Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73646
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์-
dc.contributor.advisorบังอร ศุภวิทิตพัฒนา-
dc.contributor.authorนันทิดา นามราชาen_US
dc.date.accessioned2022-07-17T07:43:05Z-
dc.date.available2022-07-17T07:43:05Z-
dc.date.issued2021-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73646-
dc.description.abstractThe functional status of first-time advanced age mothers is important to the physical and psychosocial health outcomes of both mothers and newborns. This descriptive correlational research aimed to explore the functional status of first-time advanced age mothers and the relationship between anxiety, social support, and functional status of first-time advanced age mothers. The participants were 85 first-time mothers aged 35 years old and above who were 6-8 weeks postpartum and received, checkup services at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Health-Promoting Hospital, Regional Health Promotion Center 1 Chiang Mai, Lamphun Hospital, and Lampang Hospital between May and December 2020. The research instruments were 1) the Demographic Data Record Form, 2) the Maternal Functional Status Inventory developed by Baosoung, Sansiriphun, and Tiansawad (2014), 3) the State Anxiety Inventory Form Y by Spielberger et al. (1983), Thai version by Nontasak, Aemsupasit, and Thapinta (1992), and 4) the Mother Social Support Questionnaire by Sitthiboonma, Kantaruksa, and Supavititpatana (2020). Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's product-moment correlation. The results revealed that: 1 . The vast majority of first-time advanced age mothers, 96.5 %o, had a high level of functional status, with a mean score of 3.45 (S.D. = 0.25). 2. Anxiety was moderate negatively correlated with the functional status of first-time advanced age mothers (r = -.397, p <.01). 3. Social support was moderate positively correlated with the functional status of first-time advanced age mothers (r = .485, p <.01). These findings suggest that first-time advanced age mothers should be assessed for functional status, anxiety, and social support. Nurse-midwives should develop strategies to reduce anxiety and enhance social support to increase the functional status of first-time advanced age mothers.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและสภาวะการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรกen_US
dc.title.alternativeAnxiety, social support, and functional status of first-time advanced age mothersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมารดาและเด็ก-
thailis.controlvocab.thashมารดาและทารก-
thailis.controlvocab.thashความวิตกกังวลในสตรี-
thailis.controlvocab.thashการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractสภาวะการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรกมีความสำคัญต่อผลลัพธ์สุขภาพทางด้านร่างกายและจิตสังคมของทั้งมารดาและทารก การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภวะการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรกและหาความสัมพันธ์ของความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและสภาวะการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาอายุเท่ากับหรือมากกว่า 35 ปีที่มีบุตรคนแรกหลังคลอด 6-8 สัปดาห์ที่มารับบริการตรวจ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โรงพยาบาลลำพูนและโรงพยาบาลลำปาง ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินสภาวะการปฏิบัติหน้าที่ของมารดา พัฒนาโดย ฉวี เบาทรวง, นันทพร แสนศิริพันธ์, และ สุจิตรา เทียนสวัสดิ์ (2557) 3) แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ โดย สปีลเบอร์เกอร์ และคณะ ( 1983) ฉบับภาษาไทยโดย ธาตรี นนทศักดิ์, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, และ ดาราวรรณ ต๊ะปินตา (2535) และ4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอดโดย นลินี สิทธิบุญมา, กรรณิการ์กันธะรักษา, และ บังอร ศุภวิทิตพัฒนา (2563) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. มารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรกส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.5 มีสภาวะการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 (S.D. = 0.25) 2. ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับสภาวะการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -397, p < .01) 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับสภาวะการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 485, p <.01) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า มารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรก ควร ได้รับการประเมินสภาวะการปฏิบัติหน้าที่ ความวิตกกังวล และการสนับสนุนทางสังคม พยาบาลผคุงครรภ์ควรพัฒนากลยุทธ์ที่ลดความวิตกกังวล และส่งเสริมการสนับสนุนทงสังคม เพื่อส่งสริมสภาวะการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอายุมากที่มีบุตรคนแรกen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231035 นันทิดา นามราชา.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.