Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74188
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปีดิเทพ อยู่ยืนยง-
dc.contributor.advisorพรชัย วิสุทธิศักดิ์-
dc.contributor.authorสุภาพร ปัทมทัตต์en_US
dc.date.accessioned2022-10-11T00:46:51Z-
dc.date.available2022-10-11T00:46:51Z-
dc.date.issued2022-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74188-
dc.description.abstractThe purpose of this research was to study the perceptions of people who come to use the services and entrepreneurs in the Warorot Market of Muang District in Chiang Mai Province. Relating to the government's initiative to use less plastic bag handles and seeking ideas on how to make it better or create new regulations to do so in the fresh market. Structured interviews were used to gather data from a sample of 142 service users and business owners at Warorot Market, including 100 service users and 42 business owners. Descriptive statistics like percentage, frequency, and mean were used to assess the results, and multiple regression was used to examine some demographic characteristics, demographics and knowledge about the initiative to limit the use of plastic bags the behavior of customers who come to use the service and business owners in the Warorot market is tied to the government sector's handling in terms of minimizing the usage of plastic bag handles. The findings revealed that 97.9 percent of those who came to utilize the service and business owners in Warorot Market are aware that plastic bags with handles have an adverse effect on the environment, and knowing that there is a campaign to reduce, accept, reduce, reduce the use of plastic bags with handles in Warorot Market accounted for 95.8 percent. Television and Facebook were the two awareness-raising mediums that increased the sample population's knowledge of the aforementioned policy the greatest. After the government started a campaign to reduce, accept, reduce, reduce the usage of plastic bags with handles in the fresh market, which is 2.13 bags per day, from 5.12 bags per day, people's habit of using plastic bags with handles daily decreased or a decline of 58.72%. The majority of these include reusing plastic bags with handles, taking cloth bags or baskets to the market, refusing to accept a plastic bag with handles, and placing many goods in a single plastic bag with handles while making a purchase. The policy of limiting and eliminating the usage of plastic bags in the fresh market was supported by 97.2 percent of respondents, who stated that the best method to do so was to develop environmentally suitable packaging to replace plastic bags with handles. Such as paper bags, biodegradable bags, thick plastic bags with handles being used and then being banned from use, laws prohibiting the use of plastic bags with handles, the expense of purchasing more plastic bags with handles, and the factory ceasing to make plastic bags, in that order. Therefore, if the methods for preventing and resolving environmental issues are used to create a policy to limit the use of plastic bags with handles through a voluntary method rather than through the use of economic or legal means, such as the collection of taxes or fees that are, polluter pays principle (Warangkana, 2012). This should lead to an effective campaign for a policy that limits the use of plastic handle bags in the fresh market and become a practicable habit to limit the use of plastic bags with handles in an acceptable way. The findings of the multiple regression analysis's hypothesis testing showed that two variables gender and beliefs about the effects of plastic bag handles on the environment were significant. This has the habit of considerably (0.05) lowering the use of plastic bags with handles. This is congruent with the opt-in method of exposing people to media and information from current sources of interest to them in order to sustain existing views (Klapper, 1960), particularly those who are aware of the problem of plastic trash and how it impacts the environment and marine life. In order to change people's habits and limit the use of plastic bags, the government should educate the public on the negative environmental effects of using plastic bags using proper communication channels, particularly television and Facebook.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectreduction of plastic bag useen_US
dc.subjectgovernment policyen_US
dc.subjectawarenessen_US
dc.subjectfresh marketen_US
dc.subjectenvironmenten_US
dc.subjectการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วen_US
dc.subjectนโยบายภาครัฐen_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectตลาดสดen_US
dc.subjectสิ่งแวดล้อมen_US
dc.titleการรับรู้นโยบายการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของภาครัฐ: กรณีศึกษาตลาดวโรรส อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePerception on government policy to reduce plastic bags: A Case study of Warorot Market, Mueang Chiang Mai District,Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashถุงพลาสติก -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashถุงพลาสติก -- แง่สิ่งแวดล้อม-
thailis.controlvocab.thashพลาสติก -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashตลาดวโรรส-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของประชาชนที่มาใช้บริการและผู้ประกอบการในตลาดวโรรส อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อนโยบายการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของภาครัฐ และค้นหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหรือกำหนดมาตรการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของภาครัฐในตลาดสด วิธีการเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับประชากรกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่มาใช้บริการและผู้ประกอบการในตลาดวโรรส จำนวน142 คน เป็นประชาชนที่มาใช้บริการ 100 คน และผู้ประกอบการ 42 คนวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่าเฉลี่ย รวมถึงวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยบางประการทางด้านประชากรศาสตร์และการรับรู้นโยบายการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของภาครัฐที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของประชาชนที่มาใช้บริการและผู้ประกอบการในตลาดวโรรส ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนที่มาใช้บริการและผู้ประกอบการในตลาดวโรรสรับรู้ว่าถุงพลาสติกหูหิ้วก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 97.9 และรับรู้ว่ามีการรณรงค์ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในตลาดวโรรส คิดเป็นร้อยละ 95.8 โดยช่องทางการรับรู้ที่ทำให้ประชากรกลุ่มตัวอย่างทราบถึงนโยบายดังกล่าวมากที่สุด คือ โทรทัศน์ รองลงมา คือ Facebook ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วประจำวันลดลงหลังจากที่ภาครัฐได้มีการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในตลาดสด คือ วันละ 2.13 ใบ จากเดิมที่มีการใช้วันละ 5.12 ใบ หรือลดลงร้อยละ 58.72 โดยวิธีการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วส่วนใหญ่ ได้แก่ ใส่สินค้ารวมในถุงพลาสติกหูหิ้วใบเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าหลายชิ้น การนำถุงพลาสติกหูหิ้วนำกลับมาใช้ซ้ำการนำถุงผ้าหรือตะกร้าไปจ่ายตลาด และปฏิเสธการรับถุงพลาสติกหูหิ้ว ตามลำดับ ทั้งนี้ ประชาชนเห็นด้วยต่อนโยบายการลดและเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในตลาดสดร้อยละ 97.2 โดยเห็นว่าวิธีการที่จะสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในตลาดสดได้ดีที่สุด คือ การหาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อทดแทนถุงพลาสติกหูหิ้ว เช่น ถุงกระดาษ ถุงย่อยสลายได้ รองลงมา ได้แก่ การใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วอย่างหนาเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำได้ การออกกฎหมายเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว การเสียเงินซื้อถุงพลาสติกหูหิ้วเพิ่ม และโรงงานเลิกผลิตถุงพลาสติก ตามลำดับ ดังนั้น หากมีการปรับใช้เครื่องมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อกำหนดนโยบายในการควบคุมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วด้วยวิธีการสร้างความสมัครใจในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้มาตรการทางกฎหมายหรือการใช้เครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์โดยการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (วรางคณา, 2555) น่าจะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนและผลักดันนโยบายการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในตลาดสดที่มีประสิทธิภาพและเกิดเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปได้ในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วได้อย่างเหมาะสม ผลการทดสอบสมมุติฐานจากวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่า ตัวแปร 2 ประการ ได้แก่ เพศ และการรับรู้ว่าถุงพลาสติกหูหิ้วก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการเลือกรับข่าวสาร(Klapper, 1960)ในกระบวนการเปิดรับสื่อและข่าวสารจากแหล่งข่าวสารที่มีอยู่ซึ่งประชาชนจะให้ความสนใจเพื่อสนับสนุนทัศนคติที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะบุคคลที่มีความตระหนักต่อปัญหาขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ภาครัฐจึงควรสร้างการรับรู้และสร้างความตระหนักรู้ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วให้แก่ประชาชนตามช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมโดยเฉพาะโทรทัศน์ และ Facebook เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610432022 supaporn pattamatad.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.