Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74128
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยวุฒิ ตั้งสมชัย-
dc.contributor.authorณัฐพล สุจริตธรรมen_US
dc.date.accessioned2022-09-22T00:54:09Z-
dc.date.available2022-09-22T00:54:09Z-
dc.date.issued2022-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74128-
dc.description.abstractThe objective of this independent study was to determine business knowledge and skills that had been applied in practical uses and contributed to the individual career success of graduates from Chiang Mai University’s Master of Business Administration (M.B.A.) Program; and to determine, in the graduates’ opinions, the level of support of the M.B.A. courses provided. The results could be used to improve and redesign the curriculum in order to fulfill current market needs. Questionnaires were used to collect data from 136 samples of Chiang Mai University’s M.B.A. alumni that graduated between 2012-2017. Three fields of data were collected. This included (1) demographic information (including sex, age, grade, type of business at work, organization registered capital, managerial position, position duration at work, number of employees under supervision), (2) information on business knowledge and skills, and (3) information on career success. The information on business knowledge and skills could further be divided into 3 sub-fields including (1) the level of business knowledge and skills used in practices (2) the frequency of business knowledge and skills used in practices (3) the level of support the Chiang Mai University M.B.A. Program provided. The list of variables as follows. There were 9 business knowledge, namely (1) Strategic Management (2) Accounting & Finance (3) Marketing (4) Operations Management (5) Human Resource Management (6) Research Methodology (7) International Business (8) Economics (9) Management Information System. There were 18 business skills, namely (1) Self-Control & Stress Management (2) Time Management & Result Orientation (3) Interpersonal Skills (4) Self-Confidence (5) Teamwork (6) Creative Thinking (7) Initiation and Innovation (8) Leadership Skills (9) Delegation and Human Capital Management (10) Job Knowledge and Job Efficiency (11) Communication Skills (12) Rational Thinking & Decision Making (13) Ethics and Social Responsibility (14) Global Awareness & Global Adaptability (15) Risk Management (16) Strategic Planning and Administration (17) Framing and Integration to Solve Problem (18) Diverse and Multicultural Management. There were 8 dimensions of career success including (1) Recognition (2) Authenticity (3) Quality of Work (4) Meaningful Work (5) Growth and Development (6) Career Satisfaction Sense (7) Personal Life (8) Influence. Two statistical approaches were conducted. (1) Determination of business knowledge and skills which had high levels and frequencies of uses in practice was done using quadrant analysis (2) Determination of business knowledge and skills that positively correlated to dimension of career success was assessed using Pearson’s correlation. The combination of the two approaches thus yielded business knowledge and skills which had high levels and frequencies of uses in practice, and correlated to career success. A comparison between the level used in practices and the level of support from Chiang Mai University's M.B.A. Program of these business knowledge and skills then provided an answer to whether the M.B.A Program had provided adequate support to the development of essential business knowledge and skills for its graduates. Results showed that business knowledge and skills which had high levels and frequencies of uses in practice was the four knowledge of (1) Strategic Management (2) Management Information System (3) Marketing and (4) Operations Management, and the eight skills of (1) Self-Confidence (2) Job Knowledge & Job Efficiency (3) Communication Skills (4) Interpersonal Skills (5) Teamwork (6) Rational Thinking & Decision Making (7) Global Awareness & Global Adaptability and (8) Ethics and Social Responsibility. Pearson’s correlation analysis indicated that all business knowledge and skills, except for one skill of Ethics and Social Responsibility, significantly correlated to at least 1 of 8 dimensions of career success. Considering the two approaches, the results showed a total of 4 business knowledge and 7 business skills which had high levels and frequencies of uses in practice, as well as significantly correlated with career success. These included the four knowledge of (1) Strategic Management (2) Management Information System (3) Marketing and (4) Operations Management, and the seven skills of (1) Self-Confidence (2) Job Knowledge & Job Efficiency (3) Communication Skills (4) Interpersonal Skills (5) Teamwork (6) Rational Thinking & Decision Making and (7) Global Awareness & Global Adaptability. A comparison between the level of practical used and the level of support the M.B.A. Program provided suggested that the current M.B.A. Program at Chiang Mai University offered a level knowledge and skills sufficient for or beyond what was being used in practice.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทักษะทางธุรกิจen_US
dc.subjectการรับรู้ของบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจen_US
dc.subjectRelationship Between Knowledgeen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทักษะทางธุรกิจเพื่อการทำงานและความสำเร็จตามการรับรู้ของบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeRelationship between knowledge and business skills for work and success according to perception of graduates from Master of Business Administration program, Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- นักศึกษาบัณฑิต-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- หลักสูตร-
thailis.controlvocab.thashบริหารธุรกิจ -- หลักสูตร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทักษะทางธุรกิจเพื่อการทำงานและความสำเร็จตามการรับรู้ของบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงความรู้และทักษะทางธุรกิจที่มีการนำไปใช้งานจริงและส่งผลต่อความสำเร็จตามการรับรู้ของบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทราบถึงความสัมพันธ์ของความรู้และทักษะทางธุรกิจ กับระดับที่หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ช่วยสนับสนุนให้ตามการรับรู้ของบัณฑิต เพื่อให้สามารถนำข้อมูลนี้ไปประยุกต์และพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย ตอบสนองต่อความต้องการของโลกธุรกิจต่อไป การค้นคว้าแบบอิสระได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบัณฑิตหลักสูตรปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2555- 2560 จำนวน 136 ราย โดยข้อมูลที่ทำการเก็บจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (ประกอบด้วย เพศ อายุ ผลเฉลี่ยของการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต รูปแบบบริษัทที่ทำงาน ทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือกิจการ ตำแหน่งงาน ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งงานปัจจุบัน และจำนวนบุคลากรในองค์กรภายใต้การดูแลของผู้ตอบแบบสอบถาม) (2) ข้อมูลด้านความรู้และทักษะทางธุรกิจ และ (3) ข้อมูลด้านความสำเร็จ ในส่วนของข้อมูลด้านความรู้และทักษะจะเก็บข้อมูลแบ่งย่อยเป็น 3 ส่วนคือ (1) ระดับของการนำความรู้และทักษะไปใช้ในการทำงานปัจจุบัน (2) ความถี่ของการนำความรู้และทักษะไปใช้ในการทำงานปัจจุบัน และ (3) ระดับที่หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ช่วยสนับสนุนความรู้และทักษะให้ โดยมี ความรู้ทางธุรกิจ 9 ด้านได้แก่ (1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ (2) การบัญชีและการเงิน (3) การตลาด (4) การจัดการการดำเนินงาน (5) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (6) ระเบียบวิธีวิจัย (7) ธุรกิจระหว่างประเทศ (8) เศรษฐศาสตร์ (9) ระบบสารสนเทศ มีทักษะทางธุรกิจ 18 ทักษะได้แก่ (1) การควบคุมตัวเองและจัดการความเครียด (2) การบริหารเวลาและ การวางแนวผลลัพธ์ (3) ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการอยู่รวมกันกับผู้อื่น (4) ความมั่นใจในตนเอง (5) การทำงานเป็นทีม (6) การมีความคิดสร้างสรรค์ (7) ความคิดริเริ่มและนวัตกรรม (8) ทักษะการเป็นผู้นำ (9) การมอบหมายงานและการบริหารทรัพยากรทุนมนุษย์ (10) ความรู้เกี่ยวกับงาน และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (11) ทักษะการสื่อสาร (12) ความมีเหตุผลและการตัดสินใจ (13) จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม (14) ความรู้รอบตัวและการปรับตัว (15) การจัดการความเสี่ยง (16) การวางแผนกลยุทธ์และการบริหาร (17) การวิเคราะห์ การวางกรอบปัญหา และการวิเคราะห์แบบองค์รวมเพื่อการแก้ไขปัญหา (18) การจัดการความต่างทางวัฒนธรรม และมีความสำเร็จทั้งหมด 8 มิติ ได้แก่ (1) การได้รับการยอมรับ (2) การเป็นตัวของตัวเอง (3) คุณภาพของงาน (4) ความหมายของงาน (5) การเจริญเติบโตและการพัฒนา (6) ความพอใจในอาชีพ (7) ชีวิตส่วนตัว (8) อิทธิพลในที่ทำงาน เมื่อได้ข้อมูลแล้ว จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 2 แบบ ได้แก่ (1) การนำข้อมูลในด้านความรู้ทางธุรกิจและทักษะทางธุรกิจมาวิเคราะห์ในจตุรภาคของระดับและความถี่ที่นำไปใช้ในการทำงานปัจจุบัน เพื่อหากลุ่มความรู้และทักษะที่อยู่ในจตุรภาคที่ 1 (ขวาบน) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญเนื่องจากมีระดับการใช้งานและความถี่ที่ใช้งานที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย และ (2) นำข้อมูลไปทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระหว่างตัวแปรความสำคัญของความรู้และทักษะ กับคะแนนเฉลี่ยของแต่ละมิติของความสำเร็จ เพื่อหากลุ่มความรู้และทักษะที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อความสำเร็จ จากนั้นจะนำเอาผลการวิเคราะห์ทั้งสองแบบมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อหากลุ่มความรู้และทักษะที่มีความสำคัญในจตุรภาคที่ 1 และมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความสำเร็จ แล้วทำการเปรียบเทียบระดับการนำไปใช้งานของความรู้และทักษะกับระดับของการสนับสนุนของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้ทราบว่าหลักสูตรฯได้มีการสนับสนุนความรู้และทักษะอยู่ในระดับที่เพียงพอกับระดับการนำไปใช้จริงหรือไม่ ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมื่อวิเคราะห์จตุรภาค พบว่า มีความรู้ทั้งหมด 4 ด้าน ที่อยู่ในจตุรภาคที่ 1 ได้แก่ (1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ (2) ระบบสารสนเทศ (3) การตลาด และ (4) การจัดการการดำเนินงาน และมีทักษะทั้งหมด 8 ทักษะ ที่อยู่ในจตุรภาคที่ 1 ได้แก่ (1) ความมั่นใจในตนเอง (2) ความรู้เกี่ยวกับงานและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (3) ทักษะการสื่อสาร (4) ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (5) การทำงานเป็นทีม (6) ความมีเหตุมีผลและการตัดสินใจ (7) ความรู้รอบตัวและการปรับตัว (8) จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ทุกด้านของความรู้และทักษะมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความสำเร็จอย่างน้อย 1 มิติ ยกเว้นเพียงทักษะทางด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม และเมื่อนำผลการวิเคราะห์ทั้งสองแบบมาพิจารณาร่วมกันพบว่ามี 4 ความรู้ได้แก่ (1) ความรู้ทางด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ (2) ระบบสารสนเทศ (3) การตลาด (4) การจัดการการดำเนินงานและ 7 ทักษะทางธุรกิจได้แก่ (1) ความมั่นใจในตนเอง (2) ความรู้เกี่ยวกับงานและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (3) ทักษะการสื่อสาร (4) ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (5) การทำงานเป็นทีม (6) ความมีเหตุมีผลและการตัดสินใจ (7) ทักษะความรู้รอบตัวและการปรับตัว ที่มีระดับและความถี่ในการนำไปใช้งานจริงสูง และส่งผลต่อความสำเร็จ และเมื่อเปรียบเทียบระดับการนำไปใช้งานกับระดับของการสนับสนุนของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า หลักสูตรฯ ได้มีการสนับสนุนในด้านของความรู้และทักษะทั้งหมดในระดับที่สูงกว่า หรือเท่ากับระดับที่นำไปใช้งานจริงen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601532021_ณัฐพล สุจริตธรรม.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.