Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74022
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมนา จิตติเดชารักษ์-
dc.contributor.advisorศิริพร โอโกโนกิ-
dc.contributor.authorกตัญญู หลิมไชยกุลen_US
dc.date.accessioned2022-08-29T15:45:08Z-
dc.date.available2022-08-29T15:45:08Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74022-
dc.description.abstractObjective: To investigated the effect of fluoride rice gel on acid resistance improvement of buman enamel compared to commercial fluoride gel. Methods: 30 human molars were prepared by cutting teeth into two halves mesio - distally then polished with 2000 grits sandpaper and coated with nail varnish to protect the surface except 3x1 mm' of exposure cite. The specimens were randomly divided into 4 groups; each group contains 15 samples. Group 1, the specimens were applied with placebo rice gel (PL). Group 2, the specimens were applied with commercial 1.23% acidulated phosphate fluoride gel (APF gel) (60-second gel, Germiphene corporation, Canada) (AP). Group 3, the specimens were applied with neutral 2% sodium luoride rice gel. (RS) Group 4, the specimens were applied with 1.23% acidulated phosphate fluoride rice gel (RA). All specimens were immersed in remineralization and demineralization solution for 7 days to replicated pH-cyeling. After pH cycling, all specimens were tested with microcomputed tomography (µCT 35, Scanco, Switzerland) for mineral density, digital microhardness tester (Startech SMV-1000, Guiyang Sunproc International Trade Co.,Ltd., Guiyang, China) for surface hardness then were cut cross-sectionally and tested with microhardness tester for cross-sectional microhardness (CSMH). Mineral density changing percentage data and surface microhardness data were statistically analyzed by one-way ANOVA and cross-sectional microhardness data were analyzed by two-way ANOVA (p<0.05) with Tukey's post hoc test. Results: Considering surface microhardness values after pH cyeling, AP group showed the highest value and least of value changing. Nevertheless, there was no difference between AP and RA group. PL group show the highest loss of mineral in percentage of mineral density change, and there was no difference between AP group and RA group. CSMH values presented no difference between AP and RA group from 65 microns to 115 microns from outer surface presented no difference in every group. Conclusions: Both formulas of fluoride rice gel provided acid resistance enhancement to human enamel. Gelling agent made from rice could be used to contain fluoride content in high concentration and released to human enamel resembled to commercial fluoride gel.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเจลข้าวฟลูออไรด์en_US
dc.titleผลของเจลข้าวฟลูออไรด์ต่อการต้านทานกรดในชั้นเคลือบฟันมนุษย์en_US
dc.title.alternativeEffect of Fluoride rice gel on acid resistance of human enamelen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเคลือบฟัน -- การทดสอบ-
thailis.controlvocab.thashเคลือบฟัน-
thailis.controlvocab.thashฟัน -- การสึกกร่อน-
thailis.controlvocab.thashฟลูออไรด์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาประสิทธิภาพของความต้านทานกรดของเคลือบฟันมนุษย์ หลัง สัมผัสกับเจลข้าวโซเดียมฟลูออไรด์ และเจลข้าวอะซิดูเรดฟอสเฟตฟลูออไรด์ วิธีการวิจัย ใช้ฟันกรามแท้มนุษย์ที่ไม่มีรอยผุ รอยสึก และการบูรณะใดๆจำนวน 30 ซี่ ตัดแบ่ง ฟันตามแนวใกล้กลางไกลกลาง แล้วสุ่มแบ่งตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น ทาเจลตามกลุ่ม ทดลองในพื้นที่สัมผัสกว้าง 1 มิลลิเมตร ยาว 3 มิลลิเมตรดังนี้ กลุ่มที่ 1 ทาด้วยเจลข้าวที่ไม่มีการผสม สารใดๆ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ทาด้วยเจลแอชิดูเรตฟอสเฟตฟลูออไรด์ทางการค้า (60-second gel, Germiphene corporation, Canada) กลุ่มที่ 3 ทาด้วยเจลข้าวโซเดียมฟลูออไรค์ และกลุ่มที่ 4 ทาด้วยเจล ข้าวอะซิดูเรดฟอสเฟตฟลูออไรด์ จากนั้นนำชิ้นตัวอย่างผ่านกระบวนการจำลองการเปลี่ยนแปลง สภาวะกรดด่างภายในช่องปากเพื่อสร้างสภาวะการสูญเสียแร่ธาตุเป็นระยะเวลา 7 วันในอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส โดยแช่ในสารละลายจำลองการสูญเสียแร่ธาตุ 6 ชั่วโมง และสารละลายคืนกลับแร่ธาตุ 18 ชั่วโมงต่อวัน นำชิ้นตัวอย่างทุกชิ้นวัดค่าเปรียบเทียบก่อนและหลัง กระบวนการจำลองการ เปลี่ยนแปลงสภาวะกรดด่างภายในช่องปาก ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟี (µCT 35, Scanco, Switzerland)เพื่อหาความหนาแน่นของแร่ธาตุที่เปลี่ยนแปลง และเครื่องทดสอบดิจิตัล ไมโครฮาร์ดเนส (Startech SMV-1000, Guiyang Sunproc International Trade Co..Ltd., Guiyang, China) ทดสอบความแข็งพื้นผิวระดับจุลภาควิกเกอร์ส และความแข็งพื้นผิวระดับจุลภาคตามแนว ตัดขวาง นำค่าที่ได้ไปทดสอบทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างกลุ่มในการทดสอบร้อยละความหนาแน่นแร่ธาตุที่เปลี่ยนแปลง และความแข็ง ผิวระดับจุลภาคที่ผิวภายนอก วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางในการทดสอบค่าความแข็งผิวระดับ จุลภาคตามแนวตัดขวาง ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ค่าความแข็งพื้นผิวภายนอกระดับจุลภากระหว่างกลุ่มตัวอย่างหลังผ่านกระบวนสลับ สภาวะกรดด่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ยกเว้นกลุ่มควบคุมที่มีค่าต่ำกว่า อย่างมีนัยยะสำคัญ อีกทั้งกลุ่มเจลข้าวแอซิดูเรตฟอสเฟตฟลูออไรด์และกลุ่มอะซิดูเรทฟอสเฟท ฟลูออไรด์ทางการค้า ไม่มีความแตกต่งอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติกับค่าความแข็งผิวภายนอกก่อน กระบวนการสลับสภาวะกรดด่าง ค่าร้อยละความหนาแน่นแร่ธาตุที่เปลี่ยนแปลงไป พบการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในกลุ่ม ควบคุม กลุ่มเจลข้าวโซเดียมฟลูออไรด์ กลุ่มเจลข้าวอะซิดูเรทฟอสเฟทฟลูออไรด์และกลุ่มอะซิดูเรท ฟอสเฟทฟลูออไรด์ทางการค้าตามลำดับ โดยสองกลุ่มสุดท้ายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะ สำคัญทางสถิติ ค่าความแข็งผิวตัดขวางระดับจุลภาคพบว่าในระดับความลึกจากพื้นผิว 15 ไมโครเมตร ทั้ง สามกลุ่มนอกเหนือจากกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติตั้งแต่ระดับ ความลึกที่ 65 ไมโครเมตรจากพื้นผิวนอกสุด ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติกลุ่ม เจลข้าวอะซิดูเรตฟอสเฟทฟลูออไรด์และกลุ่มอะซิดูเรทฟอสเฟทฟดูออไรค์ทางการค้า และตั้งแต่ ความลึก 115 ไมโครเมตรจากพื้นผิวไม่พบความแตกต่างกันในทุกกลุ่มอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา การสัมผัสกับเจลข้าวฟลูออไรด์ ในกลุ่มเจลข้าวอะซิดูเรดฟอสเฟทฟลูออไรด์นั้น ให้ผลสร้างการป้องกันการทำลายและสูญเสียแร่ธาตุจากกรดบนพื้นผิวเคลือบฟันมนุษย์ได้ไม่แตกต่าง จากกลุ่มทางการค้า แต่เจลข้าวโซเดียมฟลูออไรด์ให้ผลเสริมการป้องกันที่ต่ำกว่ากลุ่มเจลฟลูออไรค์ ทางการค้าen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600931008 กตัญญู หลิมไชยกุล.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.