Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจินดา ศรีวัฒนะ-
dc.contributor.authorปานฤทัย เมฆะen_US
dc.date.accessioned2022-08-29T16:01:49Z-
dc.date.available2022-08-29T16:01:49Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74028-
dc.description.abstractThe objectives of natural colorant product from butterfly pea flower (BPF) development were to 1) optimize drying process of BPF using microwave vacuum dryer, 2) optimize ultrasonic extraction condition of dried BPF, 3) compare copigmentation in BPF extract using gallic acid and ascorbic acid and 4) evaluate moisture accelerated shelf life of BPF extract powder. BPF was dried at different microwave power (3,600 W and 4,800 W) and different times (15, 20 and 25 min). The optimum condition of drying was microwave power 3,602.05 to 4,537.65 W and drying time 16.80 to 23. 17 min. The significant (pS0.05) parameters on the drying eficiency were yield, moisture, a, total anthocyanin content (TAC), L*, a*and b* as 17.50%, 10.20%, 0.389, 1.09 mg/g dry basic (DW), 43.39, -0.78 and 0.87, respectively. Dried BPF was extracted using ultrasonic extraction (solvent: water and ethanol, extraction temperature: 35ºC and 45ºC, extraction time: 25 and 30 min). The optimum condition of water extraction was 35.10 to 45.00 ºC for 26.67 to 30.00 min. The optimum condition of 50% ethanol extraction was temperature 37.86 to 44.94ºC and extraction time 25.34 to 30.00 min. Those two optimum conditions were found high TAC as 1.51 and 1.50 mgg DW, respectively. BPF extract was copigmented with different copigments (gallic acid and ascorbic acid) at different molar ratio of anthocyanin to copigment (1:10, 1:50 and 1:100) under pH 3, 5 and 7 and heated at 90ºC for 120 min. It was found that the extract using molar ratio of BPF anthocyanin to ascorbic acid at 1:100 had lower color value difference than that of gallic acid and had higher monomeric anthocyanin and longer half - life of anthocyanin than that of gallic acid. Then, the copigmented BPF extract was mixed with 12% maltrodextrin and 8% arabic gum and encapsulated using spray dryer. Chemical analysis showed that yield, moisture, a., TAC, delphinidin content, cyadinin content, L*, a* and b* was 16.10, 6.17,0.404, 1.09 mg/g DW, 0.98 mgg DW, 0.06 mgg DW, 55.45, 4.23 and -22.13 respectively. The moisture accelerated shelf life study of BPF extract powder was performed. It was found that BPF extract powder was packed in aluminium foil pouch with 7-millimeter-thick and kept at 380C with 90% relative humidity was 555 days or I years and 190 days.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาสารให้สีธรรมชาติจากดอกอัญชันด้วยเทคนิคโคพิกเมนต์เทชันen_US
dc.title.alternativeDevelopment of natural colorant from Butterfly Pea (Clitoria ternatea L.) Flower using copigmentation techniqueen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashอัญชัน-
thailis.controlvocab.thashอัญชัน -- การอบแห้ง-
thailis.controlvocab.thashดอกไม้ -- สี-
thailis.controlvocab.thashสารสกัดจากพืช-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารให้สีธรรมชาติจากดอกอัญชันมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หากระบวนการอบแห้งที่เหมาะสมของดอกอัญชัน โดยใช้ตู้อบไมโครเวฟสุญญากาศ 2) หาสภาวะ ที่เหมาะสมในการสกัดจากดอกอัญชันอบแห้งโดยใช้คลื่นอัลตราโซนิก 3) เปรียบเทียบการใช้ กรดแกลลิกและกรดแอสคอร์บิกที่ทำการโคพิกเมน์เทชันกับสารสกัดจากดอกอัญชัน และ 4) ทราบ อายุการเก็บรักษาโดยวิธีการเร่ง (accelerated shelf life) ด้วยความชื้นของสารสกัดอัญชันชนิดผงด้วย ความชื้น นำดอกอัญชันมาอบแห้งด้วยไมโครเวฟสูญญากาศที่ระดับพลังงาน 3,600 และ 4,800 วัตด์ และใช้เวลา 15 20 และ 25 นาที พบว่าช่วงที่เหมาะสมในการอบแห้งใช้พลังงานของไมโครเวฟที่ 3,600.00 - 4.524.72 วัตต์ และ ใช้เวลาในการอบ 16.80 - 23.17 นาที จากการวิเคราะห์ดอกอัญชัน อบแห้งมีร้อยละผลผลิต, ปริมาณความชื้น, ค่าวอเตอร์แอกทิวิตี, ปริมาณแอนไซยานิน และค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 17.50, 10.20 0.389, 1.00 มิลลิกรัมต่อกรัม(ในน้ำหนักแห้ง), 43.39, -0.78 และ 0.87 ตามลำดับ จากนั้นทำการสกัดดอกอัญชันอบแห้งโดยใช้คลื่นอัลตราโซนิกเปรียบเทียบตัวทำละลายน้ำ กลั่นและเอทานอล อุณหภูมิที่ใช้ 35 และ 45 องศาเซลเชียส และระยะเวลา 25 และ 30 นาที พบช่วงที่ เหมาะสมในการสกัดที่ใช้น้ำกลั่นคืออุณหภูมิ 35.10 - 45.00 องศาเซลเซียส และเวลา 26.67- 30.00 นาที่ ส่วนช่วงที่เหมาะสมในการสกัดใช้เอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 เป็นตัวทำละลายได้แก่ อุณหภูมิ 37.86 - 45.00 องศาเซลเชียส ใช้เวลาการสกัด 25.34 - 30.00 นาที ซึ่งมีปริมาณสาร แอนไซยานินสูงเท่ากับ 1.51 และ 1.50 มิลลิกรัมต่อกรัม (ในน้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ นำสารสกัดจาก ดอกอัญชันมาทำการโคพิกเมนต์เทชันด้วยสารโคพิกเมนต์ 2 ชนิด คือกรดแกลลิกและกรดแอสคอร์บิก โดยใช้อัตราส่วนโมลาร์ของปริมาณแอนโทไซยานินของอัญชันต่อสารโคพิกเมนต์ที่ความเข้มข้น เท่ากับ 1:10, 1:50 1:100 ที่ pH 3, 5 และ 7 ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที จากการ วิเคราะห์พบว่า การใช้อัตราส่วนโมลาร์ของปริมาณแอนโทไซยานินของอัญชันต่อกรดแอสคอร์บิกที่ 1:100 ทำให้มีค่าการเปลี่ยนแปลงสีน้อย แต่มีปริมาณโมโนเมอริกแอนโทไซยานินและค่าครึ่งชีวิตของ สารแอนโทไซยานินสูงกว่าการใช้กรดแกลลิก นำสารสกัดจากดอกอัญชันที่ทำการโคพิกเมนต์ผสม กับมอลโทเดกซ์ทรินและกัมอะราบิกที่ความเข้มข้น เท่ากับ ร้อยละ 12 และ 8 และนำไปทำการกักเก็บ ด้วยเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย จากการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี พบว่ามีร้อยละผลผลิต ปริมาณ ความชื้น ค่าวอเตอร์แอคทิวิตี เท่ากับ 16.10, 6.17, 0.404 ตามลำดับ มีปริมาณสารแอนโทไซยานิน ทั้งหมด ปริมาณสารเคลฟินิดิน และสารไซยานิดิน เท่ากับ 1.09 , 0.98 และ 0.06 มิลลิกรัมต่อกรัม (ในน้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ และมีค่าสี L* :* และ 6*เท่ากับ 55.45, 4.23 และ -22.13 ตามลำดับ จาก การศึกษาอายุการเก็บรักษาโดยสภาวะเร่งของสารสกัดจากดอกอัญชันชนิดผงด้วยความชื้น พบว่า สาร สกัดจากดอกอัญชันชนิดผงที่บรรจุในถุงอะลูมิเนียมฟอล์ย ที่อุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียสและร้อยละ ความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 90 จะมีอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 555 วัน หรือ 1 ปี 190 วันen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601331012 ปานฤทัย เมฆะ.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.