Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74205
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมยุลี สำราญญาติ-
dc.contributor.advisorชมพูนุท ศรีรัตน์-
dc.contributor.authorจิดารัตน์ หวานมีรสen_US
dc.date.accessioned2022-10-15T07:42:41Z-
dc.date.available2022-10-15T07:42:41Z-
dc.date.issued2021-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74205-
dc.description.abstractParkinson’s disease is a chronic illness that cannot be cured. The symptoms get worse throughout the duration of the disease, especially in elderly patients, who have disease progression and more severe complications than younger ones. As a result, patients ability to take care of themselves decreases, and they require continuous assistance from their caregivers. Therefore, caregivers are important persons in caring for persons with Parkinson’s disease. The purpose of this descriptive study was to explore the needs of caregivers of persons with Parkinson’s disease. The participants were caregivers of persons with Parkinson’s disease who were treated by neurologists from four hospitals: 1) Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, 2) Geriatric Medical Center, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, 3) Chiang Mai Neurological Hospital, and 4) Lampang Hospital. The 214 caregivers were purposively selected to be participants. Data collection was conducted from July 2020 to January 2021. Data collection instruments included: 1) a personal record form for caregivers, 2) a personal record form for persons with Parkinson’s disease, and 3) an interview form for caregivers needs, which was developed by the researcher using the concept of caregivers needs by Wingate and Lackey (1989). The instruments were tested, and content validity index was 0.96; reliability tested by Cronbach’s alpha coefficient was 0.96. Data were analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results showed that: 1. The overall needs of caregivers of persons with Parkinson’s disease were at a moderate level (X̅ = 2.13, S.D. = 0.91). 2. For each of the seven specific aspects of caregiver needs, four aspects were at a moderate level (information needs, physical needs, psychological needs, and legal and/or financial needs), and three aspects were at a mild level (spiritual needs, respite needs, and household management needs). 3. The needs of caregivers were different related to the level of disease severity. Caregivers’ needs at the mild level were found at the lowest disease severity, level 1, and increased caregivers’ needs were at the moderate level when disease severity was higher, at level 2, 3, 4, and 5. 4. The needs of caregivers were different relative to the personal characteristics of caregivers. The personal characteristics of caregivers which were related to different needs were: age, education, occupation, comorbidities, family’s income, relationship with patients, and duration of patient care. The study provided data on the needs of caregivers of persons with Parkinson’s disease. Nurses should use this information for planning and advising caregivers by considering disease severity and the personal characteristics of caregivers, to provide appropriate care relative to patients’ conditions and to meet the needs of caregivers, which should increase the efficiency of care.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความต้องการของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันen_US
dc.title.alternativeCaregivers’ needs of persons with Parkinson’s diseaseen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรคพาร์กินสัน-
thailis.controlvocab.thashโรคพาร์กินสัน -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashสมอง -- โรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคพาร์กินสันเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด อาการแย่ลงตามระยะเวลาที่เป็นโรค โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุที่มีการดำเนินโรคและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อย ส่งผลให้ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่ายลดลงและต้องได้รับความช่วยเหลือ จากผู้ดูแลอย่าง ต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ดูแลจึงเป็นบุคคลสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ที่เป็น โรคพาร์กินสันที่มารับการตรวจรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทจากโรงพยาบาล 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ และโรงพยาบาลลำปาง จำนวน 214 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2563 ถึงเดือนมกราคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน และแบบสัมภาษณ์ความต้องการของผู้ดูแล ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัย โดยใช้แนวคิดความต้องการของผู้ดูแลของ วินเกท และ แลคเคย์ (Wingate & Lackey, 1989) ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงตาม เนื้อหาเท่ากับ 0.96 และความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's aha) เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย หาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 2.13, S.D. = 0.91) 2. ความต้องการของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันรายด้านซึ่งมีทั้งหมด 7 ด้าน มีความต้องการ ระดับปานกลาง 4 ด้าน ได้แก่ ความต้องการด้านข้อมูล ความต้องการด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย ความต้องการด้านการประคับประคองจิตใจ และความต้องการด้านกฎหมาย และ/หรือการเงิน ความต้องการระดับเล็กน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ความต้องการด้านจิตวิญญาณ ความต้องการด้านการหยุดพัก จากการดูแล และความต้องการด้านการจัดการภายในบ้าน 3. ความต้องการของผู้ดูแลผู้ที่เป็น โรคพาร์กินสันมีความแตกต่างตามระดับความรุนแรงของโรค โดยความต้องการระดับเล็กน้อย เมื่อความรุนแรงของโรคอยู่ระดับต่ำสุด คือ ระดับ 1 และความต้องการ ระดับปานกลาง เมื่อความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 2, 3, 4, และ 5 4. ความต้องการของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันมีความแตกต่างตามลักษณะส่วนบุคคลของ ผู้ดูแล โดยลักษณะส่วนบุคคลของผู้ดูแลที่มีความต้องการแตกต่างกันได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว รายได้ของครอบครัว ความสัมพันธ์กับผู้ป่าย และระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย จากการศึกษาทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้ดูแลผู้ที่เป็น โรคพาร์กินสัน พยาบาล ควรนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนและ ให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแล โดยคำนึงถึงระดับความรุนแรง ของโรคของผู้ป่วย และลักษณะส่วนบุคคลของผู้ดูแลร่วมด้วย เพื่อให้การดูแลเหมาะสมกับสภาพ ผู้ป่วยและตรงตามความต้องการของผู้ดูแล ซึ่งน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231002 จิดารัตน์ หวานมีรส.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.