Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73851
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาหฤท นิตยวรรธนะ-
dc.contributor.authorพิชญ์สินี วงษ์ศรีen_US
dc.date.accessioned2022-08-14T00:51:47Z-
dc.date.available2022-08-14T00:51:47Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73851-
dc.description.abstractThis study determined the biogas production potential of chicken slaughterhouse wastewater with different sludge, such as sludge from an ABR (Anaerobic Baffled Reactor) and sludge from a pig farm, which was compared using a biochemical methane potential test. The results show that wastewater with sludge from an ABR has accumulated biogas of 270±7 mlN and accumulated methane of 82±2 mlN, which is greater than wastewater with sludge from a pig farm, which has accumulated biogas of 132±5 mlN and accumulated methane of 30±1 mlN. When you add nutrients, the accumulated biogas is 296 mlN as a result of wastewater with ABR sludge, and the accumulated is 90 mlN. Wastewater containing pig farm sludge increased biogas accumulation is 170 mlN and methane accumulation is 41 mlN. Wastewater from an ABR has a methane yield of 115 mlN/gVSadded, while wastewater from a pig farm has a methane yield of 55 mlN/gVSadded. Methane percentage in biogas from wastewater with sludge from ABR is 30.50% higher than methane percentage in biogas from wastewater with sludge from pig farm. However, in comparison to other studies, the potential is low. Because of the amount of wastewater entering the ABR, wastewater from the ABR pond must be drained every 1-2 days, causing the sediment in the ABR pond to be drained. As a result, the microbial sludge in the ABR pond was insufficient for organic matter removal. As a result, new approaches must be developed. In order to bring wastewater from chicken slaughterhouses to produce biogas with higher potential, such as controlling the operation of the factory's wastewater treatment system, controlling volume the amount of wastewater that enters the ABR pond. Including separating sewer pipes for wastewater from the washing process of the production area to prevent sludge destroying chemicals from entering the ABR pond.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงชำแหละไก่en_US
dc.title.alternativeDetermination of biogas production potential from chicken slaughterhouse wastewateren_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashก๊าซชีวภาพ-
thailis.controlvocab.thashก๊าซชีวภาพ -- การผลิต-
thailis.controlvocab.thashพลังงานทดแทน-
thailis.controlvocab.thashน้ำเสีย -- การบำบัด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biochemical Methane Potential, BMP) ของน้ำเสียจากโรงชำแหละไก่ โดยมีการใช้ตะกอนจุลินทรีย์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ตะกอนจุลินทรีย์จากบ่อเอบีอาร์ และตะกอนจุลินทรีย์จากฟาร์มสุกรซึ่งใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ ภายใต้สภาวะที่ไร้ออกซิเจน ในรูปแบบไม่ต่อเนื่อง (Batch) ที่มีการรักษาอุณหภูมิที่ 35±1 °C อัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ (F/M ratio) ที่ 0.5 และระยะเวลาในการหมักย่อย 70 วัน พบว่าน้ำเสียของโรงงานสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 270±7 มิลลิลิตรนอร์มัล และปริมาณก๊าซมีเทน 82±2 มิลลิลิตรนอร์มัล เมื่อใช้ตะกอนจุลินทรีย์จากบ่อเอบีอาร์ของโรงงานชำแหละไก่เป็นเชื้อตั้งต้น ซึ่งมีค่ามากกว่าผลผลิตก๊าซชีวภาพและมีเทนเมื่อใช้ตะกอนจุลินทรีย์จากฟาร์มสุกรเป็นเชื้อตั้งต้น โดยมีปริมาณก๊าซชีวภาพ 132±5 มิลลิลิตรนอร์มัล และปริมาณก๊าซมีเทน 30±1 มิลลิตรนอร์มัล นอกจากนี้ยังพบว่าการเติมสารอาหารลงไปในการทดลองจะสามารถเพิ่มปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้เป็น 296 มิลลิลิตรนอร์มัล และปริมาณก๊าซมีเทนเป็น 90 มิลลิลิตรนอร์มัล ซึ่งมีปริมาณก๊าซมากกว่าการทดลองน้ำเสียกับตะกอนจุลินทรีย์จากฟาร์มสุกรที่มีปริมาณก๊าซชีวภาพ 170 มิลลิลิตรนอร์มัล และปริมาณก๊าซมีเทน 41 มิลลิตรนอร์มัล นอกจากนี้พบว่าค่าศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ และก๊าซมีเทนของการทดลองน้ำเสียกับตะกอนจุลินทรีย์จากบ่อเอบีอาร์ มีค่า 378 และ 115 มิลลิลิตรนอร์มัลต่อกรัมของแข็งระเหยที่ป้อนเข้าสู่ระบบ ตามลำดับ โดยสัดส่วนของก๊าซมีเทนสูงสุดที่เกิดขึ้นมีค่าร้อยละ 30.50 ซึ่งมีค่าศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ และก๊าซมีเทนมากกว่า การทดลองของน้ำเสียที่ใช้ตะกอนจุลินทรีย์จากฟาร์มสุกรที่มีค่าศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ และก๊าซมีเทน 228 และ 55 มิลลิลิตรนอร์มัลต่อกรัมของแข็งระเหยที่ป้อนเข้าสู่ระบบ ซึ่งมีสัดส่วนของก๊าซมีเทนสูงสุดที่เกิดขึ้นร้อยละ 24.05 แต่ยังมีศักยภาพต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาวิจัยอื่นๆ จึงทำให้ปริมาณและศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ และก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นมีปริมาณต่ำ สาเหตุหนึ่งมาจากการควบคุมดูแลระบบของทางโรงงาน ที่มีปริมาณน้ำเสียเข้าบ่อเอบีอาร์เกินกำหนด จึงต้องระบายน้ำเสียออกจากบ่อเอบีอาร์ทุกๆ 1-2 วัน ทำให้ตะกอนจุลินทรีย์ในบ่อเอบีอาร์ถูกระบายออก มากกว่าการเกิดใหม่ของตะกอนจุลินทรีย์ รวมถึงในน้ำเสียของโรงงานอาจะมีการปะปนของน้ำยาฆ่าเชื้อ ที่มีแอลกอฮอล์ผสมซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของตะกอนจุลินทรีย์ ส่งผลให้ตะกอนจุลินทรีย์ในบ่อเอบีอาร์ไม่เพียงพอต่อการกำจัดสารอินทรีย์ ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางอื่นๆ เพื่อที่จะสามารถนำน้ำเสียจากโรงชำแหละไก่ มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพที่มีศักยภาพสูงขึ้น เช่น การควบคุมปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่บ่อเอบีอาร์ไม่ให้มีปริมาณมากเกินกว่าที่กำหนด รวมถึงการแยกรางระบายน้ำเสียสำหรับน้ำเสียที่มาจากกระบวนการล้างพื้นที่ผลิตเพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีที่จะไปทำลายตะกอนจุลินทรีย์เข้าไปในบ่อเอบีอาร์ และยังสามาถช่วยลดปริมาณน้ำที่เข้าสู่บ่อเอบีอาร์อีกด้วยen_US
Appears in Collections:ENG: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630632108 พิชญ์สินี วงษ์ศรี.pdf571.26 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.