Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73919
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมาลี เลิศมัลลิกาพร-
dc.contributor.advisorรังสิยา นารินทร์-
dc.contributor.authorณัฐณิชา เศรษฐพันธ์en_US
dc.date.accessioned2022-08-16T16:37:06Z-
dc.date.available2022-08-16T16:37:06Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73919-
dc.description.abstractMetabolic syndrome is a cluster of symptoms caused by the body's metabolic abnormalities. Therefore, health promotion for persons with metabolic syndrome in the community is very necessary to prevent and reduce the severity of further complications. The purpose of this case study research is to study the processes and outcomes of promoting self-management of individuals and families in persons with metabolic syndrome in the community according to the individual and family self- management theory of Ryan and Sawin (2009), consisting of three parts: 1) knowledge and belief in health conditions, 2) skills and abilities in self-management, which had six steps, including goal setting, self-monitoring and reflective thinking, decision making, planning and implementation, self- evaluation, and outcome management, and 3) social facilitation. The samples in this study consisted of four families (four persons with metabolic syndrome and four family members). The research instruments were comprised of a promoting plan for individual and family self-management and a self-management handbook for persons with metabolic syndrome and family in the community. Data were analyzed using descriptive statistics and comparing the similarities and differences in each case study. This research utilized Ryan and Sawin's theory in the process of promoting self-management of individuals and families in persons with metabolic syndrome in the community. In terms of knowledge and belief in health conditions, it revealed that all families did not know the causes and how to deal with metabolic syndrome. In term of skills and abilities in self-management, the study revealed that all families could manage their diets, exercises, and stress while the researcher educated and promoted their self-management skills at every step. In terms of social facilitation, the researcher educated all families about how to access health resources. Moreover, the study found that family members, colleagues, and neighbors influenced the self-management of person with metabolic syndrome. After promoting the self-management process of individuals and families in persons with metabolic syndrome in the community, the study found that all persons with metabolic syndrome had accurate knowledge and understanding about the disease. They were able to manage themselves appropriately and continuously which led to a reduction of their body weight, body mass index, and waist circumference. For their family members, the study revealed that they had behavioral changes but only one person had reduced body weight and body mass index. The result from this research shows that promoting self-management of individuals and families in persons with metabolic syndrome in the community can provide a good outcome for persons with metabolic syndrome. Therefore, there should be further program development for effectively promoting self-management of individuals and families in persons with metabolic syndrome.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอ้วนลงพุงen_US
dc.titleการส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงในชุมชน: กรณีศึกษาen_US
dc.title.alternativePromoting an individual and family self-management among persons with metabolic syndrome in community: a case studyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเมทาบอลิกซินโดรม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเมตาบอลิกซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานของ ร่างกาย ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงในชุมชนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการ ป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา การวิจัยแบบกรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการและผลลัพธ์ของการส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวใบผู้ที่มี ภาวะอ้วนลงพุงในชุมชนตามทฤษฎีการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวของ ไรอัน และ ซาวิน (2009) ประกอบด้วย 3 ด้านคือ 1) ด้านความรู้และความเชื่อในภาวะสุขภาพ 2) ด้านทักษะและ ความสามารถในการจัดการตนเอง ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งเป้าหมาย การติดตามตนเองและการ สะท้อนคิด การตัดสินใจ การวางแผนและการปฏิบัติ การประเมินตนเอง และการจัดการกับผลลัพธ์ที่ เกิดขึ้น และ 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในสั่งคม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 4 ครอบครัว (ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงจำนวน 4 ราย และสมาชิกในครอบครัวจำนวน 4 ราย) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว และคู่มือการจัดการตนเอง ของผู้ที่อ้วนลงพุงและครอบครัวในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ เปรียบเทียบความเหมือนความต่างในแต่ละกรณีศึกษา การวิจัยนี้ได้ใช้ทฤษฎีของไรอันและซาวินในการส่งเสริมกระบวนการจัดการตนเองของบุคคล และครอบครัวในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงในชุมชน โดยด้านความรู้และความเชื่อในภาวะสุขภาพ พบว่า ทุกครอบครัวยังไม่ทราบสาเหตุและวิธีจัดการกับภาวะอ้วนลงพุง ด้านทักษะและความสามารถในการ จัดการตนเอง พบว่าทุกครอบครัวสามารถจัดการเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการ ความเครียคได้ ในขณะที่ผู้วิจัยเป็นผู้ให้คำแนะนำและส่งเสริมทักษะการจัดการตนเองในทุกขั้นตอน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในสังคม ผู้วิจัยเป็นผู้ให้คำแนะนำเพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถเข้าถึงแหล่ง ประโยชน์ทางสุขภาพ อีกทั้งพบว่าสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนบ้านมีอิทธิพลต่อการ จัดการตนเองของผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงด้วย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการส่งเสริมกระบวนการจัดการ ตนเองของบุคคลและครอบครัวในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงในชุมชน พบว่าผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงทุกรายมึ ความรู้และความข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ถูกต้อง สามารถจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ส่งผลให้มีน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวลดลง สำหรับสมาชิกในครอบครัวทุกรายมีการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่มีเพียงหนึ่งรายที่มีน้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกายลดลง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมกระบวนการจัดการตนเองของบุคคลและ ครอบครัวในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงในชุมชนสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง ดังนั้นควรมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวในผู้ที่มีภาวะ อ้วนลงพุงให้มีประสิทธิภาพต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591231075 ณัฐณิชา เศรษฐพันธ์.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.