Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73755
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิยตา กาวีวงศ์-
dc.contributor.authorทิพย์ ศิริวรรธนาภาen_US
dc.date.accessioned2022-08-03T17:02:00Z-
dc.date.available2022-08-03T17:02:00Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73755-
dc.description.abstractThis independent study is conducted to explore the attitudes of Generation Y (Gen Y) consumers in Mueang Chiang Mai District towards savings for an aging society in three dimensions which are cognitive, affective, and behavioral components. The sample group of this study was 400 Gen Y consumers with a margin of error of 0.05. An online questionnaire was employed to collect data from the 400 consumers, together with two questions used to sift out the right sample group. The data acquired was analyzed by descriptive statistics including the frequency, percentage, mean, and standard deviation, and by inferential statistics consisting of the analysis of variance (ANOVA) and Least Significant Difference (LSD) for pairwise comparisons. The study showed that the majority of respondents were single females aged 26-28 years old. They possessed a bachelor's degree and were employees in private companies. Their salary ranged from 10,000 to 20,000 baht and their monthly expense was between 10,000 and 20,000 baht. They spent their money each month on food and beverage the most. Concerning the cogntve component of attb tudes, the study revealed that the respondents had a moderate level of knowledge and understanding about savings for an aging society with an average score of 5.99 out of 10. The question that the respondents could answer correctly the most was "Savings means the activity of keeping money so that you can use it in the future and for emergencies." On the other hand, the question that the respondents gave the wrong answer the most was "Savings and investment provide stable and long-lasting returns." In terms of the affective component of attitudes, the study showed that the respondents agreed to savings for an aging society with an average score of 3.90 out of 5. The question that the respondents agreed the most was "'The purpose of savings for an aging society was to secure their future of retirement.";, whereas the question that the respondents agreed the least was "Current welfare programs, for example, medical expenses and a monthly subsidy, were adequate for the elderly. Regarding the bebavioral component of attitudes, the study showed that 85.8 percent of the questionnaire respondents had their savings, but there was only 56.0 percent of them having their savings for an aging society. With respect to the comparisons of the difference between the demographic factors and the three dimensions of the attitudes towards aging society revealed that in terms of the cognitive component, the Gen Y consumers in Mueang Chiang Mai District who had different education levels and salary ranges understood and had knowledge of savings for an aging society differently. The respondents who had a higher degree than a master's one had the most knowledge and understanding about savings for an aging society. As for the affective component, the respondents of different ages, salaries, and education levels had different opinions about savings for an aging society. The sample group who earned 50,000 baht or more agreed to this savings the most. With reference to the behavioral component, the Gen Y consumers in Mueang Chiang Mai District who were at different ages and of different salaries and education levels had diflerent savings behavior. The group whose salary ranged from 40,000 to 50,000 baht saved money the most for an aging society.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleทัศนคติของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ต่อการออมเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeAttitude of generation Y consumers in Mueang Chiang Mai District towards savings for aging societyen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashการออมกับการลงทุน-
thailis.controlvocab.thashผู้บริโภค -- ทัศนคติ-
thailis.controlvocab.thashผู้บริโภค -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเจนเนอเรชันวาย-
thailis.controlvocab.thashการสูงวัยของประชากร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการออมเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุ ใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ 2) ด้านความรู้สึกความคิดเห็น และ 3) ต้านพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย (Generation Y) ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยคำนวณที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบออนไลน์เป็นเครื่องมือ พร้อมด้วยคำถามคัดกรองจำนวน 2 ข้อ เพื่อให้ใด้กลุ่มตัวอย่างตรงตามวัตถุประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากร 2 กลุ่ม (Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ค่าสถิติค่ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นราชคู่ด้วยวิธี Least Significant Difierence (LSD) ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคเจนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-28 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้อยู่ระหว่าง 10,000 - 20,000 บาทต่อเดือน รายจ่ายอยู่ระหว่าง 10,000 -20,000 บาทต่อเดือน และ ในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายประเภทค่าอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุด ผลการศึกมาด้านองค์ประกอบของทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจพบว่า ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออมเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุในระดับปานกลาง โดยได้คะแนนเฉลี่ย 5.99 จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งพบว่าคำถามที่มีผู้ตอบถูกมากที่สุดคือ การออมเงินหมายถึงการเก็บเงินไว้เพื่อสำรองใช้ในอนาคตและในยามฉุกเฉินตามความเหมาะสม และคำถามที่มีผู้ตอบผิดมากที่สุดคือ การออมเงินและการลงทุนก่อให้เกิดผลตอบแทนที่มั่นคงและยาวนาน ผลการศึกษาค้านความรู้สึกและความคิดเห็นพบว่า ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการออมเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุในระดับเห็นด้วย โดยได้คะแนนเฉลี่ย 3.90 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งคำถามที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุดคือ การออมเงินเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำไว้เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในอนาคตให้กับตนเองในวัยเกษียณ และคำถามที่มีผู้เห็นด้วยน้อยที่สุดคือ คุณคิดว่าสวัสดิการต่างๆ ในปัจุบันเพื่อผู้สูงอายุจากรัฐบาล เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินอุดหนุนรายเดือน นั้นมากเพียงพอแล้ว ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมพบว่า ร้อยละ 85.8 ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่มีการออมเงิน แต่มีเพียงร้อยละ 56.0 เท่านั้นจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่มีการออมเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุ ผลการศึกษาค้านการเปรียบระหว่างความแตกต่างของปัจจัยประชากรศาสตรค์กับทัศนคติต่อการออมเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุทั้ง 3 องค์ประกอบ พบว่า 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่มีการศึกษาและรายได้ที่แตกต่างกัน จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออมเงินเพื่อสังคมผู้อายุที่แดกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาโทเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจมากที่สุด 2) ด้านความรู้สึกและความคิดเห็น ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่มีอายุ การศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการออมเงินเพื่อสังคมผู้อายุที่แตกต่างกัน โคยกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป มีความเห็นด้วยมากที่สุด และ 3) ด้านพฤติกรรม ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่มีอายุ การศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการออมเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุที่แดกต่างกัน โคยกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ 40,000 -50,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีการออมเงินเพื่อสังคมผู้สูงอายุมากที่สุดen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611532061 ทิพย์ ศิริวรรธนาภา.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.