Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73829
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิวัติ อนงค์รักษ์-
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.authorธวัชชัย ตาอินทร์en_US
dc.date.accessioned2022-08-13T01:42:38Z-
dc.date.available2022-08-13T01:42:38Z-
dc.date.issued2022-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73829-
dc.description.abstractA study on land potential evaluation in Chiang Mai University Education Centre “Hariphunchai”, Mueang district, Lamphun province was done, Eight pedon. The aim of this study was to investigate soil morphology in the field. Then, the soil samples were analyzed for physical, chemical and mineralogical properties in laboratory according to standard methods. Moreover, the plant species diversity was also assessed. The results showed that soils in Chiang Mai University Education Centre “Hariphunchai”, Mueang district, Lamphun province of pedon 1, 2, 5, 6, 7 and 8 were the soil in dry dipterocarp forest, while pedon 3 and 4 is the soil in mixed deciduous forest, where the elevation was 357-517 meters above mean sea level. These areas were undulating to very steep slope area. Most of the pedon were residuum from shale and sandstone, except pedon 5, 6 and 7 were residuum from sandstone. Soil morphology in the field showed that the soil profile of pedon 1 and 2 were A-BA-Bt-BC-Cr-C-R which classification of soil order was Ultisols, subgroup was pedon 1: Typic Paleustults, pedon 2: Typic Haplustults. The soil profile of pedon 3 and 4 were A-BA-Bt-BC-C-R which classification of soil order was Alfisols, subgroup of pedon 3 was Ultic Paleustalfs, pedon 4: Ultic Haplusalfs. The soil profile of pedon 5 and 6 were A-Bw-C-R which soil order were classified as Inceptisols, and subgroup were pedon 5: Typic Dystrustepts, pedon 6: Typic Haplustepts. The soil profile of pedon 7 and 8 were A-CA-Cr-C-R which classification of soil order was Entisols, subgroup was pedon 7: Lithic Ustorthents and pedon 8: Typic Ustorthents. The topsoil was black to dark reddish brown, while subsoil was yellowish brown to dark reddish brown. Soil structure of all pedon in topsoil and sub soil were subangular and angular blocky. Physical properties showed that the soil texture in topsoil and subsoil were sandy loam to clay. Most gravel content tends to increase with depth, except pedon 1 tends to decrease with depth. In all pedon, bulk density in topsoil was lower than subsoil. Particle density and total porosity of all pedon were varied across of soil profile. Field capacity, permanent wilting point and available water capacity in Ultisols and Alfisols increased with depth, but the values decreased from topsoil to subsoil of Inceptisols. Chemical properties showed that, the reaction of soil: water ratio (1:1), in topsoil was strongly acid to neutral; subsoil was very strongly acid to moderately acid. Soil reaction to: potassium chloride ratio (1:1) in topsoil was extremely acid to slightly acid, while subsoil was ultra acid to slightly acid. Organic matter content, total nitrogen, available phosphorus and extractable calcium of topsoil were higher than subsoil. Available potassium and extractable potassium in of most topsoil were higher than subsoil, except pedon 1 which the properties in topsoil were lower than subsoil. The value of extractable magnesium and extractable sodium were fluctuated across of soil profile. sum extractable bases of most topsoil were higher than subsoil, except pedon 6 which topsoil was lower than subsoil. Most extractable acidity of topsoil was similar to subsoil, except Ultisols order showed higher value than the other orders. Cation exchange capacity of topsoil and subsoil ranged from low to high worth. Most bases saturation of topsoil was higher than subsoil, except pedon 6 which the topsoil was lower than subsoil. For soil fertility evaluation, Alfisols order showed more fertility than the other, except topsoil of pedon 7. For mineralogical properties, the result found that. The mineralogical class of most of all pedon was classified as Mixed which consisted of kaolinite, illite, and montmorillonite. Pedon 4 was classified as Kaolinitic because one of kaolinite was found. The potential of soil unsuited for paddy rice cultivation. Moreover, the soil was poorly suited to unsuited for pasture, corn, longan, rubber and oil palm due to the limitation of topography and stoniness. For plant species diversity, the study showed that plot 1, 2, 5, 6, 7 and 8 were dry dipterocarp forest, while plot 3 and 4 were mixed deciduous forest.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินศักยภาพของที่ดินในพื้นที่ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativePotential land evaluation in Chiang Mai University Education Centre “Hariphunchai”, Mueang District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashธรณีสัณฐานวิทยา-
thailis.controlvocab.thashที่ดิน -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญไชย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาการประเมินศักยภาพของที่ดินได้ทำในพื้นที่ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ดินจำนวน 8 พีดอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของดินในภาคสนาม และนำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางแร่วิทยาของดิน ในห้องปฏิบัติการตามวิธีมาตรฐาน รวมถึงการศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ผลการศึกษาพบว่า ดินในพื้นที่ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พีดอน 1, 2, 5, 6, 7 และ 8 เป็นดินในป่าเต็งรัง ส่วนพีดอน 3 และ 4 เป็นดินในป่า เบญจพรรณ มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 357-517 เมตร มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงพื้นที่สูงชันมาก พีดอนส่วนใหญ่มีวัตถุต้นกำเนิดเป็นวัสดุตกค้างจากหินดินดานและหินทราย ยกเว้น พีดอน 5, 6 และ 7 มีวัตถุต้นกำเนิดเป็นวัสดุตกค้างจากหินทราย สัณฐานวิทยาของดินในภาคสนามพบว่า พีดอน 1 และ 2 มีพัฒนาการหน้าตัดดินแบบ A-BA-Bt-BC-Cr-C-R จำแนกดินเป็นอันดับอัลทิซอลส์ กลุ่มย่อย พีดอน 1 Typic Paleustults พีดอน 2 Typic Haplustults พีดอน 3 และ 4 มีพัฒนาการหน้าตัดดินแบบ A-BA-Bt-BC-C-R จำแนกดินเป็นอันดับ แอลฟิซอลส์ กลุ่มย่อย พีดอน 3 Ultic Paleustalfs พีดอน 4 Ultic Haplustalfs พีดอน 5 และ 6 มีพัฒนาการหน้าตัดดินแบบ A-Bw-C-R จำแนกดินเป็นอันดับอินเซปทิซอลส์ กลุ่มย่อย พีดอน 5 Typic Dystrustepts พีดอน 6 Typic Haplustepts พีดอน 7 และ 8 มีพัฒนาการหน้าตัดดินแบบ A-CA-Cr-C-Rจำแนกดินเป็นอันดับเอนทิซอลส์ กลุ่มย่อย พีดอน 7 Lithic Ustorthents พีดอน 8 Typic Ustorthents ชั้นดินบนมีสีดำถึงสีน้ำตาลปนแดงมืด ชั้นดินล่างมีสีน้ำตาลปนเหลืองถึงสีน้ำตาลปนแดงมืด โครงสร้างดิน ชั้นดินบนและชั้นดินล่างเป็นแบบก้อนเหลี่ยมมุมมนและก้อนเหลี่ยมมุมคม สมบัติทางกายภาพพบว่า เนื้อดินบนและเนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินเหนียว ปริมาณกรวด ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความลึก ยกเว้นพีดอน 1 มีปริมาณลดลงตามความลึก ความหนาแน่นรวม ของชั้นดินบนทุกพีดอนมีค่าต่ำกว่าชั้นดินล่าง ค่าความหนาแน่นอนุภาคและความพรุนทั้งหมด ของทุกพีดอนมีค่าผันแปรตลอดหน้าตัดดิน ความจุความชื้นสนาม จุดเหี่ยวถาวร และความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ ในดินอันดับอัลทิซอลส์และแอลฟิซอลส์ เพิ่มขึ้นตามความลึก ส่วนดินอันดับอินเซปทิซอลส์ลดลงจากชั้นดินบน สมบัติทางเคมีพบว่า ปฏิกิริยาดินต่อน้ำ 1:1 ชั้นดินบนเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง ชั้นดินล่างเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง ปฏิกิริยาดินต่อสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ 1:1 ชั้นดินบนเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดเล็กน้อย ชั้นดินล่างเป็นกรดรุนแรงมากที่สุดถึงกรดจัด ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณไนโตรเจนรวม ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณแคลเซียมที่สกัดได้ ชั้นดินบนมีปริมาณมากกว่าชั้นดินล่าง ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์และปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ ส่วนใหญ่ชั้นดินบนมีปริมาณมากกว่าชั้นดินล่าง ยกเว้นพีดอน 1 ชั้นดินบนมีปริมาณน้อยกว่าชั้นดินล่าง ปริมาณแมกนีเซียมที่สกัดได้และปริมาณโซเดียมที่สกัดได้ มีความผันแปรตลอดหน้าตัดดิน ปริมาณด่างรวมที่สกัดได้ ส่วนใหญ่ชั้นดินบนมีปริมาณมากกว่าชั้นดินล่าง ยกเว้นพีดอน 6 ชั้นดินบนมีปริมาณน้อยกว่าชั้นดินล่าง ปริมาณกรดที่สกัดได้ ส่วนใหญ่มีปริมาณใกล้เคียงกันทั้งชั้นดินบนและชั้นดินล่าง ยกเว้นอันดับอัลทิซอลส์มีปริมาณสูงกว่าทุกอันดับ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ชั้นดินบนและชั้นดินล่างอยู่ในระดับต่ำถึงสูง ความอิ่มตัวเบส ส่วนใหญ่ชั้นดินบนมีปริมาณมากกว่าชั้นดินล่างยกเว้นพีดอน 6 ชั้นดินบนมีปริมาณน้อยกว่าชั้นดินล่าง ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินอันดับ แอลฟิซอลส์มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินมากกว่าทุกอันดับ ยกเว้นชั้นดินบนของพีดอน 7 ศักยภาพของดินไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว และไม่ค่อยเหมาะสมถึงไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกหญ้า ข้าวโพด ลำไย ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องสภาพพื้นที่และสภาพก้อนหินปน แร่วิทยาของดินพบว่า พีดอนส่วนใหญ่จำแนกชั้นแร่วิทยาเป็น Mixed เนื่องจากพบแร่เคโอลิไนต์ อิลไลต์ และมอนต์มอริลโลไนต์ ส่วนพีดอน 4 จำแนกเป็น Kaolinitic เนื่องจากพบแร่เคโอลิไนต์เพียงแร่เดียว การศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้พบว่า แปลงที่ 1, 2, 5, 6, 7 และ 8 เป็นชนิดป่าเต็งรัง ส่วนแปลงที่ 3 และ 4 เป็นชนิดป่าเบญจพรรณen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ธวัชชัย ตาอินทร์_620831029.pdf40.1 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.