Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77756
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorKhwanchai Kreausukon-
dc.contributor.authorKritkarnda Kiratitana-olanen_US
dc.date.accessioned2022-10-28T11:12:26Z-
dc.date.available2022-10-28T11:12:26Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77756-
dc.description.abstractRabies elimination is a global challenge in the medical and veterinary fields. Although several countries are recognized as rabies-free countries due to prevention and control measures, this disease is still endemic in many developing countries, particularly in Asia and Africa. Thailand has adopted these measures for decades, but they have not been successful throughout the country. Lessons learned from rabies-free communities can be beneficial as a guide for endemic communities that have similar socio-cultural contexts. This study aimed to evaluate the levels of rabies preventive knowledge, attitude and practice, to identify the contributing factors to good knowledge, attitude and practice, and to explore the public perception of One Health on rabies prevention in sustainable disease-free communities. A knowledge, attitude and practice survey with a structured questionnaire and in-person interviews with semi-structured questions were conducted to investigate quantitative and qualitative findings, respectively. The questions were developed based on a literature review and fieldwork experience. This study was carried out in three rabies-free communities, including urban, suburban and rural areas, in Chiang Mai in 2018. The study participants, who were not underage or members of vulnerable groups, voluntarily provided written consent. The quantitative results were analyzed using univariate analysis and multivariate logistic regression analysis, whereas the qualitative findings were analyzed using content analysis and thematic analysis. The results of the completed data from 1,392 questionnaires and 36 interviews in rabies-free communities identified that the majority of participants had a high level of knowledge, a positive attitude and good practice regarding rabies prevention. The keys to good knowledge and practice were age as related to personal experience, secondary education or higher with a rabies course, and residential areas with the appropriate interventions and communication methods. The most effective intervention was rabies vaccination campaigns, which included mass vaccinations at campaign locations and mobile vaccination services. The most popular method of public communication was wired broadcasting. Nevertheless, socio-demographic characteristics were not associated with attitude. In addition, almost all of the participants were familiar with the One Health concept through multi-sectoral collaboration due to rabies prevention activities in their communities without mentioning the term “One Health”. Multi-sectoral collaboration was divided into three sub-themes. The first sub-theme focused on the role of the municipal government in collaborating with other sectors and delegating duties to their networks, such as village health volunteers running mobile vaccination services and village headmen managing wired broadcasting. The second sub-theme was the involvement of the medical and veterinary sectors in supporting some medical equipment and providing knowledge and practice to campaign staff. The final sub-theme was inter-sectoral action with community engagement, particularly among active campaign participants who could support disease prevention, detection, and response in their communities. In conclusion, good knowledge, attitude and practice as well as public understanding and support for the One Health strategy were critical to successful and sustainable rabies prevention at the local level. The nation will come closer to achieving its goal of having no human rabies deaths by putting these lessons learned into practice in endemic communities.en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectKnowledgeen_US
dc.subjectAttitude and Practice (KAP)en_US
dc.subjectOne Healthen_US
dc.subjectRabiesen_US
dc.subjectRabies-free Communityen_US
dc.subjectSocio-cultural Contexten_US
dc.titleKnowledge, attitude, practice and one health perception regarding rabies prevention and control in rabies-free communitiesen_US
dc.title.alternativeความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และการรับรู้ด้านสุขภาพหนึ่งเดียวเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนปลอดโรคพิษสุนัขบ้าen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshRabies-
thailis.controlvocab.thashRabies vaccines-
thailis.controlvocab.thashRabies virus-
thailis.controlvocab.thashVeterinarians-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าเป็นความท้าทายระดับโลกในวงการแพทย์และสัตวแพทย์ แม้ว่าหลายประเทศจะได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศปลอดโรคพิษสุนัขบ้าเนื่องจากมาตรการป้องกันและควบคุม โรคนี้ยังคงระบาดในประเทศที่กำลังพัฒนาจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียและแอฟริกา ประเทศไทยได้นำมาตรการเหล่านี้มาใช้เป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จทั่วประเทศ บทเรียนจากชุมชนปลอดโรคพิษสุนัขบ้าสามารถเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางสำหรับชุมชนที่มีการระบาดซึ่งมีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อระบุปัจจัยที่เอื้อต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ดี และเพื่อสำรวจการรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับสุขภาพหนึ่งเดียวในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนปลอดโรคอย่างยั่งยืน การสำรวจความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างและการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวด้วยคำถามแบบกึ่งโครงสร้างถูกดำเนินการเพื่อตรวจสอบผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตามลำดับ คำถามทั้งหมดได้รับการพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและประสบการณ์งานภาคสนาม การศึกษานี้ถูกดำเนินการในชุมชนปลอดโรคพิษสุนัขบ้า 3 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ในเมือง กึ่งเมือง และชนบท ในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2561 ผู้เข้าร่วมการศึกษาซึ่งไม่ใช่ผู้เยาว์หรือเป็นสมาชิกของกลุ่มเปราะบางได้ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรโดยสมัครใจ ผลลัพธ์เชิงปริมาณถูกวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์แบบตัวแปร  เดียวและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปร ในขณะที่ผลลัพธ์เชิงคุณภาพถูกวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลของข้อมูลที่ครบถ้วนจากแบบสอบถาม 1,392 ชุด และการสัมภาษณ์ 36 ครั้ง ในชุมชนปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ระบุว่า ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีความรู้ระดับสูง ทัศนคติเชิงบวก และการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กุญแจสู่ความรู้และการปฏิบัติที่ดี คือ อายุที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ส่วนตัว การศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือสูงกว่าร่วมกับหลักสูตรโรคพิษสุนัขบ้า และพื้นที่พักอาศัยที่มีการแทรกแซงและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม การแทรกแซงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งรวมถึงการฉีดวัคซีนจำนวนมากที่สถานที่รณรงค์และบริการฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ วิธีการสื่อสารสาธารณะที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การกระจายเสียงตามสาย อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางสังคมและประชากรไม่สัมพันธ์กับทัศนคติ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมเกือบทุกคนคุ้นเคยกับแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวผ่านความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อันเนื่องมาจากกิจกรรมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนของตนโดยไม่กล่าวถึงคำว่า “สุขภาพหนึ่งเดียว” ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนแบ่งออกเป็นสามหัวข้อย่อย หัวข้อย่อยแรกมุ่งเน้นไปที่บทบาทของเทศบาลในการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นและการมอบหมายหน้าที่ต่อเครือข่าย เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ให้บริการฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ และผู้ใหญ่บ้านที่จัดการกระจายเสียงตามสาย หัวข้อย่อยที่สอง คือ การมีส่วนร่วมของภาคการแพทย์และสัตวแพทย์ในการสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์บางอย่างและให้ความรู้และการปฏิบัติแก่คณะทำงานรณรงค์ หัวข้อย่อยสุดท้าย คือ การดำเนินการระหว่างภาคส่วนกับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเฉพาะในหมู่ผู้เข้าร่วมการรณรงค์ที่กระตือรือร้นซึ่งสามารถสนับสนุนการป้องกัน การตรวจหา และการตอบสนองโรคในชุมชนของตนได้ โดยสรุป ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ดี ตลอดจนความเข้าใจและการสนับสนุนของสาธารณชนสำหรับยุทธศาสตร์สุขภาพหนึ่งเดียวมีความสำคัญต่อการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืนในระดับท้องถิ่น ประเทศจะเข้าใกล้เป้าหมายที่จะไม่มีการเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าของมนุษย์ โดยการนำบทเรียนที่ได้เรียนรู้เหล่านี้ไปปฏิบัติใช้ในชุมชนที่มีการระบาดen_US
Appears in Collections:VET: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591451008-Kritkarnda Kiratitana-olan.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.