Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74160
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์-
dc.contributor.advisorจิราวรรณ ดีเหลือ-
dc.contributor.authorกาญจนา ไชยตีฆะen_US
dc.date.accessioned2022-09-28T10:22:21Z-
dc.date.available2022-09-28T10:22:21Z-
dc.date.issued2021-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74160-
dc.description.abstractFirst-time fathers may be confronted with new situations, such as adaptation to paternal roles and taking care of their wives and babies, which may result in stress. This quasi-experimental research aimed to compare stress in first-time fathers between a control group and an experimental group. The samples consisted of 52 first-time fathers whose wives and children received services at the obstetrics postpartum ward, Health Promotion Center Region 1, Chiang Mai from March to July 2021. They were selected according to inclusion criteria and divided into control and experimental groups, with twenty-six in each group. The control group received routine postpartum care, whereas the experimental group received both a Social Support Program and routine postpartum care. The research instruments included the Social Support Program for first-time fathers, the Social Support Manual, the Telephone Collaboration with Line Application Follow-up Recording Form and the Perceived Stress Scale-10 (PSS-10) Thai Version (Wongpakaran & Wongpakaran, 2010). Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square test, Fisher's exact test, Mann–Whitney U test and independent t-test. Results from this study suggest that nurse-midwives can apply the Social Support Program for first-time fathers to prevent and relieve stress during the postpartum period.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดในบิดาที่มีบุตรคนแรกen_US
dc.title.alternativeEffect of social support on stress among first-time fathersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashบิดา-
thailis.controlvocab.thashการมีส่วนร่วมของบิดามารดา-
thailis.controlvocab.thashบิดามารดาและบุตร-
thailis.controlvocab.thashความเครียด (จิตวิทยา)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractบิดาที่มีบุตรคนแรกต้องผชิญกับสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในการทำบทบาทหน้าที่การเป็นบิดา การช่วยเหลือดูแลภรรยาและบุตร ส่งผลให้เกิดความเครียดได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในบิดาที่มีบุตรคนแรกระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดาที่มีบุตรคนแรก จำนวน 52 ราย ที่ภรรยาและบุตรเข้ารับบริการในแผนกสูติกรรมหลังคลอดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทfลอง กลุ่มละ 26 ราย ซึ่งกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมในบิดาที่มีบุตรคนแรก คู่มือการสนับสนุนทางสังคม แบบบันทึกการติดตามทางโทรศัพท์ร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ และแบบวัดความรู้สึกเครียด (Perceived Stress Scale-10: PSS-10) ฉบับภาษาไทยโดย ณหทัย วงศ์ปการันย์ และทินกร วงศ์ปการันย์ (Wongpakaran & Wongpakaran 2010) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ สถิติทดสอบฟิชเชอร์เอ็กเซค สถิติแมนวิทนี่ย์ยู และสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ความเครียดในบิดาที่มีบุตรคนแรกที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการพยาบาลตามปกติต่ำกว่าบิดาที่มีบุตรคนแรกที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมไปประยุกต์ใช้ในการให้การพยาบาลบิดาที่มีบุตรคนแรกเพื่อป้องกันและบรรเทาความเครียดในระยะหลังคลอดen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231031 กาญจนา ไชยตีฆะ.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.