Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73668
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดารัตน์ ชัยอาจ-
dc.contributor.advisorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดช-
dc.contributor.authorเชษฐาฤทธิ์ บริบูรณ์en_US
dc.date.accessioned2022-07-19T10:35:32Z-
dc.date.available2022-07-19T10:35:32Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73668-
dc.description.abstractObstructive sleep apnea (OSA) is an abnormality of the airway in which it collapses or narrows during sleep. Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) is the gold standard treatment for OSA. However, OSA patients benefits from CPAP depend on how closely they adhere to CPAP treatment. This cross-sectional research aimed to explore CPAP adherence and factors related to CPAP adherence in persons with OSA. This study was conducted at the Sleep Disorder Center, Center of Medical Excellence, Faculty of Medicine Chiang Mai University. The framework of this study is based on the Health Belief Model (HBM). The participants in this study were 94 OSA-acceptant CPAP treatment patients. The self-report questionnaire was comprised of 1) The Demographic Recording Form 2) The Functional Outcomes of Sleep Questionnaire [FOSQ-10 Thai version] 3) The Self-Efficacy Measure for Sleep Apnea [SEMSA] 4) The Perceived Barriers in CPAP use Questionnaire and 5) The CPAP Adherence Recording Form. Data were analyzed by using descriptive statistics and binary logistical regression. The results of this study revealed that: 1. The number of patients who adhere to CPAP treatment was 51 persons (54.3%). 2. Perceived seriousness was significantly associated with CPAP adherence (p < .001) (OR =5.684; 95% CI = 2.025-15.957). Perceived susceptibility, perceived benefit, perceived self-efficacy and perceived barriers were not associated with CPAP adherence. The findings of this study demonstrated that perceived seriousness is an important factor in CPAP adherence. Healthcare providers can use this information to develop educational and awareness programs to promote perceived seriousness for enhancing CPAP adherence among OSA patients.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องในผู้ที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นen_US
dc.title.alternativeFactors related to continuous positive airway pressure adherence in persons with obstructive sleep apneaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ-
thailis.controlvocab.thashการนอนหลับผิดปกติ-
thailis.controlvocab.thashทางเดินหายใจ -- โรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของทางเดินหายใจส่วนต้นซึ่งเกิดการยุบตัวลงหรือตีบแคบในขณะนอนหลับ การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องเป็นมาตรฐานการรักษาที่สำคัญและมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการรักษาอย่างสูงสุดนั้นต้องอาศัยความร่วมมือในการรักษาเป็นสำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องในผู้ที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการศึกษา เก็บข้อมูล ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ศูนย์วิเคราะห์สุขภาพการนอนหลับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่ยอมรับการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องจำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามผลกระทบการทำหน้าที่จากการนอนหลับฉบับภาษาไทย 3) แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในผู้ที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น 4) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง และ 5) แบบบันทึกความร่วมมือในการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติถดถอยโลจิสติกทวิ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างจำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 54.30 มีความร่วมมือในการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องตามเกณฑ์ 2. การรับรู้ความรุนแรงมีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .001 (OR = 5.684; 95% CI = 2.025-15.957) ส่วนการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้อุปสรรค ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความร่วมมือในการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับรู้ความรุนแรงมีความสำคัญต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง โดยบุคลากรสุขภาพสามารถนาผลการวิจัยนี้ไปใช้เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยเห็นถึงความรุนแรงของโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231081 เชษฐาฤทธิ์ บริบูรณ์.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.