ้นทดสอบในแต่ละกลุ่ม เป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มย่อยที่ 1 นำไปทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคทันที กลุ่มย่อยที่ 2 ทำเทอร์โมไซคลิงที่อุณหภูมิ 5 และ 55 องศาเซลเซียส จำนวน 5,000 รอบ จากนั้นนำไปทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคด้วยอัตราเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตร/นาที โดยใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวนสองทาง และการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำแนกรูปแบบความล้มเหลวของชิ้นงานด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา ก่อนทำเทอร์โมไซคลิง ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของกลุ่มควบคุมเชิงบวกที่ไม่ได้ปนเปื้อนด้วยน้ำลาย (27.36 ± 2.38 MPa) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ร่วมกับเซอร์โคเนีย (29.25 ± 2.61 MPa) กลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยไอโวคลีน (28.25 ± 2.31 MPa) กลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยการเป่าทราย (26.66 ± 2.62 MPa) และกลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับเซอร์โคเนีย (26.62 ± 2.04 MPa) และสูงกว่ากลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยกรดโพลีอะคริลิกร่วมกับเซอร์โคเนีย (22.35 ± 3.00 MPa) กลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยสารอีดีทีเอร่วมกับเซอร์โคเนีย (22.18 ± 2.26 MPa) และกลุ่มที่ทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการล้างน้ำกลั่น (19.31 ± 2.03 MPa) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หลังทำ เทอร์โมไซคลิงพบว่าค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคมีแนวโน้มลดลงในทุกกลุ่มทดลองแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดกลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยการเป่าทรายซ้ำอีกครั้งพบความลึกของร่องจากการเป่าทรายที่มากขึ้นกว่ากลุ่มอื่น ลักษณะความล้มเหลวของกลุ่มทดลองที่ปนเปื้อนด้วยน้ำลายแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำกลั่นและกลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยกรดโพลีอะคริลิกร่วมกับเซอร์โคเนีย ส่วนมากจะเป็นความล้มเหลวของการยึดติดระหว่างพื้นผิวเซอร์โคเนียกับเรซินซีเมนต์ ขณะที่กลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยวิธีอื่นส่วนใหญ่พบลักษณะความล้มเหลวแบบผสมและความเชื่อมแน่นล้มเหลวในชั้นเรซินซีเมนต์ ผลการวิเคราะห์ผิววัสดุด้วยสเปคโตรสโคปีพบว่ากลุ่มที่ทำความสะอาดด้วยการเป่าทรายมีอัตราส่วนธาตุคาร์บอนและไนโตรเจนต่อเซอร์โคเนียน้อยที่สุด สรุปผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์กับเซอร์โคเนียที่ทำความสะอาดด้วยสารต่างชนิดกันมีค่าต่างกัน การทำความสะอาดพื้นผิวเซอร์โคเนียที่ปนเปื้อนน้ำลายด้วยสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ร่วมกับเซอร์โคเนีย ไอโวคลีน การเป่าทราย และสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ร่วมกับเซอร์โคเนีย มีประสิทธิภาพในการคืนกลับค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาค และการทำเทอร์โมไซคลิง 5,000 รอบ ไม่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์กับเซอร์โคเนียในทุกกลุ่มทดลองen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620931038-ศุภกิจ นิยมรัตนกิจ.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.