Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77743
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทัศน์ สุระวัง-
dc.contributor.authorสุภาวดี พลโยธาen_US
dc.date.accessioned2022-10-26T10:09:35Z-
dc.date.available2022-10-26T10:09:35Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77743-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study the appropriate method for extracting carotenoid from Spirulina (Arthrospira platensis). The effect of encapsulation factors on encapsulated carotenoid by spray drying and application in cereal bar products were investigated. Spirulina composed of ß-carotene 8.48 ± 0.35 mg /g dry sample, carotenoids 20.75 ± 0.09 mg / g dry sample and antioxidant activity by DPPH and ABTS of 40.70 ± 0.62 and 154.04 ± 10.32 mg TE / g samples, respectively. The carotenoid content of extract obtained by sunflower oil was significantly higher that canola oil using conventional extraction (p<0.05). Sunflower oil was used for further extraction studies by microwave and ultrasonic assisted extraction. The application of microwave assisted extraction (MAE) at 400 watts for 5 minutes should ß-carotene content as 22.4 ± 2.1 µg /g extract and the carotenoid content of 8.06 ± 0.52 mg /g extract. A antioxidant activities by DPPH and ABTS were 38.36 ± 0.82 and 96.22 ± 9.94 mg TE / g extract, respectively. On the other hand, the extraction by ultrasonic at 40% amplitude for 5 minutes presented ß-carotene content of 22.6 ± 1.4 µg / g extract and the carotenoid content of 4.43 ± 0.46 mg / g extract and antioxidant activity by DPPH and ABTS of 43.67 ± 7.03 and 82.39 ± 11.53 mg TE / g extract, respectively. ß-carotene extract by MAE was used to encapsulation by spray dry. Two independent variables including inlet temperature (140 and 180 °C) and the wall material ratio of maltodextrin and gum arabic (ratio of 2.0:0.0, 1.5:0.5 and 1.0:1.0) on carotenoid encapsulation. It was found that the temperature of 180 °C and the ratio of maltodextrin : gum arabic (1.0:1.0), resulting the highest encapsulation efficiency of 47.34 ± 2.96% with 22.07 ± 0.50% yield. The physicochemical properties of encapsulated powder were ß-carotene of 6.97 ± 0.52 µg /g powder, carotenoid content of 2.50 ± 0.16 mg / g powder, moisture content of 1.03 ± 0.21, water activity of 0.068 ± 0.008 and color values of L *, a * and b * as 86.95 ± 0.30, 3.66 ± 0.09 and 16.05 ± 0.40, respectively. The stability of encapsulated beta-carotene extract was carried out at temperatures of 40, 60, 80 and 100 °C. It was found that the total carotenoid content of the encapsulated extract decreased with increasing temperature. Consumer survey was conducted by 350 general consumers involved priority of ingredients that consumer requirements in cereal bar. The prototype of cereal bar were developed and sensory testing using the 9-point hedonic scale method. The preference score of appearance, color, grains flavor and overall taste at moderate like (7.0-7.7), while overall flavor, sweet taste, hardness and firmness were slightly liked (6.1-6.9). An encapsulated beta-carotene extract applied in cereal bar products found that 83% of the target consumers accepted the developed product.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสาหร่ายเกลียวทองen_US
dc.subjectบีตา-แคโรทีนen_US
dc.subjectแคโรทีนอยด์en_US
dc.subjectการเอนแคปซูเลชันen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งen_US
dc.titleการกักเก็บสารสกัดบีตา-แคโรทีนจากสาหร่ายเกลียวทองเพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งen_US
dc.title.alternativeEncapsulation of Beta-carotene Extract from Spirulina (Arthrospira platensis) for Application in Cereal Baren_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเบตาแคโรทีน-
thailis.controlvocab.thashสาหร่าย-
thailis.controlvocab.thashธัญพืช-
thailis.controlvocab.thashแคโรทีนอยด์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกักเก็บสารสกัดบีตา-แคโรทีนจากสาหร่ายเกลียวทองเพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่ง จากการวิเคราะห์คุณภาพสาหร่ายเกลียวทอง พบว่า มีปริมาณบีตา-แคโรทีน 8.48 ± 0.35 mg /g dry sample ปริมาณแคโรทีนอยด์ 20.75 ± 0.09 mg/ g dry sample ความสามารถในการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH และ ABTS มีค่าเท่ากับ 40.70 ± 0.62 และ 154.04 ± 10.32 mg TE/ g sample ตามลำดับ เพื่อเปรียบเทียบน้ำมันที่ใช้เป็นตัวทำละลาย 2 ชนิด ด้วยวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม พบว่า น้ำมันทานตะวันเป็นตัวทำละลายที่สามารถสกัดแคโรทีนอยด์ได้ดีกว่าน้ำมันคาโนลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น น้ำมันทานตะวันจึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาการสกัดด้วยวิธีการสกัดแบบไมโครเวฟ และคลื่นความถี่สูงต่อไป ซึ่งผลการทดลอง พบว่า การใช้กำลังไมโครเวฟ 400 วัตต์ เป็นเวลา 5 นาที ทำให้ได้ปริมาณบีตา-แคโรทีน 22.4 ± 2.1 µg/ g extract ปริมาณแคโรทีนอยด์ 8.06 ± 0.52 mg/ g extract และมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH และ ABTS เท่ากับ 38.36 ± 0.82 และ 96.22 ± 9.94 mg TE / g extract ตามลำดับ ในขณะที่การใช้คลื่นความถี่สูง 40% แอมปลิจูด เป็นเวลา 5 นาที พบว่า มีปริมาณบีตา-แคโรทีน 22.6 ± 1.4 µg /g extract ปริมาณแคโรทีนอยด์ 48.86 ± 0.92 mg/ g extract และมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH และ ABTS เท่ากับ 43.67 ± 7.03 และ 82.39 ± 11.53 mg TE / g extract ตามลำดับ ดังนั้นจึงเลือกใช้ การสกัดแบบไมโครเวฟในการสกัดบีตา-แคโรทีน และแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายเกลียวทอง เมื่อได้สารสกัดบีตา-แคโรทีนแล้ว จึงทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเอนแคปซูเลชัน ได้แก่ อุณหภูมิ (140 และ 180 องศาเซลเซียส) และอัตราส่วนของสารห่อหุ้มมอลโตเด็กซ์ตรินต่อกัมอะราบิก (อัตราส่วน 2.0:0.0, 1.5:0.5 และ 1.0:1.0) พบว่า การใช้อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส และอัตราส่วนของมอลโตเด็กซ์ตรินต่อกัมอะราบิก เท่ากับ 1.0:1.0 ทำให้มีความสามารถในการเอนแคปซูเลชัน ดีที่สุด เท่ากับ 47.34 ± 2.96 % โดยมีผลผลิต ร้อยละ 22.07 ± 0.50 ผงสารสกัดที่ผ่านการเอนแคปซูเลชัน มีปริมาณบีตา-แคโรทีน 6.97 ± 0.52 µg /g powder ปริมาณแคโรทีนอยด์ 2.50 ± 0.16 mg/ g powder ปริมาณความชื้น 1.03 ± 0.21 ค่าวอเตอร์แอคติวิตี 0.068 ± 0.008 และค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 86.95 ± 0.30, 3.66 ± 0.09 และ 16.05 ± 0.40 ตามลำดับ การศึกษาความคงตัวต่อความร้อนของสารสกัดบีตา-แคโรทีนที่ผ่านการเอนแคปซูเลชันที่อุณหภูมิ 40, 60, 80 และ 100 องศาเซลเซียส พบว่า ปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดจะลดลงเมื่อเพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้น จากนั้นทำการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่ง จำนวน 350 คน พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้ผลิตภัณฑ์มีองค์ประกอบของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต สตรอเบอร์รี่อบแห้ง และลำไยอบแห้ง ทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9 – point Hedonic scale พบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบ คุณลักษณะด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่นธัญพืช และรสชาติโดยรวมในระดับชอบปานกลาง (7.0-7.7) และคุณลักษณะด้านกลิ่นรสโดยรวม รสหวาน ความแข็ง และความแน่นเนื้อในระดับชอบเล็กน้อย (6.1-6.9) และนำสารสกัดบีตา-แคโรทีนที่ผ่านการเอนแคปซูเลชันที่ได้มาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่ง พบว่า ผู้บริโภคเป้าหมาย ร้อยละ 83 ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611331007 - สุภาวดี พลโยธา.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.