Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์-
dc.contributor.authorภูวดล ศรีวิไลen_US
dc.date.accessioned2022-09-19T01:00:59Z-
dc.date.available2022-09-19T01:00:59Z-
dc.date.issued2021-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74113-
dc.description.abstractThis thesis aims to study the transformation of government officer's thought concept and practices during 1973-1997 based on the consideration of changes in the social, economic, and political context that affect the roles played by the government officers. The establishment of the Ministry of Interior and the creation of government officers during the bureaucratic reform under Prince Damrong Rajanubhab, the Interior Minister, emphasized the notion of "the master" and "ruler" over the population in order to achieve the administrative duties effectively. This role was carried on until the development era in the 1950s, but the social, economic, and political changes, as the outcome of development of the period, had resulted to the student movement that demanded political participation which led to the "October 14” mass protest in1973. Post "October 14" role of the government officers shifted again because the old master and ruler" mindset became unacceptable to the public. As a result, a "service provider" became their new identity, in order to justify their roles and functions in the public eye. But this was short-lived, that is only 1973 - 1977. After the revival of the bureaucratic power in order to curb the expansion of the communist movement and to expand economic improvement during General Prem Tinsulanonda regime provided the backdrop for the government officers to change into a "leaders who provide security and development". This increased their role and power significantly through organizing the masses in many local projects during 1977-1987. The shift occurred again during 1987 - 1997 under three important conditions. First, the separation of duties in the regional government agencies through the promulgation of the State Administrative Service Act B.E. 2534, which reduced the powers of government officers over other local authorities. Second, the expansion of the royal hegemony through development projects that enshrined the monarch as a "developer king", which also took over as a master plan for the whole state development projects. Third, the organizations of local population and NGOs have played an important role in balancing the power of the state and the implementation of many government policies. Amid such conditions, government officers have changed their role to that of a "coordinator" in order to maintain their status in their localities.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและการปฏิบัติการของข้าราชการนักปกครอง พ.ศ. 2516-2540en_US
dc.title.alternativeTransformation of government officers’ thought concept and practices during 1973-1997en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashข้าราชการ -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashระบบราชการ -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashไทย -- การเมืองและการปกครอง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความคิดที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงบทบาท และการปฏิบัติการของข้าราชการนักปกครองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาพ ศ. 2516 ถึง 2540 โดยอาศัยการพิจรณาความเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม เศรมฐกิจ และการเมืองที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนบทบาทของข้าราชการนักปกครองความสำเร็จในการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย และวางรากฐานข้าราชการนักปกครองในสมัยปฏิรูประบบราชการแบบใหม่ในช่วงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก่อให้เกิดการเน้นบทบาทของ "นาย และผู้ปกครอง" เพื่อใช้ในการทำหน้าที่ปกครองให้ลุล่วง และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงยุคของการพัฒนาในช่วงต้นทศวรรษ 2500 แต่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอันเป็นผลมาจากการพัฒนานั้นได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการนักศึกษา และประชาชน อันนำมาซึ่งเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 การเคลื่อนไหวทางการเมืองเศรษฐกิจสังคมหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ทำให้บทบาท "นายและผู้ปกครอง" ของข้าราชการปกครองไม่สามารถปฏิบัติการได้เพราะไม่ได้รับการยอมรับ จึงทำให้ข้าราชการนักปกครองเปลี่ยนบทบาทใหม่เป็น "ผู้รับใช้ และบริการประชาชน" เพื่อสร้างการยอมรับและมีความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่การเน้นบทบาทของ "ผู้รับใช้ และบริการประชาชน" นั้นดำรงอยู่ในช่วงไม่นานระหว่างพ.ศ.2516 ถึง 2520 เท่านั้น หลังจากการฟื้นฟูของระบบราชการภายใด้ปัญหาการรับมือกับปัญหาคอมมิวนิสต์ และการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนห์ ได้เปิดโอกาสให้ข้าราชการนักปกครองปรับเปลี่ยนบทบาทไปสู่การเป็น "ผู้นำในการสร้างความมั่นคง และการพัฒนา"โดยอาศัยประสบการณ์ และความเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในงานปกครอง ซึ่งทำให้ข้าราชการนักปกครองมีบทบาทและอำนาจมากผ่านการจัดตั้งมวลชน และดำเนินโครงการต่าง ๆ ในท้องที่อย่างมากในช่วงพ.ศ. 2520 ถึง 2530 การเปลี่ยนแปลงบทบาทของข้าราชการปกครองได้เกิดขึ้นอีกภายหลังการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ในส่วนราชการภูมิภาคผ่านการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ทำให้อำนาจของข้าราชการนักปกครองที่มีต่อข้าราชการในส่วนราชการอื่น ในท้องที่ลดลง ประกอบการการขยายตัวของพระราชอำนาจนำของสถาบันกษัตริย์ที่มีบทบาทนำในการเป็น "นักพัฒนา" ทำให้โครงการและแนวพระราชดำริของสถาบันได้กลายมาเป็นแม่แบบในการดำเนินโครงการพัฒนาของรัฐ และการรวมตัวของกลุ่มภาคประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชนได้กลายมาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้อง ถ่วงดุลการใช้อำนาจ และดำเนินนโยบายของรัฐทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคอย่างมาก ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงส่งผลให้ข้าราชการนักปกครองปรับเปลี่ยนบทบาทไปสู่การเป็น "ผู้ประสานงาน" เพื่อรักษาสถานะและบทบาทของตัวเองในท้องที่เอาไ ว้en_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590131011 ภูวดล ศรีวิไล.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.